Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25427
Title: | แนวโน้มหลักสูตรสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง สังกัดกรมอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า |
Other Titles: | Trends of product design curriculum at diploma vocational level, department of vocational education, in text decade |
Authors: | รจนา เหล่อขะย่อน |
Advisors: | สันติ คุณประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาแนวโน้มของหลักสูตรสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรมอาชีวศึกษา ในทศวรรษหน้า โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ประชากรที่ใช้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการบริหารอาชีวศึกษาจำนวน 20 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รอบแรกเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่จำกัดคำตอบ (Non-directive open-ended semi-structured interview) ในรอบที่ 2 และ 3 ใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ในด้านต่างๆ ผลการวิจัย ดังนี้ 1) ด้านปรัชญาของหลักสูตร เพื่อให้เป็นผู้มีทักษะสามารถประกอบอาชีพอิสระเองได้ มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการมีมาตรฐานวิชาการและพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพื่อให้เป็นผู้มีความสามารถในการคิดและพัฒนารูปแบบ สามารถคิดและวิเคราะห์และมีความสามารถในการทำงานได้อย่างคุ้มทุน มีทักษะหลายด้าน และสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ 2) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรมีแนวโน้ม ที่ 80-85หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาสามัญ หมวดวิชาชีพและหมวดวิชาเลือก 3) ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตร รายวิชาที่มีแนวโน้มสำคัญได้แก่ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และจิตวิทยาระหว่างบุคคล การตลาด และกิจกรรมที่สนับสนุนหรือทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย การเข้าสังคมการอยู่ร่วมกัน การแสดงออกทางสังคม 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน จะเป็นการจัดการเรียนเรียนทฤษฎีในสถานศึกษาและฝึกงานในสถานประกอบการ มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านวิธีการสอนเป็นการสอนแบบอภิปราย การสอนเป็นทีม สื่อการเรียนการสอนคือการใช้สื่อพื้นบ้านและคอมพิวเตอร์ การใช้ชุดการเรียนสำเร็จรูป 5) ด้านการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล คือ แบบทดสอบ แฟ้มสะสมผลงาน 6) ด้านการบริหารหลักสูตร มีการวางแผนอบรมและพัฒนาครูอาจารย์ การวางแผนจัดตั้งศูนย์สหสื่อการศึกษาระหว่างสถานศึกษาในสังกัดเดียวกัน มีองค์กรทดสอบระดับชาติเพื่อเป็นกลางในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the trends of product design curriculum at diploma vocational level by using Delphi techniques. The population are 20 experts in area of instruction, product design and vocational administrators. The research instrument in the first round is non-directive open-ended semi-structured interview. In the second round and third round are the 5 levels rating scale questionnaires. The information are analyzed by using median and interquatile range. The result of this research will be following; 1. The curriculum philosophy: To improve the skill to settle their own business and comply with the need of standard entrepreneur and lifelong learning. The educational goal is the ability to think and develop designs; to be able to analyze and The capable of break-even working, with multi skill and group working skill. 2. The curriculum structure: The overall estimated 80-85 credits, consisting with general education courses, professional education courses and elective education course. 3. The content of the curriculum: The important subject would be English, Science, Interpersonal Psychology, and the supported activities of art and culture and Thai-local wisdom, in addition to social skills and expression. 4. The teaching and learning: The lecture should be provided in the school while the practice will be provided in outside manufactures. There should be the advisor system to improve teaching method. The studying media should be local teaching tools and instructional module. 5. The measurement and evaluation tools: There should be evaluation form, art portfolio, and national organization of education media for vocational education. 6. The curriculum management: There should be education media center. There should be to central organization to control the vocational standard. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25427 |
ISBN: | 9741738072 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rotjana_le_front.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_ch1.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_ch2.pdf | 31.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_ch3.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_ch4.pdf | 5.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_ch5.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rotjana_le_back.pdf | 13.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.