Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25558
Title: ปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ ตามการรับรู้ของผู้บริหาร
Other Titles: Problems of organizing and conducting physical education programs in special education schools as perceived by administrators and physical education teachers
Authors: เริงชัย สังข์สวัสดิ์
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดและการดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารและครูพลศึกษาในโรงเรียนพิเศษทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งหมด 41 คน เป็นผู้บริหาร 23 คน ครูพลศึกษา 18 คน จากโรงเรียนศึกษาพิเศษ 14 แห่ง ได้รับแบบสอบถามคืนครบทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของขนาดเฉลี่ยของปัญหาระหว่างผู้บริหารและครูพลศึกษาโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ ส่วนใหญ่มีครูพลศึกษาไม่เพียงพอและไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ขาดความรู้และประสบการณ์ในการสอนเด็กพิเศษ งบประมาณไม่เพียงพอ อุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกมีจำนวนไม่เพียงพอ และไม่เหมาะสมกับสภาพความบกพร่องของนักเรียนตลอดจนฝ่ายบริหารไม่เห็นความสำคัญของวิชาพลศึกษาเท่าที่ควร จากการทดสอบความมีนัยสำคัญของการมีปัญหาระหว่างกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มครูพลศึกษา ปรากฏผลว่า ครูพลศึกษาประสบปัญหาด้านการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์และปัญหาการสอนวิชาพลศึกษามากกว่าผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่ปัญหาด้านบุคลากร ผู้บริหารประสบปัญหามากกว่าครูพลศึกษา ส่วนปัญหาเกี่ยวกับกิจกรรมพลศึกษาที่จัดสอนในโรงเรียน ปัญหาเกี่ยวกับครูผู้สอนวิชาอื่นที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ปัญหาการวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวก ผู้บริหารและครูพลศึกษาประสบปัญหาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The pupose of this study was to find out the problems of organizing and conducting physical education programs in special schools as perceived by administrators and physical education teachers. The device used for collecting data was constructed questionnaires which were sent to the school administrators and the teachers who taught physical education in the special education schools through out the country. From those 14 schools, the questionnaires were all returned. The data were analyzed into percentages, means, standard errors and t-test in order to determine the level of significant difference. It was found that the major problem at those schools were the lack of sufficient number of physical education teacher. They were not well qualified to teach in such Schools. The schools did not have sufficient budget, equipment, and facilities to serve the exceptional children. The administrative staff did not pay much interest in physical education. The analysis to determine the level of significant difference between the administrators and physical education teachers, it was found that such teachers faced the problems when teaching the objectives of subject, more significant than the administrators at .01 level. On the contrary, the administrators face the problems of personal more significant than the physical education teachers However, there was no difference between them concerning the taught activities, problems of other teachers in affecting the teaching of physical education, problems of test and evaluations, problems of co-curriculum activity management, and problems of equipment and facilities, significant at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25558
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Reongchai_Sa_front.pdf410.14 kBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_ch1.pdf442.97 kBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_ch2.pdf506.94 kBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_ch3.pdf313.18 kBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_ch5.pdf699.45 kBAdobe PDFView/Open
Reongchai_Sa_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.