Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25596
Title: การทำเสถียรและการทำก้อนแข็งเดินที่ปนเปื้อนในพื้นที่ด้วยวิธีเจ็ตเกร๊าติ้ง
Other Titles: In-situ stabilization and solidification of contaminated soil by jet grouting technique
Authors: ณัฐรินทร์ เลิศศรีมงคล
Advisors: มนัสกร ราชกรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ได้ทำศึกษาความเป็นไปได้ ในการทำการบำบัดดินที่ปนเปื้อนด้วยของเสียอันตราย โดยวิธีการทำเสถียรและการทำก้อนแข็ง โดยดินที่ปนเปื้อนจะพบได้หลายแห่ง เช่น ตามเหมืองฉีดต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม สถานีปริการน้ำมัน และอู่ซ่อมรถเป็นต้น โดยจะทำการบำบัดแบบทำในพื้นที่ (In-Situ Stabilization and Solidification) โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นสารที่ใช้ในการประสาน (Binder) เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีกำลังรับแรงอัดสูง ทนทานต่อการชะละลาย และช่วยปรับปรุงกำลังรับแรงอัดของดินในทางวิศวกรรม โดยจะทำการศึกษาอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสม เปรียบเทียบประสิทธิภาพของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในการทำเสถียรและ การทำก้อนแข็งกับดินที่มีการปนเปื้อนของตะกั่ว และเบนซีนในน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และเปรียบเทียบ ราคาของการบำบัดแบบทำในพื้นที่ กับการบำบัดแบบทำนอกพื้นที่ (Ex-Situ Remediation) จากการทดลองพบว่า กำลังรับแรงอัดที่อายุ 7 วันของตัวอย่าง มีเพียงตัวอย่าง 1.0L (4.39 กก./ซม.2) เท่านั้นที่มีกำลังรับแรงอัดสูงกว่ามาตรฐานที่ 3.5 กก./ซม.2 กำลังรับแรงอัดที่อายุ 28 วันของตัวอย่าง มีเพียงตัวอย่าง 2.0B (2.56 กก./1ซม.2) เท่านั้นที่มีกำลังรับแรงอัดต่ำกว่ามาตรฐาน ความหนาแน่นของตัวอย่างทุกตัวอย่างที่อายุ 7 วัน และที่ 28 วันนั้นมีค่าสูงกว่ามาตรฐานที่ 1.15 ตัน/ม.3 ความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในน้ำชะตัวอย่างทุกตัวอย่างที่ 7 วัน และที่ 28 วันนั้นมีความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในน้ำชะต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่ตะกั่ว ไม่เกิน 5 มก./ล. และเบนซีนไม่เกิน 0.5 มก./ล. ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2540 และค่าใช้จ่ายในการบำบัดแบบทำใน พื้นที่นั้นต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการบำบัดแบบทำนอกพื้นที่
Other Abstract: This research was aimed to investigate the possibility of In-situ Stabilization and Solidification treatment using jet grouting technique to remedy soils contaminated with lead and benzene in used lubricating oil at several sites for example, mines, factories, gas stations and garages. Field tests were carried out using Portland cement as a binding agent. Several water-to-cement ratios were evaluated to ensure compatibility with jet grouting equipment. Performance was evaluated via curing time studies versus strength and leachability. The results showed that unconfined compressive strengths (UCS) at 7 days of curing of soil cement sample containing lead with water-to-cement ratio of 1.0 was higher (4.39 kg/cm²) than what is required by the sixth notification of Ministry of Industry B.E. 2540 (1997) at 3.50 kg/cm². However, the soil cement sample containing benzene with water-to-cement ratio of 2.0 failed to meet the standards (2.56 kg/cm²). The densities of all samples were more than the standards at 1.15 ton/m.³The results of leachable concentrations of all samples were less than the standards of 5 mg/l for lead and 0.5 mg/l for benzene. Cost of in-situ remediation was found to be more economical than that of ex-situ remediation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25596
ISBN: 9741767226
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttarin_le_front.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch1.pdf597.87 kBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch2.pdf650.4 kBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch3.pdf10.93 MBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch4.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch5.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Nuttarin_le_back.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.