Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25305
Title: | การใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | An implementation of commercial mathematics knowledge of vocational education certificate students in Bangkok Metropolis |
Authors: | บุญมา พรชัย |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | หลักสูตร คณิตศาสตร์ธุรกิจ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ความรู้คณิตศาสตร์พาณิชยกรรม ในด้านการใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ และการใช้เป็นพื้นฐานสำหรับวิชาอื่น ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโปรแกรมพณิชยการ และเปรียบเทียบการใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมในแต่ละด้าน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโปรแกรมพณิชยการ ระหว่างสาขาบัญชี สาขาการขาย และสาขาเลขานุการ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโปรแกรมพณิชยการชั้นปีที่ 3 สาขาบัญชี สาขาการขาย และสาขาเลขานุการ จากวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา 3 วิทยาลัย และจากวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 3 วิทยาเขต ในกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนสาขาบัญชี 202 คน สาขาการขาย 120 คน และสาขาเลขานุการ 152 คน รวม 474 คน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามการใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมกับกลุ่มตัวอย่างประชากรแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ด้วยค่าเอฟ (F) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโปรแกรมพาณิชยการ นำความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมไปใช้โดยเฉลี่ยได้น้อยในด้านการใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และการใช้เป็นพื้นฐานสำหรับวิชาอื่น 2. ในการเปรียบเทียบการใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรม พบว่านักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 สาขา คือ สาขาบัญชี สาขาการขาย และสาขาเลขานุการ ใช้ความรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนทั้ง 3 สาขา ใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านการใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ และการใช้เป็นพื้นฐานสำหรับวิชาอื่น และพบว่านักเรียนสาขาบัญชีและสาขาการขาย กับนักเรียนสาขาบัญชีและสาขาเลขานุการ ใช้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านทั้ง 2 ดังกล่าว |
Other Abstract: | The Purposes of this study were to study the implementation of commercial mathematics knowledge in daily life, in the development of mathematics ability and as the foundation for other subjects of vocational education certificate students and to compare the implementation of commercial mathematics knowledge in each aspect among vocational education certificate students majoring in accounting, marketing and secretary. The samples in this study were third year vocational education certificate students majoring in accounting, marketing and secretary from 3 colleges under The Vocational Education Department and 3 colleges under The Institution of Technology and Vocational Education in Bangkok Metropolis. The samples of 474 students comprised of 202 students majoring in accounting, 120 students majoring in marketing and 152 students majoring in secretary. A questionnaire concerning the implementation of commercial mathematics knowledge was administered to the samples. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and the analysis of variance with one-way classification by F-test The results of this study were as follows : 1. The vocational education certificate students agreed that there were less implementation of commercial mathematics knowledge in daily life, in the development of mathematics ability and as the foundation for other subjects. 2. In comparing the implementation of commercial mathematics knowledge in daily life, it was found that there were no significant different at .05 level among the students majoring in accounting, [marketing] and secretary. There were significant different at .01 level in the implementation of commercial mathematics knowledge in the development of mathematics ability and as the foundation for other subjects among the students in 3 majors. The students majoring in accounting and marketing and the students majoring in accounting and secretary had implemented the commercial mathematics knowledge differently at .01 level of significance in those two aspects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25305 |
ISBN: | 9745666459 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonma_Po_front.pdf | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_Ch1.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_Ch2.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_Ch3.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_Ch4.pdf | 22.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_Ch5.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonma_Po_back.pdf | 9.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.