Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25573
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักโขม Amaranthus tricolor ปรุงรสอบแห้ง
Other Titles: Development of dried seasoned amaranth Amaranthus tricolor
Authors: ณัฐ เทพหัตถี
Advisors: สุวรรณา สุภิมารส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผักโขม Amaranthus tricolor ที่มีปริมาณโปรตีน, เส้นใย และ p-carotene สูง ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอบแห้งที่มีลักษณะน่ารับประทานมากกว่าในรูป ของผักสด การศึกษาองค์ประกอบพบว่าผักโขมมีปริมาณความชื้น, โปรตีน และเส้นใยเป็น 90.06, 2.55 และ 1.07% ตามลำดับ calcium 226 mg ต่อ 100 g β-carotene 2240 µg ต่อ 100 g oxalate และ nitrate 471.6 และ 158.2 mg ต่อน้ำหนักสด 100 g oxalate ที่พบมีส่วนที่ละลาย น้ำได้ 65.67% การต้มผักโขมในน้ำเดือดปริมาณ 15 เท่าของน้ำหนักผัก นาน 15 นาที ทำให้ ปริมาณ oxalate ที่ละลายน้ำได้ และ nitrate ลดลง 62.68 และ 96.58% อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อ การบริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์มี 3 ขั้นตอน คือ การขึ้นรูป, อบแห้ง และปรุงรส การขึ้นรูปจะ เตรียมผักโขมที่ต้มแล้วในรูป paste เติม pre-gelatinized tapioca starch 3% เกลี่ยลงบนถาดให้ มีความหนา 3.5 mm อบแห้งใน tray dryer ที่ 95°c 30 นาที, 85°c 60 นาที และ 75°c 30 นาที เก็บใน desiccator 1 คืน อบต่อที่ 60°c 120 นาที เครื่องปรุงที่ใช้ปรุงรส คือ น้ำตาล (38-58%), เกลือ (4-10%) และ1ซีอิ้วขาว (38-52%) แปรสูตรด้วย mixture design และแปรปริมาณเครื่องปรุง รวมเป็น 5 และ 10% ของน้ำหนักผักที่ต้มแล้ว จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าสูตรที่ได้ รับการยอมรับมากที่สุด คือ น้ำตาล 38%, เกลือ 10% และซีอิ้วขาว 52% และปริมาณเครื่องปรุง รวม 5% จากนั้นแปรปริมาณพริกไทยเป็น 0.2, 0.4 และ 0.6% ของน้ำหนักผักที่ต้มแล้ว พบว่า ปริมาณที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ 0.4% ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณโปรตีน, เส้นใย และ calcium ไม่ต่างจากผักลด ปริมาณ β-carotene ลดลง 27% ปริมาณ oxalate และ nitrate ไม่ต่าง จากผักทีต้มแล้ว ปริมาณความชื้น, ค่า water activity, สี, ความหนา, ค่า tensile strength และ sorption isotherm ไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์สาหร่ายปรุงรสอบแห้งที่มีขายทั่วไป ในช่วงอายุการเก็บ 3 เดือน ผลิตภัณฑ์มีปริมาณความชื้น, ค่า water activity และค่า tensile strength เกือบไม่เพิ่ม ขึ้น มีสีเหลืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รสชาติยังคงเดิม แต่กลิ่นของซีอิ้วขาวและพริกไทยลดลง ทำให้ความ พอใจโดยรวมลดลง สำหรับปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด และปริมาณยีสต์และรา อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อบแห้ง
Other Abstract: The objective of the present research was to develop the dried seasoned product of amaranth, which was high in protein, fiber and p-carotene content. Fresh amaranth consisted 90.06, 2.55 and 1.07% moisture, protein and crude fiber, respectively. Calcium and β-carotene contents were 226 mg and 2240 µg/100 g. Oxalate and nitrate contents were relatively high at 471.6 and 158.2 mg/100 g, with 65.67% of oxalate was contributed to water-soluble form. However, boiling fresh amaranth at 15 minutes in water amounting 15 times of its weight resulted in the loss of 96.58% water-soluble oxalate and 69.86% nitrate, thus met safety standard. The mixture of amaranth paste and 3% pre-gelatinized tapioca starch was spread at 3.5 mm thickness and dried at 95°c, 85°c and 75°c for 30, 60, and 30 minutes, respectively, and was kept overnight before dried at 60°c for 120 minutes. Sugar, salt and soy sauce were varied by mixture design and determined at 5 and 10% of boiled amaranth weight. It was found that 38% sugar, 10% salt and 52% soy sauce at 5% of boiled amaranth weight was the most accepted formula. Furthermore, 0.4% pepper of boiled amaranth weight was the preferable recipe when 0.2, 0.4 and 0.6% pepper were varied. The amount of protein, fiber and calcium of final product were not significantly different from those of fresh amaranth but β-carotene decreased by 27%. Oxalate and nitrate were the same as those of boiled amaranth. Moisture content, water activity, color, thickness, tensile strength and sorption isotherm of the product were also insignificantly different from commercial dried seasoned seaweed. Product shelf life testing was conducted for 3 months. It was found that water activity and tensile strength were constant. The yellowness was slightly increased. Product taste was unchanged, however the odor of soy sauce and pepper was decreased, reducing an overall acceptance. Nevertheless, total plate count, yeast and mold were within the standard for dried product.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25573
ISBN: 9741765126
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nut_th_front.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Nut_th_ch1.pdf922.93 kBAdobe PDFView/Open
Nut_th_ch2.pdf8.5 MBAdobe PDFView/Open
Nut_th_ch3.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Nut_th_ch4.pdf13.15 MBAdobe PDFView/Open
Nut_th_ch5.pdf871.59 kBAdobe PDFView/Open
Nut_th_back.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.