Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25612
Title: ปัญหาในการผลิตผลงานทางวิชาการของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Other Titles: The university librarians' problems in producing academic works
Authors: ชวนพิศ พรรัมย์
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยผลิตผลงานทางวิชาการและประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลงานทางวิชาการของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านรูปแบบ สาขาวิชา และแหล่งเผยแพร่ เพื่อศึกษาปัญหาในการผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นแนวทางให้แก่ผู้บริหารในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยผลิตผลงานทางวิชาการอย่างกว้างขวาง และเป็นการกระตุ้นให้บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยผลิตผลงานทางวิชาการอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร และในภูมิภาค จำนวน 290 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 248 ชุด ผู้วิจัยนำแบบสอบถาม 248 ชุด มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัย สรุปได้ว่า บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผลิตผลงานทางวิชาการในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2523-2527) มีจำนวนน้อยกว่าบรรณารักษ์ฯ ที่ไม่ได้ผลิตและผู้ที่ผลิตฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีวุฒิปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์ และมีระยะเวลาการทำงานในห้องสมุดในช่วง 4-6 ปี ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้บรรณารักษ์ผลิตผลงานทางวิชาการคือ ต้องการศึกษาหาเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุดและแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน และรูปแบบผลงานทางวิชาการที่ผลิตมากที่สุด คือ บทความวารสารรองลงมาคือ เอกสารทางวิชาการ และคู่มือการปฏิบัติงาน ผลงานที่ผลิตนั้นส่วนใหญ่ผลิตในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์/สนเทศศาสตร์ แหล่งเผยแพร่ที่สำคัญคือ ห้องสมุดที่สังกัดรองลงมาคือ หน่วยราชการ/องค์การ/สมาคมอื่นๆ สำหรับปัญหาในการผลิตผลงานทางวิชาการนั้น ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ การไม่มีเวลา ส่วนปัญหาในการเผยแพร่ คือจัดพิมพ์เผยแพร่ออกมาแล้วจัดจำหน่ายได้น้อยเพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในวงจำกัด ทั้งนี้บรรณารักษ์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในภูมิภาคประสบปัญหาในการเผยแพร่อยู่ในระดับสูงกว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ในด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนั้น บรรณารักษ์ฯ ส่วนใหญ่เห็นว่าผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรณารักษ์มีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการวิชาการ/กรรมการส่งเสริมการวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรสนับสนุนและส่งเสริมให้บรรณารักษ์ผลิตผลงานทางวิชาการมากยิ่งขึ้น โดยการใช้โอกาสในเรื่องเวลา จัดหาทุนอุดหนุนการวิจัยหรือผลิตผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่นๆ และจัดหาแหล่งเผยแพร่หรือถือเป็นนโยบายของห้องสมุดในการจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบรรณารักษ์สำหรับบรรณารักษ์นั้นก็ควรมีความกระตือรือร้นในการผลิตผลงานทางวิชาการ และผลิตผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่นๆที่มีการผลิตน้อย รวมทั้งผลิตผลงานในเนื้อหาบรรณารักษศาสตร์/สนเทศศาสตร์ที่ยังไม่มีผู้ใดผลิต ตลอดจนผลิตผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาอื่นๆด้วย และสำหรับทบวงมหาวิทยาลัยก็ควรได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการผลิตผลงานทางวิชาการของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับอาจารย์เพื่อทำให้ผลงานทางวิชาการของบรรณารักษ์ได้มาตรฐานและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: The purposes of this research are to study the factors, the benefits and the problems in producing academic works of the university librarians, to study and analyze the university Librarians’ academic works in terms of types, fields and publications. The guidelines for the university library administrators in supporting and promoting the librarians to produce more academic works and also stimulating the librarians to produce more works are also suggested here. The questionnaires were mailed to 290 university librarians both in Bangkok and other provinces. 248 copies of 290 distributed questionnaires were returned and analyzed statistically by percentage, arithmatic mean and standard deviation by SPSS PROGRAM. The results of the research can be summed up that most of the university librarians who produced academic works during the past five years (1980-1984) have Master's Degree in Library Science and have been working in the libraries for 4-6 years. The most important factor in producing academic work is to find out new technique and method for improving and solving problems in their professional works. The type of academic works produced most is periodical articles; second to them are technical papers and staff manuals. Library and information science are also the fields produced most. The publications are taken care by their own libraries and government offices/organizations/associations. The most important problem in producing is the lack of time and the problem in distributing is small sale volume because the topics are in limited-area. However, the university librarians in other provinces face more serious problems than those in Bangkok do. Most librarians suggest that the university library administrators should encourage them to participate in more academic activities such as sitting in library and university committees involving academic works and research promotion. According to the researcher's suggestions, the university library administrators should support and promote the librarians to produce more works by giving sabbatical leave, providing funds for librarians' research and other academic works and providing publishers for printing and distributing. The librarians themselves should be enthusiastic in producing academic works and produce them in various forms, contents and subjects. Finally, the Ministry of University Affairs should provide the same regulations and standards for university librarians academic works as they do with those of the university teaching staff.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25612
ISBN: 9745644633
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuanpit_Po_front.pdf449.57 kBAdobe PDFView/Open
Chuanpit_Po_ch1.pdf629.84 kBAdobe PDFView/Open
Chuanpit_Po_ch2.pdf665.95 kBAdobe PDFView/Open
Chuanpit_Po_ch3.pdf872.14 kBAdobe PDFView/Open
Chuanpit_Po_ch4.pdf699.16 kBAdobe PDFView/Open
Chuanpit_Po_back.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.