Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25062
Title: ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำระดับอุดมศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Morale and job satistaction of instructors in higher education : A comparative study of Private Colleges and State University
Authors: เจิมจันทน์ ทองวิวัฒน์
Advisors: ไพโรจน์ สิตปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เขียนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ต้องการที่จะทราบถึงสภาพขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยของรัฐว่ามีลักษณะเป็นประการใด และมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงหรือต่ำ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เน้นหนักไปทางในทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามรวมทั้งสิ้น 48 ข้อ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของอาจารย์ ประจำระดับอุดมศึกษา และส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการวัดขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามโดยใช้วิธี Stratified Random Sampling แก่อาจารย์ประจำระดับอุดมศึกษาในวิทยาลัยเอกชน 4 แห่ง และมหาวิทยาลัยของรัฐ 2 แห่งคือ วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยการค้า วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากมีวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องเลือกศึกษาเฉพาะกรณีเป็นบางแห่งเท่านั้น สำหรับวิทยาลัยเอกชนทั้ง 4 แห่งดังกล่าว ได้สุ่มมาคิดเทียบแล้วเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด ส่วนอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองสถาบันมีอาจารย์ประจำถึง 2,033 คน และ 502 คน ตามลำดับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ใช้วิธีสุ่ม ซึ่งเมื่อคิดเทียบแล้วเป็นร้อยละ 12.5 และร้อยละ 21.9 ตามลำดับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmatic Mean) ค่ามัธยฐาน (Mediam) รวมทั้งการใช้เส้นกราฟประกอบด้วย ซึ่งผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. อาจารย์ประจำวิทยาลัยเอกชนจำนวน 110 คน มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่วนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยแยกเป็นพวกที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงจำนวน 35 คน ที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานปานกลาง 56 คน และที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่ำจำนวน 19 คน 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำวิทยาลัยเอกชน อยู่ในระดับสูงคือ เพื่อนร่วมงาน และปริมาณงานในหน้าที่รับผิดชอบ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานค่อนข้างต่ำ คือ โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และความมั่นคงในการทำงาน 3. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 224 คน มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่วนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยแยกเป็นพวกที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงจำนวน 85 คน พวกที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานปานกลาง 105 คน และพวกที่มีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่ำจำนวน 34 คน 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับสูงคือ ปริมาณงานในหน้าที่รับผิดชอบ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำคือ ผู้บังคับบัญชากับเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ 5. อาจารย์ประจำวิทยาลัยเอกชนมีขวัญและความพึงพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ 3 หมวดดังนี้ 5.1 หมวดลักษณะงาน ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 5.2 หมวดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 5.3 หมวดเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่างๆ ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 6. อาจารย์ประมหาวิทยาลัยของรัฐมีขวัญและความพึงพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ 3 หมวดดังนี้ 6.1 หมวดลักษณะงาน ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 6.2 หมวดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 6.3 หมวดเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ขวัญและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ 7. อาจารย์ประวิทยาลัยเอกชนมีความเห็นว่าอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญคือ โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และความมั่งคงในการทำงาน 8. อาจารย์ประมหาวิทยาลัยของรัฐมีความเห็นว่าอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญคือผู้บังคับบัญชา กับเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่างๆ
Other Abstract: The objectives of this thesis are twofold. Firstly, it aims to study the condition of morale and job satisfaction among the instructors of private colleges and state universities. Secondly, it is aimed at the factor which influence the level of morale and job satisfaction among the said instructors. The emphasis is on the behavioral aspects of moral and job satisfaction. Questionnaire is used as the method for collecting data. It contains 48 questions and is divided into 2 categories: (1) personal information and. (2) morale and job satisfaction including opinions concerning the performance. Since the population of the four private colleges (Bangkok College, College of Commerce, College of Business Administration and Assumption Business Administration College) involves 272 instructors , the stratified random sampling method is employed in the process of sampling selection. Fifty percent of the population is randomly selected by this method. With regards to the instructor of state universities, the population that is chosen to study is of Chulalongkorn University and Thammasart University. Since the population of the two universities respectively involves 2033 instructors and 502 instructors, the stratified random sampling method s employed in the process of sampling selection. Only 12.5 percent and 21.9 percent of the total population of the two universities is randomly selected this method. Statistical analysis of the data including the application of airthmatic mean, median and graphic scales. The finding of this study are as follows: 1. Morale and job satisfaction among the 110 instructors of the private colleges is moderate ( 35 case are rated high , 56 case are rated moderate ans19 case are rated low ) 2. The important factor which influences high level of the morale and job satisfaction are coworkers and quantity of work. Conversely, factors cause the low level of morale job satisfaction among them are opportunity for advancement and security. 3. Morals and job satisfaction among the 224 instructors of the state universities is relatively high . (85 cases are rated high, 105 cases are rated moderate and 34 sample are rated low) 4. Factors which are resulted in the high level of morale and job satisfaction among the instructors of the state universities is quantity of work. On the other hand, factors which cause the low level of morale and job satisfaction are supervisors, salary, and fringe benefits. 5. Morale and job satisfaction, with respect to the influencing factor, among the instructors of the private colleges is classified into 3 categories: 5.1 The nature of work category. Morale and job satisfaction is relatively high. 5.2 Working environment condition category. Morale and job satisfaction is relatively high. 5.3 Salary and fringe benefits category. Morale and job satisfaction is moderate 6. Morale and job satisfaction, with respect to the influencing factors, among the instructors of the state university is also classified into 3 categories : 6.1 The nature of work category. Morale and job satisfaction is relatively high. 6.2 Working environmental conditions category. Morale and job satisfaction is relatively high 6.3 Salary and fringe category. Morale and job satisfaction is relatively low. 7. Opinions of the instructor in the private colleges concerning problems of work are opportunity for advancement and security. 8. Opinions of the instructors in the state university concerning problems of work are supervisors, salary and fringe benefits.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25062
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chermchan_Th_front.pdf628.85 kBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_intro.pdf955.34 kBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_Ch1.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_Ch2.pdf544.37 kBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_Ch3.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_Ch4.pdf497.54 kBAdobe PDFView/Open
Chermchan_Th_back.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.