Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/251
Title: การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: A study on the operation of academic tasks of secondary schools under the General Education Department in the learnng reform schools for developing quality of learners project, the Office of the National Education Commission
Authors: บุษราคัม จรรย์นาฏย์, 2515-
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การบริหารงานวิชาการ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประชากรได้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ที่มีผลงานการดำเนินงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ต่อ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โดยวิธีการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ โรงเรียนมีการจัดทำเอกสารวิชาการ กำหนดแนวปฏิบัติตามลักษณะของหมวด/งาน/ฝ่าย ในการจัดทำแผนงานวิชาการ โรงเรียนกำหนดกรอบนโยบาย และมอบให้หมวด/ฝ่าย/งาน ประชุมเพื่อเขียนแผนร่วมกัน แล้วนำเสนอฝ่ายบริหารเพื่อพิจารณา โดยมีหัวหน้าแผนงานทำหน้าที่ติดตามและประเมินผล จากการสรุปผลงานในรอบเดือน 2) ด้านการจัดวิชาการ โรงเรียนจัดบุคลากร ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ จัดกลุ่มการเรียนโดยกำหนดวิชาบังคับและวิชาเลือก ตามโครงสร้างหลักสูตร มีการศึกษาสภาพของท้องถิ่นและความต้องการของชุมชน กำหนดวิชาเรียนและเวลาเรียนให้ครบตามหลักสูตร จัดครูเข้าสอนตามตารางสอน โดยพิจารณาวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถและความถนัดของผู้สอน มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการสอน ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเนื้อหาวิชา กำหนดเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และกำหนดกิจกรรมสื่อการสอน การประเมินผลที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนการสอนโดยสังเกตการสอนของครู 4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการ โรงเรียนจัดให้มีกิจการประชุมอบรม สัมมนา ก่อนเปิดภาคเรียน จัดสอนซ่อมเสริมให้แก่นักเรียน โดยจัดให้มีห้องเรียนเฉพาะเพื่อการสอนซ่อมเสริมนอกเวลา จัดกิจกรรมนักเรียนทั้งในและนอกหลักสูตร มีนโยบายสนับสนุนให้ครูเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน สนับสนุนครูทำผลงานทางวิชาการและเข้าร่วมในโครงกาารครูต้นแบบ/ครูเครือข่าย รวมทั้งสร้างบรรยากาศทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน 5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน โรงเรียนส่งเสริมให้ครูสร้างเครื่องมือประเมินผลตามสภาพจริง ครูผู้สอนแต่ละรายวิชาสร้างการวัดให้เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้และตามสภาพจริงครบทุกวิชา โรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ทะเบียน / วัดผล ทำหน้าที่จัดทำหลักฐานเกี่ยวกับประวัตินักเรียน และมีการจัดข้อมูลสารสนเทศของนักเรียน 6)ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ โรงเรียนมีแนวปฏิบัติในการประเมินผล โดยการจัดประชุม สัมมนา สรุปผลงานประจำปี ศึกษาจากผลงานที่ปรากฏและมีการประเมินผลในระดับหน่วยงายย่อยเป็นระยะ ๆ ด้านปัญหาการดำเนินงานวิชาการ พบว่า เวลาในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญมีไม่เพียงพอ ครู-อาจารย์ขาดความตระหนักในการพัฒนาตนเอง นักเรียนไม่ติดตามแก้ไขผลการเรียน ครู-อาจารย์ บางคนขาดความรู้ และทักษะในการประเมินผลตามสภาพจริง ครูมีจำนวนน้อยและมีภาระงานมากจึงทำให้มีผลงานวิชาการไม่ดีเท่าที่ควร
Other Abstract: To study the operation of academic tasks and problems of secondary schools under the General Education Department in the Learning Reform School for Developing Quality of the Learners Project, the Office of the National Education Commission. The population of the study were selected secondary schools which were recommended by experts and researchers of the project. Data were gathered through interviewing and documents analysis, then they were analyzed by using content analysis. Research findings were as follow: 1) With regards to academic plan, academic documents and guidlines were prepared, academic plan and submitted to the administrarors for approval, a monthly evaluation was conducted by the head of the academic plan. 2) In organizing academic works, staff were assigned accordding to their knowledge, abilities and experiences. Group learnings were arranged according to the required and elective subjects. Community's needs and states were assessed. Subject and classes were arranged accordding to the curriculum, teachers were assigned according to their major, abilities and experiences, innovations and technologies were utilized. 3) Regarding the instruction, instructional plans were prepared by the teachers according to the curriculum and related to the authentic life. Instructional activities were planned according to the learner-centered principle. An instructional observation technique was employed as the method of monitoring. 4) In developing and supporting the academic tasks, meetings seminars were organized prior to semester start, a remedial teaching was arranged in a specific rooms after classes. Activities were organized for both the curriculum and the co-curriculum required. Teachers were encourged to attened seminars and workshops also to do classroom reseaches as well as the academic work. They were also encouraged to join the leader teacher project as well as the teacher network project. Academic atmosphere and campus learning resource center were also promoted. 5) In instructional evaluation, teachers were encouraged to construct authentic tests according to the instructional objectives in every subject. Students' data were also well prepared. 6) With regards to academic tasks evaluation, the annual evaluation were conducted through meetings and seminars together with results studies and section evaluation studies. Problems founded were insufficient amount of time for instructional activities, lack of eagerness for self-development and authentic evaluation knowledge and skills among teachers, insufficient amount of teachers, and less of interest among students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/251
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.554
ISBN: 9740315259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.554
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussaracam.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.