Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25652
Title: สภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนนทบุรี
Other Titles: The current supervisory management in primary schools under the jurisdiction of the provincial primary education office : the case study of Nonthaburi province
Authors: ชัดเจน ไทยแท้
Advisors: นิพนธ์ ไทยพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ตอนที่ 1 ศึกษาจากประชากร คือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) เติมคำในช่องว่าง (Fill in the blank) และแบบปลายเปิด (Open-ended) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จ SPSS หาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 28 คน และศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน จำนวน 28 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured interview) และแบบบันทึกข้อมูลจากเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล โครงการ วิเคราะห์เนื้อหา แจกแจง ความถี่ และหาค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย จากการวิจัย ปรากฏสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ดังนี้ 1. โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรีทุกโรงเรียนได้จัดให้มีหรือปฏิบัติงานนิเทศการการศึกษาภายในโรงเรียน ซึ่งได้แก่งาน 3 ประเภทคือ งานวิชาการหรือการเรียนการสอนโดยตรง งานพัฒนาครูภายในโรงเรียน และงานสนับสนุนและบริการการเรียนการสอน และปรากฏว่า งานที่เกี่ยวกับงานวิชาการหรือการเรียนการสอนโดยตรง ที่มีจำนวนโรงเรียนจัดหรือปฏิบัติมากที่สุดคือการจัดให้ครูได้ทำและปรับตารางเสนอให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน งานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูภายในโรงเรียนที่มีจำนวนโรงเรียนจัดหรือปฏิบัติมากที่สุด คือการจัดให้มีการสร้างเสริมประสิทธิภาพของครู เช่น การหาครูไปศึกษาดูงาน การอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอน และงานที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุนและบริหารการเรียนการสอนที่มีจำนวนโรงเรียนจัดหรือปฏิบัติมากที่สุดคือ งานการจัดห้องสมุดหรือมุมหนังสือของโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนและให้ได้ผล ตามจุดประสงค์ของหลักสูตร 2. กระบวนการจัดดำเนินงานการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างปรากฏว่า ผู้บริหารโรงเรียนประชุมครูทุกคน เพื่อกำหนดงานหรือโครงการของโรงเรียน เมื่อกำหนดงานหรือโครงการแล้ว ผู้บริหารและครูวิชาการร่วมกันวางแผนดำเนินงานและเขียนโครงการ ก่อนที่จะดำเนินงานตามโครงการที่กำหนดไว้นั้น มีการชี้แจงงานหรือโครงการ เพื่อนำไปปฏิบัติ โดยวิธีการประชุมชี้แจง และมีการมอบหมายความรับผิดชอบในงานหรือโครงการนั้นๆ ผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการมีลักษณะเป็นคณะบุคคล และรายบุคคลซึ่งผู้รับผิดชอบมีหน้าที่เป็นทั้งผู้ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น และผู้ประสานงาน ในกรณีที่เป็นงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ หรืองานรีบด่วน ผู้บริหารจะสั่งให้ผู้ช่วยผู้บริหารและ/หรือหัวหน้างานฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ดำเนินการ การดำเนินงานตามโครงการปรากฏว่า การให้ความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการโดยการสรุปหลักเกณฑ์ และซักซ้อมความเข้าใจในวิธีการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบโครงการนั้นๆ เป็นผู้ดำเนินการโดยวิธีการประชุมชี้แจง การติดตามการปฏิบัติงาน ปรากฏว่าผู้บริหารและผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการโดยวิธีการให้คำแนะนำและประชุมปรึกษาหารือ เมื่อพบปัญหาและอุปสรรค ผู้ติดตามการปฏิบัติงาน และผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้บริหาร การควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดำเนินการโดยการเตือนงานในที่ประชุม เมื่อใกล้กำหนดปฏิบัติงานและกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน โดยผู้บริหาร ส่วนการให้การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และบริการนั้นผู้บริหารเป็นผู้ดำเนินงาน รวมถึงการให้ขวัญและกำลังใจ ซึ่งดำเนินการโดยวิธีการร่วมปฏิบัติงานทุกครั้ง สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นผู้บริหารดำเนินร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการแต่ไม่มีเครื่องมือสำหรับการประเมินผล โดยใช้วิธีการโดยการสังเกต และสอบถาม และไม่มีการพิจารณาประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามโครงการ 3. ปัจจัยที่จะช่วยในการจัดดำเนินงานการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนที่โรงเรียนระบุความต้องการมากที่สุดคือ ปัจจัยเกี่ยวกับ บุคลากรและการจัดการในเรื่องการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เรื่องการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนแก่ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องการนิเทศการศึกษา บทบาทหน้าที่ของผู้ให้การนิเทศการศึกษาและผู้รับการนิเทศ การวางแผนและการดำเนินงานนิเทศการศึกษา และการประเมินผลการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน 4. ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนที่มีจำนวนโรงเรียนระบุมากที่สุดคือ ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดการ ในเรื่องผู้บริหารที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิค วิธีการหรือขั้นตอนในการจัดดำเนินงานนิเทศ การศึกษาภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ สาเหตุเพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมหรือสัมมนาเพื่อเพิ่มความรู้
Other Abstract: Purpose of the Research The purpose of this research was to study the current supervisory management in primary schools under the jurisdiction of Nonthaburi Provincial Primary Education Office. Research Procedures The population of this study consisted of 147 primary school administrators in primary schools under the jurisdiction of Nonthaburi Provincial Primary Education Office: of these, there were 28 primary school administrators selected by using the simple random sampling technique as the sample for interviewing and document analyzing. The instruments were consisted of questionnaires constructed in forms of check list, filling in the blanks and open-ended;•structured interviewing sheets and document analyzing sheets. The questionnaires were completed and returned by those 147 primary school administrators while the structured interviewing sheets and the document analyzing sheets were used only in 28 primary schools selected. Data abtained were analyzed by using percentage, frequency and content analysis. Research Findings 1. Three supervisory tasks, the academic task or the instructional task, the teacher developmental task and the instruction supporting task, were operated in all primary schools under the Jurisdiction of Nonthaburi Provincial Primary Education Office Concerning the academic task or the instructional task, adapting the appropriate instructional schedules was operated at the first level. Promoting teaching efficiency in the teacher developmental task, was performed at the first level and improving academic resources, such as books and professional readings in the instruction supporting task was also performed at the first level. 2. Concerning the supervisory process in the primary school, it was found that the school administrators and teachers had together confered so as to set the supervisory projects. Those projects were well clarified before practice. Also, the teacher .or groups or teachers assigned to those projects had to cooperate with each other. The administrator had immediately assigned work to his assistant in case of emergency, to. In implementing projects, teachers assigned were also advised to do those projects, teachers assigned were also advised to do those projects and during the project implementation, the administrator had given useful directions whenever the problems and obstacles occurred. Paticipation and facilities were directly support by the administrator in controlling the projects. Observation technique, not other instruments, was most used in evaluating those ones. 3. Concerning the supervisory management factor in schools, most of the schools stated that they really needed the personal and management factor, such as giving the administrator more information and knowledge about supervisory management in school. 4. The problems of the supervisory management in primary school: it was found that the administrator supervisory management was the great problem, especial the technigues and processes in supervisory management in school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25652
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutjane_Th_front.pdf493.02 kBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_ch1.pdf549.1 kBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_ch2.pdf867.85 kBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_ch3.pdf315.24 kBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_ch5.pdf817.45 kBAdobe PDFView/Open
Chutjane_Th_back.pdf830.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.