Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25016
Title: การศึกษาการบริหารงานร้านค้าในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน
Other Titles: A study on management of stores under the support of internal trade department
Authors: พิมลพรรณ มานิตยกุล
Advisors: เกษตร กล่อมมิตร
สุทธิมา ชำนาญเวช
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพการค้าในประเทศ ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยคนต่างชาติ เพื่อที่จะช่วยเหลือคนไทยให้สามารถประกอบการค้าขาย รัฐบาลได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือให้การประกอบอาชีพของคนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรับสมัครร้านค้าปลีกเข้ามาเป็นร้านค้าในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน และให้เป็นเครื่องมือช่วยรักษาระดับราคาสินค้าในประเทศด้วย วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการบริหารงานของร้านค้าในความส่งเสริมของกรมการค้าภายในโดยจะศึกษาวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งร้านค้าในความในความส่งเสริมฯ วิธีการบริหารงานร้านค้าในความส่งเสริม ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการบริหารงานร้านค้าในความส่งเสริม การศึกษาใช้วิธีการค้นคว้า สัมภาษณ์ และออกแบบสอบถามร่วมกับกรมการค้าภายในไปยังเจ้าของร้านค้าในความส่งเสริม ปัญหาที่พบจากการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการร้านค้าในความส่งเสริมยังขาดความรู้ในการบริหารงานร้านค้า เจ้าของกิจการบางราย ไม่มีความตั้งใจและความกระตือรือร้นในการค้า ถึงแม้ร้านค้าในความส่งเสริมจะสามารถแข่งขันกับร้านค้าปลีกทั่วไปได้เป็นส่วนใหญ่ แต่สภาพร้านค้าก็ยังไม่ดีพอ ยังขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน มีกำไรน้อยและต้องการสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย และในขณะเดียวกันทางกรมการค้าภายในมีเจ้าหน้าที่ที่จะสนับสนุนร้านค้าไม่เพียงพอ เนื่องจากร้านค้ามีจำนวนมาก เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมการค้าภายในควรที่จะมีการอบรมผู้ประกอบกิจการร้านค้าในความส่งเสริมให้มีความรู้ในการบริหารร้านค้า มีการโฆษณาร้านค้าในความส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปและเป็นสื่อประสานงานจัดหาสินค้าให้ร้านค้าในความส่งเสริม นอกจากนี้กรมการค้าภายในจะต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่มีสมรรถภาพเพื่อสนับสนุนร้านค้าในความส่งเสริมให้มากขึ้น
Other Abstract: Presently, most retailing businesses in Thailand are operated by foreigners. In order to help the local people capable of operating business efficiently, the government has convinced retailers to apply for commerce. This movement can also maintain the price stability of the products. This thesis tries to study the management of the retailers whose operations are under the promotional program. The study includes their objectives, managerial models, problems, and solutions. Read, interview and questionnaire to the business owners are used in this research. Many problems are found from the study. Most management lack skills and experiences. The owners have no real intention and enthusiasm for their operations. Although these retailers can compete well with the other general retailers, they are still not be able to make sufficient profit. They lack working capital and at the same time want to sell cheap merchandises for low-income buyers. The Department itself doesn’t have enough personals to serve the services required by the retailers. To solve these problems, the Department should arrange seminars or trainings in order to improve their managerial skill, public advertisement on their retailing businesses to the people especially the low-income group, coordination among the retailers for their pruchasing functions and the addition of capable officers for supporting their operations.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25016
ISSN: 9745624705
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimalparn_ma_front.pdf584.46 kBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_ch1.pdf491.43 kBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_ch2.pdf451.29 kBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_ch3.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_ch4.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_ch5.pdf962.49 kBAdobe PDFView/Open
pimalparn_ma_back.pdf769.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.