Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25604
Title: รูปแบบการกระจายรายได้และรายจ่ายของข้าราชการพลเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Income and Expenditure pattern of government officials in Bangkok Metropolis
Authors: ดาราวรรณ โรจนะเสน
Advisors: วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524 ได้วางนโยบายพัฒนาประเทศในแนวใหม่ โดยเน้นถึงการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ส่วนบุคคลขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เพราะจากการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาฯ ในอดีตที่ผ่านมานั้นทำให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของรายได้รวม (Aggregate income) แต่รายได้เหล่านั้นมิได้ถูกจัดสรรไปยังกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม จึงทำให้เกิดความแตกต่างในระดับความเป็นอยู่ของประชากรกลุ่มต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด การทำวิทยานิพนธ์ เรื่องนี้จะได้ศึกษาถึงลักษณะการกระจายรายได้ของข้าราชการพลเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการเปรียบเทียบว่า ก่อนการปรับอัตราเงินเดือนครั้งล่าสุด (30 กันยายน 2521) และหลังจากการปรับครั้งนี้แล้ว ลักษณะการกระจายรายได้เป็นเช่นไร โดยจะพิจารณาสถานการณ์การกระจายรายได้ของปี 2517 เปรียบเทียบกับปี 2522 นอกจากนี้จะได้ทำการศึกษาถึงสภาวะความเป็นอยู่ของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน โดยดูจากภาวะการครองชีพ วิเคราะห์ถึงรายได้ รายจ่าย ของบุคคลว่าเป็นเช่นไร โดยแยกพิจารณาตามระดับขั้นของเงินเดือน การที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เน้นให้ความสนใจแก่บุคคลกลุ่มนี้ ก็เนื่องจากว่า ข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญในการประสานงานระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ดังนั้น ลักษณะการกระจายรายได้ รวมทั้งภาวะการครองชีพในปัจจุบัน จึงมีอิทธิพลต่อสภาวะจิตใจ สภาพการดำรงชีวิตของกลุ่มคนกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน จะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐ การปฏิบัติงานของคนกลุ่มนี้ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด และเป็นที่พอใจของประชาชนได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะสิ่งแวดล้อมต่างๆ สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งความต้องการพื้นฐานของข้าราชการในฐานะที่เป็นราษฎรคนหนึ่งว่าได้รับการตอบสนองพอเพียงที่จะเอื้ออำนวยให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ จากการออกแบบสอบถามความคิดเห็นของข้าราชการพลเรือน ส่วนกลางในเขต กทม. ผลปรากฏว่า ข้าราชการส่วนมาก มีความเห็นว่า ค่าตอบแทนแรงงานที่ได้รับจากรัฐบาลในระยะรับราชการ 10 ปี ที่ผ่านมานั้น ไม่เพียงพอเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุก็เนื่องจากรายได้ไม่พอกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านการครองชีพ นอกจากที่ได้รับอยู่แล้วเพิ่มขึ้นอีก เช่น ขอให้รัฐบาลเพิ่มเงินเดือนให้สูงทันกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และให้ข้าราชการพลเรือนมีสิทธิที่จะขอกู้เงินจากรัฐได้โดยเสียดอกเบี้ยให้อัตราที่ต่ำ รวมทั้งให้รัฐบาลจ่ายภาษีเงินได้ให้เช่นเดิม นอกจากนี้ ทางด้านการอุปโภคบริโภค ก็ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือสวัสดิการด้านอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น การจัดร้านค้าที่สามารถซื้อสินค้าในราคาต่ำ ดังนี้ เป็นต้น
Other Abstract: The Forth National Economic and Social Development plan 2520-2524 B.E. (1977-1981) has been formulated for the first time to integrate the new concept of development policy with the emphasis on narrowing a gap of personal income among different income groups. The Former Development Plans concentrated on the growth of aggregate income whereas the aspect of income distribution was totally ignored. As a result, the income gaps among different groups of population were apparently widened. This thesis will, therefore, study about the pattern of income distribution of government officials in Bangkok Metropolis by comparing the pattern of income distribution before and after the latest salary adjustment (September 30, 1978), particularly the pattern of distribution of income in 1974 via a vis that in 1979. In addition, and attempt will be made to present the situation of Government officials concerning the cost of living, personal income and expenditure of different income classes. The study emphasises the group of Government officials because this particular group plays an important role in coordinating the public sector and the population at large. The pattern of income distribution and the cost of living, somehow, influence their standard of living and finally the willingness to contribute to their work. The relationship between the government and the people depends to a large extent on the performance of government officials. The efficiency in their work, in turn, depends on their [environment] including their standard of living and the satisfaction of their basic needs. According to the [questionnaires], the majority of the Government officials in Bangkok Metropolis indicate that the compensation to their service in the last 10 years and at present is not sufficient to keep pace with the rising cost of living. Most of them are in need. of more help from the government in forms of increased salaries in proportion to the increased cost of living, low interest loan and personed income tax free.In addition, on the consumption side they would like the government to provide more welfare services and low price necessary goods shops, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25604
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darawan_Ro_front.pdf617.29 kBAdobe PDFView/Open
Darawan_Ro_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Darawan_Ro_ch2.pdf904.64 kBAdobe PDFView/Open
Darawan_Ro_ch3.pdf773.69 kBAdobe PDFView/Open
Darawan_Ro_ch4.pdf612.42 kBAdobe PDFView/Open
Darawan_Ro_back.pdf679.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.