Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25551
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างคำเรียกเสียงกับลักษณะองค์ประกอบของเสียงตามความเข้าใจและตามการรับรู้ของคนไทย |
Other Titles: | The relationship between voice labels and voice components as conceived and perceived by the Thai |
Authors: | ฤติ สุนทรสิงห์ |
Advisors: | ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคำเรียกเสียงกับลักษณะองค์ประกอบของเสียงอันประกอบด้วย ความดังค่อย ช่วงสูงต่ำของเสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงต่ำ ความเร็วช้าและความต่อเนื่องตามความเข้าใจ และตามการรับรู้ของคนไทย โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 100 คนได้ทำแบบสอบถามแสดงความเข้าใจโดยการเลือกระบุระดับใดระดับหนึ่งจาก 5 ระดับคือ มาก ค่อนข้างมาก ปานกลาง ค่อนข้างน้อย และน้อย ขององค์ประกอบต่างๆ ของเสียง 5 ประเภทคือ เสียงดุดัน เสียงเข้ม เสียงแผ่ว เสียงพึมพำ และเสียงหวาน จากนั้นเข้าทดสอบการรับรู้โดยการฟังเสียงทดสอบของเสียงทั้ง 5 ประเภทข้างต้นที่บันทึกจากนักพากย์อาชีพจำนวน 5 คน แล้วระบุระดับขององค์ประกอบต่างๆ ของเสียงที่ได้ยินลงในกระดาษคำตอบ จากนั้นผู้วิจัยจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการเปรียบเทียบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแสดงระดับนัยสำคัญโดยวิธีสถิติทดสอบ F ผลการเปรียบเทียบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเรื่องความเข้าใจและข้อมูลเรื่องการรับรู้ ปรากฏว่าข้อมูลของความเข้าใจมีการกระจายตัวสูงกว่าข้อมูลของการรับรู้ในทุกองค์ประกอบของเสียงทุกประเภท และการกระจายของข้อมูลทั้งสองส่วนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเกือบทุกมิติองค์ประกอบของเสียงทุกเสียง ยกเว้นเพียงเรื่องเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงต่ำของเสียงหวานที่ปรากฏว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าคนไทยสามารถแสดงการรับรู้องค์ประกอบของเสียงเรื่องความดังค่อย ช่วงสูงต่ำของเสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงต่ำ ความเร็วช้าและความต่อเนื่อง ของเสียงทั้ง 5 ประเภทได้ดีกว่าการแสดงความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ของเสียงเหล่านั้น ยกเว้นเพียงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงต่ำของเสียงหวาน ซึ่งเป็นเสียงที่พบต่อไปว่ามีแนวโน้มทางสถิติที่คนไทยจะแสดงความเข้าใจและการรับรู้ได้ใกล้เคียงกันมากที่สุดในทุกมิติองค์ประกอบของเสียงเมื่อเทียบกับเสียงประเภทอื่น ข้อสังเกตที่เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคำเรียกเสียงและองค์ประกอบของเสียงที่พบเพิ่มเติมคือ ความดังค่อยเป็นองค์ประกอบของเสียงที่คนไทยเสดงความเข้าใจ และรับรู้ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด ตามด้วยความเร็วช้าและความต่อเนื่อง ในขณะที่ช่วงสูงต่ำของเสียง และการเปลี่ยนแปลงของเสียงสูงต่ำเป็น องค์ประกอบของเสียงที่คนไทยแสดงความเข้าใจและรับรู้ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันน้อยที่สุด |
Other Abstract: | This research compares the relationship between voice labels and voice components, consisting of loudness, tessitura, pitch fluctuation, tempo, and continuity, as conceived and perceived by the Thai. The data were collected from 100 subjects. This research consists of two main parts. In part 1, the subjects were asked to describe , in the questionnaire provided, the five voice components for the five selected voice labels, i.e., /sǐːaŋ dùdan/, /sǐːaŋ k hêm/, /sǐːaŋ phæ`w/, /sǐːaŋ phuımpham/ and /sǐːaŋ wǎːn/ by selecting one of the five degrees of voice components. The five degrees are high, rather high, moderate, rather low and low. In part 2, they were asked to listen to the stimuli of these five voice types produced by five professional voice dubbers and to identify the degree of each voice component on the answer sheet provided. The data from these two parts were analyzed by using statistics, i.e., standard deviation and F test, then, the results were compared. The results show that the range of distribution in part 1, which refers to the Thai’s conception of the relationship between voice labels and voice components, is wider than that in part 2, which refers to the Thai’s perception of the relationship between voice labels and voice components. The difference is statistically significant (p<0.05) and applied to most of the voice components of every voice label studied in this research, except for the pitch fluctuation of /sǐːaŋ wǎːn/ which shows a difference between range of distribution in part 1 and part 2 that was not statistically significant (p>0.05). These findings indicate that the Thai’s perception of voice components is better than their conception of voice components. The important remark regarding voice labels and voice components is that the five voice components show different levels of efficiency in expressing the conception and perception of voice labels. Loudness is the most efficient component, followed by the tempo and continuity. The least efficient components are tessitura and pitch fluctuation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25551 |
ISBN: | 9741749082 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Riti_so_front.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch1.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch2.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch3.pdf | 8.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch4.pdf | 10.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch5.pdf | 10.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch6.pdf | 8.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_ch7.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Riti_so_back.pdf | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.