Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25440
Title: การจัดให้มีโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The provision of kindergarten in large housing projects : a case study of housing projects in Pathum Thani Province
Authors: รสสรินทร์ ทรัพย์ทวีสิริชล
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ต้องการให้หมู่บ้านสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง จึงมีองค์ประกอบของหมู่บ้าน เช่น ถนน สวนสาธารณะ เป็นต้น สำหรับหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่จะมีโรงเรียนอนุบาลเป็นองค์ประกอบเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่มีโรงเรียนอนุบาลเกิดขึ้นน้อย จึงมีความสนใจศึกษาในเรื่องการจัดให้มีโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านจัดสรร จังหวัดปทุมธานี โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพจริงของการให้บริการโรงเรียนอนุบาลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ และศึกษาความคิด เห็นผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่เกี่ยวกับความจำเป็นของการมีโรงเรียนอนุบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2535-2537 จังหวัดปทุมธานี และมีโรงเรียนอนุบาลดำเนินการแล้ว 3 โครงการ และเลือกอีก 3 โครงการที่ไม่มีโรงเรียนอนุบาล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 ชุด และสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ดำเนินการโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้าน จากการวิจัยพบว่า โรงเรียนอนุบาลทั้ง 3 โรง มีเปิดดำเนินการหลังจากมีผู้อยู่อาศัยนานแล้ว ขนาดพื้นที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 200 ตารางวา รถโรงเรียนเป็นรถตู้ทั้งหมด และมีสัดส่วนนักเรียนในหมู่บ้านน้อยกว่าจำนวนนักเรียนนอกหมู่บ้าน ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านที่มีโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ให้บุตรหลานเข้าโรงเรียนอนุบาลด้วยเหตุผลใกล้บ้าน สะดวกต่อการรับส่ง ความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจ และใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียนไม่เกิน 30 นาที โดยรถยนต์และรถโรงเรียน ส่วนเหตุผลที่ไม่ให้บุตรหลานเข้าหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้าน โดยผู้มีระดับรายได้น้อยให้เหตุผลว่าโรงเรียนที่ค่าเทอมแพง ส่วนผู้มีระดับรายได้สูงให้เหตุผลว่าไม่สะดวกต่อการรับส่ง และในด้านความคิดเห็น ผู้อยู่อาศัยคิดว่าควรใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียนอนุบาลไม่เกิน 30 นาทีโดยรถยนต์ และผู้อยู่อาศัยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีโรงเรียนอนุบาลทำให้มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านที่ไม่มีโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ให้บุตรหลานเข้าโรงเรียนอนุบาลด้วยเหตุผลใกล้บ้าน สะดวกต่อการรับส่ง ความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจ และใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียนไม่เกิน 30 นาที โดยรถยนต์และรถโรงเรียน และในด้านความคิดเห็น ผู้อยู่อาศัยคิดว่าควรใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียนอนุบาลไม่เกิน 30 นาที โดยรถยนต์ และผู้อยู่อาศัยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีโรงเรียนอนุบาลทำให้มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย จากการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า เหตุผลการให้บุตรหลานเข้าโรงเรียน คือ ใกล้บ้านจะใช้เวลาการเดินทางไม่เกิน 30 นาที หรือระยะทางระหว่างบ้านกับโรงเรียนไม่เกิน 3-5 กิโลเมตร สะดวกต่อการรับส่งโดยโรงเรียนจะต้องมีถนนหรือรถโรงเรียนในการรับส่ง ดังนั้นการมีโรงเรียนอนุบาลสิ่งจำเป็น แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกหมู่บ้าน และการมีโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้านต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านด้วย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ ให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ให้บุคคลภายนอกสามารถมาใช้บริการโรงเรียนอนุบาลได้ และแก้ไขประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่องกำหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ควรกำหนดขนาดพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาล 1 ไร่ และไม่จำเป็นต้องกันพื้นที่ไว้สำหรับเป็นโรงเรียนอนุบาลทุกโครงการ ถ้าการเดินทางจากหมู่บ้านถึงโรงเรียนอนุบาลไม่เกิน 30 นาที หรือระยะทางไม่เกิน 3-5 กิโลเมตร ส่วนผู้ที่ดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดสรรต้องมีการวางแผนสร้างโรงเรียนอนุบาลพร้อมกับสร้างที่อยู่อาศัยกับผู้ที่จะดำเนินการโรงเรียนอนุบาล โดยโรงเรียนอนุบาลควรมีในหมู่บ้านระดับราคาสูง และพื้นทิ่โรงเรียนอนุบาลน่าจะสามารถปรับหรือขยายเป็นโรงเรียนที่ระดับชั้นสูงขึ้นเช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา เป็นต้น
Other Abstract: According to the Land Development Act B.E. 2543, housing projects are to be self-contained. As a result, they are required to provide roads, parks etc for their residents. With respect to large housing projects, a kindergarten is an additional requirement. From a survey, it was found that there were only a few kindergartens in large housing projects. It is, then, the objective of the study to investigate the establishment of kindergartens in large housing projects in Pathum Thani. The study aims to examine the reality of kindergarten services offered to the residents of the project and their attitudes towards the needs for kindergartens. Large housing projects which sought for permission of land provision during 1992 – 1994 in Pathom Thani were selected for case studies. Three of these projects had already started kindergartens, while the other three did not have any. 371 Questionnaires were distributed to residents and interviews were carried out with 3 kindergarten administrators. The study revealed that all kindergartens were in operation long after the settlement of the residents in the projects. They were also established on land over 200 square wa. School buses were all vans and the number of the students living in the community were less than those from outside. The reasons why most residents sent their children to the community kindergarten were that it was close to home, convenient for picking children up and trustworthy. Moreover the time spent on traveling by car or school buses was no more than 30 minutes. For those residents whose children did not go to the community kindergarten, the ones with low income commented on the expensive school fees, whereas the ones with high incomes brought up the inconvenience of picking their children up. Regarding the residents, the general opinion was that, the time spent on traveling to the kindergarten should not be over 30 minutes by car. Furthermore, they viewed kindergartens as an advantage rather than disadvantage. Similarly, most residents in the housing projects without kindergartens sent their children to the one close to home, which was convenient for picking the children up, and trustworthy. They also chose schools within 30 minutes by car or school bus. Besides, they thought that it should not take them more than 30 minutes to drive to school and that having a community kindergarten provides advantages, not disadvantages. It can be concluded that one of the reasons for the residents to enroll their children in the community kindergarten is that the distance from home is no more than 30 minutes by car or in the range of 3 - 5 kilometer. The convenience for picking children up is another reason; therefore, schools need to provide roads and school buses. Although kindergartens are necessary, not all housing projects need them. Community kindergartens should be in line with the residents social and economic status. It is recommended that the Land Development Act B.E. 2543, measure 43, should be modified so that others can enroll in a community kindergarten. In addition, an area of 1 rai for the establishment of a kindergarten should be required. A community kindergarten should not be essential for every large housing project if there is a kindergarten no more than 30 minutes away or within a distance of 3-5 kilometers. A housing project needs to set up plans for a kindergarten and for administrators’ residences. It is suggested that a high-cost housing project has a kindergarten and later modified to be a secondary school, a high school, or a university.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25440
ISBN: 9741747411
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rossarin_su_front.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch1.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch2.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch3.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch4.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch5.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_ch6.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Rossarin_su_back.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.