Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสงัด อุทรานันท์
dc.contributor.authorชวลี พึ่งแสงสี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T02:43:44Z
dc.date.available2012-11-23T02:43:44Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665754
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25441
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการใช้หลักสูตรประถมศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ 1 ฉบับ และแบบสอบถาม 4 ฉบับ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษาระดับจังหวัด 3 คน ผู้บริหารหารศึกษาระดับอำเภอ 24 คน ศึกษานิเทศก์จังหวัดและศึกษานิเทศก์อำเภอ 25 คน ผู้บริหารโรงเรียน 40 คน ครูผู้สอน 342 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จ SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โดยการหาค่าความถี่และร้อยละ สรุปผลการวิจัย เกี่ยวกับปัจจัยป้อนเข้าของระบบการใช้หลักสูตรหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด ได้พบว่า ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ได้รับความรู้เรื่องการบริหารหรือการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในส่วนของกระบวนการใช้หลักสูตรนั้น ระดับจังหวัดได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการประถมศึกษาชี้แจงบทบาทหน้าที่ในการใช้หลักสูตรของผู้บริหารโรงเรียน ทำการควบคุม และติดตามผล จัดประชุม สัมมนา สนับสนุนงบประมาณและบุคลากร สนับสนุนงานวิจัย รายงานผลการติดตามการใช้หลักสูตร ศึกษานิเทศก์ระดับจังหวัดทำหน้าที่บริการเอกสารหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมจากหน่วยงานส่วนกลางจัดสรรให้ และติดตามผลการใช้หลักสูตรโดย การประชุม สัมมนา สำหรับผลจากการดำเนินงานตามระบบการใช้หลักสูตรในระดับจังหวัดนั้นก็คือ การประชุม อบรม และสัมมนา เกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้หลักสูตร ซึ่งจัดมากในปีการศึกษา 2527 ในส่วนของปัจจัยป้อนเข้าของระบบการใช้หลักสูตรของหน่วยงานทางการศึกษาระดับอำเภอ ได้พบว่า ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ได้รับความรู้ในเรื่องหลักสูตรและการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มาแล้ว ในส่วนของกระบวนการใช้หลักสูตรของผู้บริหารการศึกษาและนิเทศนั้น ผู้บริหารการศึกษาจะทำการควบคุมคุณภาพการใช้หลักสูตร ศึกษานิเทศก์จะเป็นผู้แจกจ่ายเอกสารหลักสูตรแก่โรงเรียน วางแผนและดำเนินการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร ดำเนินการอบรมครู สำหรับผลที่ได้จากการดำเนินงานตามระบบการใช้หลักสูตร ดำเนินการอบรมครู สำหรับผลที่ได้จากการดำเนินงานตามระบบการใช้หลักสูตรในระดับอำเภอนั้น ได้แก่ การจัดประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้หลักสูตร ซึ่งจัดมากในปีการศึกษา 2527 สำหรับปัจจัยป้อนเข้าของระบบการใช้หลักสูตรของหน่วยงานทางการศึกษาระดับโรงเรียน ได้พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนได้รับความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลการเรียน และได้รับเอกสารหลักสูตรตามที่กรมวิชาการจัดสรรให้ ในส่วนของกระบวนการใช้หลักสูตรของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ได้พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนได้บริการเอกสารหลักสูตรและสื่อการสอนแก่ครู สำหรับครูผู้สอนจะทำการดำเนินงานการเรียนการสอน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของระบบการใช้หลักสูตรในระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับโรงเรียนนั้น ได้พบว่า ผลที่ได้จากระบบการใช้หลักสูตรของจังหวัดจะเป็นปัจจัยป้อนเข้าของระบบการใช้หลักสูตรระดับอำเภอ ส่วนผลที่ได้จากระบบการใช้หลักสูตรของอำเภอจะเป็นปัจจัยป้อนเข้าของระบบการใช้หลักสูตรระดับโรงเรียน นอกจากนั้นกิจกรรมบางอย่างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการใช้หลักสูตรระดับจังหวัดมีความครอบคลุมถึงการใช้หลักสูตรในระดับโรงเรียนอีกด้วย ปัญหาและอุปสรรคภายในระบบการใช้หลักสูตร ได้พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องต่อไปนี้คือ ขาดงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรและเอกสารประกอบหลักสูตร การกระจายบุคลากรไม่สามารถทำได้ตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียน การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรของศึกษานิเทศก์อำเภอไม่สม่ำเสมอผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนไม่เข้าใจหลักสูตรและการใช้หลักสูตร และไม่ศึกษาเอกสารหลักสูตร ครูไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางที่หลักสูตรต้องการ หนังสือแบบเรียน หนังสือค้นคว้า และหนังสือเสริมความรู้ของนักเรียนมีไม่เพียงพอ
dc.description.abstractalternativeResearch Objective: The objective of the study was to investigate the implementation system of elementary school curriculum in the educational units under the jurisdiction of the Office of the Provincial Primary Education Nakhon Sawan Province. Research Procedure: The instruments used in the study composed of a set of interview schedule and four sets of questionnaire. The sample included 3 provincial administrators, 24 district administraters, 25 educational supervisors, 40 school administrators and 342 teachers. The data were analysed by using of frequency and percentage. Research Findings: The System of Curriculum Implementation at the Provincial Level. The Input- It was found that the educational administraters and the supervisors at the provincial level had been informed about the implementation of the Primary curriculum B.E. 2521. The Process- the administraters at the provincial level had performed the fol1owing functions: setting up the policy, informing the regulations, controlling and follow-up the curriculum implementation, the supporting, the budget to promote the research project and reviewing the reports on curriculum implementation. The supercisors had to administer the materials and evaluate the curriculum implementation. The Product- the meetings and seminars were the important products of the curriculum and curriculum implementation. The Product-the meetings and seminars were the important products of the curriculum and curriculum implementation at the provincial level, especially in the Academic Year 1984. The System of Curriculum Implementation at the District Level. The Input- the educational administrators and the supervisors at the district level had been informed about the implementation of the Primary Curriculum B.E. 2521. The Process- the administrators at the district level were responsible for controlling the quality of the curriculum implementation. The supervisors were responsible for managing the curriculum suplementary and training the school personnel. Also, the supervisor bad to plan and evaluate the curriculum implementation at the district level. The Product- the meetings and seminors on primary curriculum implementation were the major products, especially in the Academic Year 1984. The System of Curriculum Implementation at the School level. The Input- It was found that the school administrators and the teachers were informed of teaching-learning style and the process of measurement and evaluation suit to the curriculum. The Process- the school administrators facititate the teaching and learning while the teachers perform and evaluate their teaching. The relationship of the curriculum implementation systems at the provincial, the district, and the school levels could be summaried that the products of the curriculum implementation system at the provincial level were the inputs for the district level; and the products of the curriculum implementation system at the district level were the inputs for the school level. Further, some activities of the process of the provincial level had been done at the school level. The problems and obstacles of the system of the elementary curriculum implementation were the insufficient of the budget; the unequal of distribution of school personnel; the insufficient of supervision; less understanding of curriculum; the unchanging of teaching behavior of the teachers; and insufficient of textbooks and supplementary.
dc.format.extent559584 bytes
dc.format.extent413362 bytes
dc.format.extent1312716 bytes
dc.format.extent354724 bytes
dc.format.extent2700033 bytes
dc.format.extent1240003 bytes
dc.format.extent1599598 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาระบบการใช้หลักสูตรประถมศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์en
dc.title.alternativeA study of the implementation system of elementary school curriculum in the educational units under the jurisdiction of The Office of the Provincial Primary Education Nakhon Sawan Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawalee_Pi_front.pdf546.47 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_ch1.pdf403.67 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_ch2.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_ch3.pdf346.41 kBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_ch4.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_ch5.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Chawalee_Pi_back.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.