Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25124
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุณดวงเดือน พิศาลบุตร
dc.contributor.authorจุไรรัตน์ มณีรัตน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-22T03:13:09Z
dc.date.available2012-11-22T03:13:09Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745642886
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25124
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามประเภทของโรงเรียนที่สอน วุฒิทางการศึกษา ประเภทวิชาที่สอน และประสบการณ์ในการสอน 2. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของครูในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูที่สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 720 คน แบ่งเป็นครูที่สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา 217 คน และเป็นครูที่สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกาศึกษาเอกชน 503 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยคือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาของครูในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรม เพื่อนำคำตอบที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามปลายปิด ชุดที่ 2 แบ่งคำถามเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบคำถามประเมินค่าเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งปัญหาออกเป็น 8 ด้านคือ 1. ปัญหาด้านการเรียนการสอน 2. ปัญหาด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน 3. ปัญหาด้านความประพฤติปฏิบัติของครู 4 .ปัญหาด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนนักเรียน 5. ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 6. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน 7. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในสังคมภายนอกโรงเรียน 8. ปัญหาด้านสื่อมวลชน ในตอนท้ายของการถามปัญหาแต่ละด้านเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ครูได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย 1. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครพบว่า 1.1 ครูที่สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2 ครูที่มีวุฒิทางวิชาครูและครูที่ไม่มีวุฒิทางวิชาครูมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.3 ครูที่สอนประเภทวิชาพาณิชกรรมและครูที่สอนวิชาสามัญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน 2 ด้าน จาก 8 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัญหาด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและปัญหาด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.4 ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 5 ปี กับครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 20 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมแตกต่างกัน 2 ด้าน จาก 8 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัญหาด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนนักเรียนและ ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. ข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร พบว่า 2.1 ครูไม่ควรสอนโดยเน้นแต่ความสามารถทางวิชาการเท่านั้น ควรมีการสอดแทรกจริยธรรมควบคู่กันไปในการสอนวิชาต่าง ๆ ด้วย โดยให้การสอนนั้นมีการใช้อุปกรณ์และวิธีการที่น่าสนใจ 2.2 ควรมีการจัดสภาพชั้นเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน ตลอดจนมีการสร้างบรรยากาศ ที่จัดให้นักเรียน มีความรู้สึกรักและภูมิใจในสถาบัน 2.3 ครูควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านความประพฤติและควรให้มีความรักความเข้าใจแก่เด็กทุกคน และมีบทบาทในการแก้ปัญหาด้านต่างๆของนักเรียนด้วย 2.4 ครูควรสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเรียนและ ให้เพื่อนนักเรียนด้วยกันชักจูงกันไปในทางที่ดีงาม ตลอดจนร่วมทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์แก่สังคม 2.5 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมทั้งในด้านงบประมาณบุคลากรและเวลาซึ่งกิจกรรมที่จัดควรตรงกับความสนใจของนักเรียนด้วย 2.6 ครูและผู้ปกครองควรมีการพบปะเพื่อปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิด เพราะการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมควรเริ่มที่บ้านเป็นพื้นฐานสำคัญ 2.7 ควรมีกฎหมายควบคุมมิให้นักเรียนและเยาวชนเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรหรือสถานเริงรมย์ต่าง ๆ และควรมีการลงโทษเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ให้ความร่วมมือด้วย 2.8 ควรมีการควบคุมและกวดขันในสื่อมวลชนทุกประเภทอย่างจริงจังในการนำเสนอสิ่งที่จะเป็นพิษเป็นภัยต่อเยาวชน และสื่อมวลชนไม่ควรคำนึงแต่ประโยชน์ทางการค้ามากเกินไป
dc.description.abstractalternativePurposes: 1. To compare the opinions of •teachers concerning problems in inculcating and promoting morality in vocational school students in Bangkok Metropolis according to their school type, qualification, subject matter and teaching experience. 2. To study the suggestion of teachers in inculcating and promoting morality in vocational school students in Bangkok Metropolis. Procedure: The sample of this research composed of 720 teachers of which 217 were vocational schools under the Department of Vocational Education and 503 were under the Office of Private Education Commission. Multi-stage sampling method was used to select these samples. The questionnaires that were used were constructed by the researcher. The first questionnaire was an open-ended one concerning teachers' problems in inculating and promoting morality in vocational school students in Bangkok Metropolis. The answers would be used as guidelines for the researcher to construct close ended questionnaire. The second questionnaire composed of items on personal data (checklist), problems in inculcating and promoting morality (rating scales) in 8 aspects: 1. learning environment 2. school environment 3. teachers’ behavior 4. peer group 5. school activities 6. home environment 7. social environment 8. mass media At the end of each aspect, the teachers were asked to give their suggestions in inculcating and promoting morality in vocational school students in Bangkok metropolis. Findings: 1. The comparison of teachers’ opinion concerning problems in inculcating and promoting morality in vocational school students in Bangkok Metropolis were as follows:1.1 There were no significant differences between the opinions of teachers who did not have degree in teaching and those who had at the .05 level. 1.2 There were no significant differenced between the opinions of the teachers under the Department of Vocational Education and teachers under the Office of Private Education Commission at the .05 level. 1.3 There were significant differences between the opinions of the teachers who taught commerce subject and those who taught general subjects in 2 out of 8 aspects at the .05 level, which were opinions on school environment problem and school activities problem. 1.4 There were significant difference the between the opinions of the teachers who had less than 5 years experiences in teaching and those who had more than 20 years experiences in teaching in 2 out of 8 aspects at the .01 level, which were opinions on peer group problem and school activities problem. 2. The suggested guidelines for solving problems in inculcating and promoting morality were as follows: 2.1 The teachers should not stress only academic achievement but also morality promotion. The new method of teaching and innovation should be utilized. 2.2 The number of the students in each class should be appropriate. School's atmosphere should be created for students’ love and pride of their school. 2.3 The teachers should behave as good model. They should love, try to understand and play important in helping students solve their problems. 2.4 The teachers should establish good relationship among students and encourage the students to lead one another to do good things for the welfare of the society. 2.5 The administrators should provide sufficient budget, personnel and time for school activities. And also the activities should become the students' interest. 2.6 Teachers and students, guardian should meet each other more often because inculcating and promoting morality are basically from home 2.7 There should be a law to prevent' youths from going to the forbidden places of entertainment. Any owner who do not comply with the law must be punished. 2.8 There should be strict control of mass media. Articles’ or programs for youths should be appropriately presented without considering too much commercial benefits.
dc.format.extent775101 bytes
dc.format.extent791459 bytes
dc.format.extent4580851 bytes
dc.format.extent459071 bytes
dc.format.extent1771961 bytes
dc.format.extent3419479 bytes
dc.format.extent1551646 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeOpinions of teachers concerning problems in inculcating and promoting morality in voational school students in bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสารัตถศึกษา
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jurairat_Ma_front.pdf756.93 kBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_Ch1.pdf772.91 kBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_Ch2.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_Ch3.pdf448.31 kBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_Ch4.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_Ch5.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Jurairat_Ma_back.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.