Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25651
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการและการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Other Titles: Relationship between selected factors and self-care practice in diabetic patients
Authors: เรมวล นันท์ศุภวัฒน์
Advisors: นพรัตน์ ผลาพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาตรวจที่คลินิกโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย คัดเลือกตัวอย่างประชากรโดยวิธีเก็บตัวอย่างโดยบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเอง และแบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน นำไปหาความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ในแต่ละส่วน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า และคูเดอร์ริชาร์ดสันสูตร 20 ได้ค่าความเที่ยง 0.69 และ 0.96 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณพร้อมกับทดสอบค่าเอฟ (F – test) และสร้างสมการทำนายที่ดีที่สุด โดยการวิเคราะห์พหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) แบบฟอร์เวอร์ดอินคลูชัน (Forward Inclusion) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยระดับความรู้เรื่องโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง 2. คะแนนเฉลี่ยระดับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีในระดับต่ำ 3. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 4. อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5. ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบเหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. ระยะเวลาของการรักษามีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 8. ความรู้เรื่องโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 9. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างการดูแลตนเองกับตัวทำนายทั้ง 6 ตัว คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของการรักษา ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน (X₆ ) รายได้ของครอบครัว (X₄ ) และระยะเวลาการรักษา (X₅ ) ซึ่งกลุ่มตัวทำนายนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของการดูแลตนเองได้ร้อยละ 43.69 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 9.193 โดยมีสมการในรูปคะแนนมาตรฐานและคะแนนดิบดังนี้ คือ Z’ = 0.492 Z[subscript6] + 0.194 Z[subscript 4]+ (- 0.102) Z[subscript 5] Y’ = 35.802 + 0.315 X₆ + 1.678 X₄ + (- 1.132) X₅
Other Abstract: The purpose of this thesis was to investigate the relationship between selected factors and self-care practice in diabetic patients. The subjects who were followed up at out patient department in three hospitals in Bangkok Metropolis. The selected samples were 200 diabetic patients by using an accidental sampling. The questionnaire was developed by the researcher which divided in two parts; the self-care practice and knowledge about diabetic disease. The instrument was tested for content validity, and Cronbach’s alpha coefficient and Kuder Richardson 20 were used to investigate reliability which were 0.69 and 0.96. The data was analysed by using various statistical methods such as : percentage, mean, Pearson’s product moment correlation coefficient method, the multiple correlation coefficient, the F-test and stepwise multiple regression analysis. The Major findings : 1. The mean score of knowledge about diabetic disease in diabetic patients was at the middle level. 2. The mean score of ability in self-care practice in diabetic patients was at low level. 3. There was no relationship between sex and self-care practice in diabetic patients. 4. There was no relationship between age and self-care practice in diabetic patients. 5. There was a positive relationship between the educational level and self-care practice in diabetic patients and was significant at the .01 level. 6. There was a positive relationship between the family income and self-care practice in diabetic patients and was significant at the .01 level. 7. There was a negative relationship between the duration of treatments and self-care practice in diabetic patients and was significant at the 0.1 level.8. There was a positive relationship between the knowledge about diabetic disease and self-care practice in diabetic patients and was significant at the .01 level. 9. The multiple correlation coefficient between self-care practice and the six predictors; sex, age, educational levels, family income, duration of treatments and knowledge about diabetic disease has been analysed. The result of the multiple correlation coefficient between these six predictors with self-care practice was significant at .01 level. The self-care practice variance accounted for by the best group of predictors composed of knowledge about diabetic disease (X₆) family income (X₄) and duration of treatment (X₅)was 43.69% and the standard error of estimate was 9.193. The regression equations respectively in standard scores and raw scores were: Z’ = 0.492 Z[subscript 6]+ 0.194 Z[subscript 4] + (- 0.172 ) Z[subscript 5] Y’ = 35.802 + 0.315 X₆ + 1.678 X₄ + ( - 1.132 ) X₅
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raymoul_Na_front.pdf473.62 kBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_ch1.pdf716.92 kBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_ch3.pdf521.28 kBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_ch4.pdf674.05 kBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_ch5.pdf871.47 kBAdobe PDFView/Open
Raymoul_Na_back.pdf875.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.