Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25017
Title: ปัญหาบางประการเกี่ยวกับระบบบัญชีของการรถไฟแห่งประเทศไทย
Other Titles: Certain problems of the accounting system of State Railway of Thailand
Authors: บุญอนันต์ ไชยชลอ
Advisors: หิรัญ รดีศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย มักจะประสบกับปัญหาด้านการผลิต การวิภาคกรรม และการบริโภค การแก้ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยระบบการขนส่งที่เหมาะสม รวมทั้งการขนส่งทางรถไฟ ในฐานะที่เป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ จึงได้วางโครงการปรับปรุงและขยายงานของการรถไฟฯ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ของประเทศ โดยมุ่งหมายให้สามารถบริการประชาชนได้เพียงพอและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้สินค้าจากแหล่งผลิตสามารถขนส่งให้ถึงแหล่งจำหน่าย หรือถึงปลายทางเพื่อส่งออกได้โดยสะดวกและด้วยค่าขนส่งในอัตราที่สมควร เพื่อลดต้นทุนในการจำหน่ายให้ต่ำลง เป็นการยกระดับฐานะการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น ในการนี้จำเป็นต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมที่ดี เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในการวางแผนและการควบคุมนี้จะต้องอาศัยข้อมูลส่วนใหญ่จากระบบบัญชี และเพื่อที่จะให้ข้อมูลที่ได้จากระบบบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ สิ่งที่การรถไฟจะต้องระลึกถึงในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็คือ เอกสาร สมุดบัญชี และรายงานต่างๆ จะต้องมีลักษณะที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและให้ข้อมูลเพียงพอ ต่อรัฐบาลและต่อประชาชน รวมทั้งต่อฝ่ายบริหารของการรถไฟฯเอง และเพื่อที่จะเป็นแนวทางให้รัฐทราบว่า โครงการพัฒนาการรถไฟฯที่รัฐกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ ๓ นั้นจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่นๆด้วย จึงควรจะศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากระบบบัญชีของการรถไฟฯ และผลของปัญหาที่จะกระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือและประโยชน์ของข้อมูลและรายงานต่างๆ การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของระบบบัญชีของการรถไฟฯนี้ ส่วนใหญ่กระทำโดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากบันทึก เอกสารหลักฐาน และรายงานต่างๆ และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตามหน่วยงานต่างๆของการรถไฟฯ ผลการศึกษาปรากฎว่า –หลักการคิดค่าเสื่อมราคาเป็นผลให้ข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง –การที่กิจการยังไม่นำระบบต้นทุนมาใช้ ทำให้ฝ่ายบริหารขาดเครื่องมือที่ดีในอันที่จะวางแผนและควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจะกำหนดอัตราค่าขนส่งให้เหมาะสมโดยยังมีผลตอบแทนเพียงพอนั้นย่อมต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบบัญชีต้นทุน –การจัดทำรายงานเพื่อการควบคุมในปัจจุบันยังประสบปัญหาล่าช้า ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการจัดแบ่งส่วนงานหรือปรับปรุงระบบการทำงานเสียใหม่ –งวดงบประมาณทางการเงินยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานของกิจการ –รายงานสำหรับบุคคลภายนอกกิจการยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร การแก้ปัญหา –ขออนุมัติกระทรวงการคลังเปลี่ยนวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาจากการคิดอัตราถัวเฉลี่ยทั้งกลุ่มเป็นการคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินแต่ละประเภท –การรถไฟฯกำลังอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะนำระบบบัญชีต้นทุนมาใช้ แต่อาจจะต้องใช้เวลานานในการศึกษาเพื่อวางรูปบัญชีให้เหมาะสม เพราะกิจการให้บริการหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีรายละเอียดต้นทุนไม่เหมือนกัน –การรถไฟฯได้แก้ไขปัญหานี้โดยการทำรายงานสถิติผลการดำเนินงานในด้านการเดินรถโดยประมาณ ประจำเดือนขึ้น แสดงให้เห็นผลการดำเนินงานโดยสรุป –การจัดทำงบประมาณเงินสดประจำปีต้องแสดงให้เห็นงบประมาณของแต่ละเดือนด้วย และเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากการเก็บเงินสดส่วนเกินไว้เฉยๆ รัฐควรจะอนุญาตให้กิจการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนหาผลประโยชน์ระยะสั้นที่ไม่เสี่ยงภัยหรือมีความเสี่ยงภัยน้อย –ควรใช้ศัพท์ที่ชัดเจนสำหรับการแสดงรายการในงบดุล และควรเปิดเผยรายการที่ควรจะเปิดเผย เช่นวิธีการตีราคาวัสดุคงคลัง วิธีคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน การคำนวณมูลค่าหนี้สินขึ้นใหม่ ณ วันสิ้นงวดการบัญชี –ควรจัดทำงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน (Statement of Changes in Financial Position) แบบที่แสดงเฉพาะรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น เป็นงบประกอบเพื่อแสดงให้เห็นที่มาและการใช้ไปของเงินทุนรายการที่สำคัญๆ.
Other Abstract: Thailand, in common with other developing countries, is facing some problems in production, distribution and consumption. One of the keys in solving these problems is good transportation system, especially rail-way transportation. Having considered its importance as infrastructure to the economic development plan, the government, therefore, plans to improve and enlarge State Railway of Thailand as part of the development plan. The purpose is to give adequate and quick services to the people including the conveyance of commodities from producers to distributors or to consumers at reasonable freight. Thus, this tactic would reduce cost of goods sold and raise people’s standard of living. The government needs a massive amount of money to fulfill this plan. Hence, it is necessary to set up good administrative system and internal control to achieve the set goal. The above-mentioned aims can be achieved only from information obtained from good accounting system. So, it is important to study problems concerning accounting system of the organization, and their effect on the. Most of the study is done through collection of facts from the records, bulletins and reports of the RSR as well as from interviewing officials of several divisions of the organization. The result of the study shows that: -The depreciation method results in presenting data which are in discord with facts. –Disregard of cost accounting system results in the top management lacking suitable tool for planning and control, especially in setting reasonable charges which could give a fair rate of return. –The Slow process of preparation of control reports at present is due to inefficient system of work. –There is no monthly cash budget while the result of the operation is presented monthly. –External reports are not sufficiently informative. Suggestions offered by the author:- Changing the depreciation method from using composite rate to rate per type of assets. –The State Railway is planning to incorporate cost accounting into its accounting system, although it will take time to set up a good system because the organization provides several kinds of services, each having different cost details. – The RSR has solved some problems concerning late the operation. – Annual cash budget should also be divided into monthly budgets in order to show state of cash in hand at the end of the month, so that the RSR may have the opportunity to invest its idle cash in non-risk short-term securities, should the government allow it to do so. –The balance sheet items should be sufficiently informative to outsiders. For instance, the method of inventory pricing, the method of depreciation, the fact that long-term liabilities are revalued at year and exchange rate should be clarified. –Preparation of Statement of Changes in Financial Position in the form that shows only changed items should be made in order to help statement users to understand the important sources and uses of the fund.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25017
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonanan_Ch_front.pdf473.49 kBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch1.pdf338.9 kBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch2.pdf595.76 kBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch3.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch6.pdf563.26 kBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_ch7.pdf440.63 kBAdobe PDFView/Open
Boonanan_Ch_back.pdf441.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.