Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25666
Title: ภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก
Other Titles: Pictorial illustrations in Thai books for children
Authors: เรวัต การพจน์
Advisors: กานต์มณี ศักดิ์เจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กลักษณะต่าง ๆ ของศิลปินที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละประเภท รวมทั้งเพื่อศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อศึกษาถึงชีวประวัติและผลงานของศิลปินร่วมสมัยผู้เขียนภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเองโดยศึกษาจากตำรา และเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิก่อนที่จะนำไปใช้จริงกับศิลปินผู้เขียนภาพประกอบซึ่งสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษา จำนวน 30 คน หลังจากที่รวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นความคิดเห็นของศิลปินแล้ว ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของมัชฌิมเลขคณิตทีละคู่ของความคิดเห็นของศิลปินที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ผลของการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนภาพประกอบลักษณะต่าง ๆ ของศิลปินที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละประเภท ปรากฏว่า ภาพการ์ตูน ศิลปินมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุดกับเนื้อเรื่องประเภทตลกขบขัน และมีความเหมาะสมที่ระดับมากกับเนื้อเรื่องประเภทร้อยกรองและบทกล่อมเด็ก ภาพลายเส้น ศิลปินมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมที่ระดับมากกับเนื้อเรื่องประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ นิทานสอนคติธรรม และมีความเหมาะสมที่ระดับพอควรกับเนื้อเรื่องประเภทนิทานชาวบ้าน ภาพสีน้ำ ศิลปินมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุดกับเนื้อเรื่องประเภทจินตนิยาย และมีความเหมาะสมที่ระดับมากกับเนื้อเรื่องประเภทเรื่องสมจริงเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ตลอดจนมีความเหมาะสมที่ระดับพอควรกับเนื้อเรื่องประเภทสารคดีและเรื่องผจญภัย 2. การศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กนับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่า ประวัติของภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก แบ่งออกได้เป็น 5 ยุค ในยุคแรก (พ.ศ. 2364 – 2430) ภาพประกอบยังไม่มีการนำมาใช้ในหนังสือสำหรับเด็กแต่อย่างใด เพราะหนังสือสำหรับเด็กในยุคนี้ เขียนเป็นตัวอักษรไทยโบราณล้วน ๆ ลงในสมุดข่อย ภาพประกอบเพิ่งปรากฏหลักฐานการนำมาใช้ในหนังสือสำหรับเด็กอย่างจริงจัง ในยุคที่ 2 (พ.ศ. 2430 – 2471) ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นแล้วในปี พ.ศ. 2430 ภาพประกอบในยุคนี้เป็นภาพแกะไม้ ขาว ดำ สร้างโดยศิลปินกรมราชบัณฑิตเป็นส่วนใหญ่ หนังสือที่ใช้ภาพประกอบมีเนื้อเรื่องประเภทเรื่องเกี่ยวกับสัตว์และสิ่งของ เรื่องสมจริง สารคดี นิทานชาวบ้าน และเรื่องผจญภัย ต่อมาในยุคที่ 3 (พ.ศ. 2471 – 2490) ลักษณะของภาพประกอบได้เปลี่ยนจากภาพแกะไม้ไปเป็นภาพเขียนลายเส้น ขาว ดำ และภาพการ์ตูน เขียนโดยศิลปินผู้เขียนภาพอิสระซึ่งเขียนภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กที่มีเนื้อเรื่องประเภทนิทานสอนคติธรรม เรื่องสมจริง เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ และนิทานชาวบ้าน ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2490 – 2515) ภาพประกอบเริ่มมีสีเข้ามาใช้เป้นครั้งแรก สีดังกล่าวเป็นสีน้ำ การจำลองภาพสีน้ำไปพิมพ์ต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ นอกเหนือจากฝีมือของศิลปินเพิ่มมากขึ้น หนังสือในยุคนี้มีเนื้อเรื่องหลายประเภท คือ นิทานชาวบ้าน จินตนิยาย เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ เรื่องผจญภัย ศิลปินผู้เขียนภาพประกอบเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นศิลปินผู้เขียนภาพอิสระและศิลปินผู้เขียนภาพประจำสำนักพิมพ์เอกชน ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2515 – 2522) ภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปเป็นอันมาก เพราะการจัดให้มีการประกวดหนังสือสำหรับเด็กของหน่วยงานต่าง ๆ ภาพประกอบในยุคนี้ได้นำมาใช้กับเนื้อเรื่องทุกประเภท และมีหลายลักษณะ ใช้สีหลายสี ตลอดจนใช้เทคนิคในการพิมพ์ที่ทันสมัย ศิลปินผู้เขียนภาพประกอบในยุคนี้มีจำนวนมากกว่ายุคใดเป็นทั้งศิลปินอิสระ ศิลปินผู้เขียนภาพประจำสำนักสำนักพิมพ์เอกชน และศิลปินผู้เขียนภาพประจำสำนักพิมพ์ของรัฐ 3. การศึกษาชีวประวัติและผลงานของศิลปินร่วมสมัยผู้เขียนภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก จำนวน 40 คน ปรากฏว่า ศิลปินร่วมสมัยผู้เขียนภาพประกอบหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กจำนวนหนึ่งในสามหรือร้อยละ 35.00 เป็นศิลปินผู้เขียนภาพประจำสำนักพิมพ์เอกชน และมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 45.00 รวมทั้งมีความรู้ทางด้านศิลปะโดยผ่านการศึกษาจากวิทยาเขต เพาะช่าง ร้อยละ 47.50 ศิลปินเหล่านี้มีความถนัดในการเขียนภาพเฉพาะตัวแต่ละลักษณะต่าง ๆ กัน คือ ถนัดในการเขียนภาพการ์ตูน ร้อยละ 30.00 ถนัดในการเขียนภาพลายเส้น ร้อยละ 37.50 ถนัดในการเขียนภาพสีน้ำ ร้อยละ 32.50 ทั้งยังมีผลงานในการเขียนภาพตั้งแต่ 6 เล่มขึ้นไป ร้อยละ 50.00 ในจำนวนนี้ได้รับรางวัลจากการเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก 1 เรื่อง ร้อยละ 30.00 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปมีดังนี้ 1. ควรศึกษาถึงภาพประกอบลักษณะต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาพเขียน 3 ลักษณะ คือ ภาพการ์ตูน ภาพลายเส้น และ ภาพสีน้ำ ซึ่งมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องของหนังสือของหนังสือ 12 ประเภท เช่น ภาพพิมพ์ ภาพปะติด ภาพถ่าย 2. ควรวิเคราะห์และจำแนกเนื้อเรื่องของหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบและได้รับการตีพิมพ์ขึ้นใหม่ ๆ ว่า มีเนื้อเรื่องประเภทใดบ้าง รวมทั้งลักษณะการเขียนภาพประกอบของศิลปิน ซึ่งมีความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อเรื่องของหนังสือเหล่านั้น 3. ควรศึกษาถึงศิลปินผู้เขียนภาพประกอบที่เป็นประชากร ให้กว้างขวางมากขึ้นแล้วสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยตามอัตราส่วนของศิลปินแต่ละประเภท โดยพิจารณาถึงการใช้เครื่องมือสำหรับการวิจัย และสถิติแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
Other Abstract: Objective of the study: The purpose of this study was threefold: to survey the viewpoints of Thai illustrators concerning drawings to suit the themes of children’s books illustrated; to study the history and trends of the illustrations in Thai books for children from the early period to the present; and to study the lives and works of contemporary illustrators who illustrated Thai books for children. The instrument used was a questionnaire set constructed by the researcher from extensive analysis of related literature and consultation with experts prior to the actual distribution and collecting process to thirty illustrators sampled. The data were analyzed through the use of arithmetic means and standard deviation. Moreover one way analysis of variance and the test of difference between pairs of means were employed to compare the difference of the illustrators’ viewpoints at .01 level of significance. The following conclusions were based on the findings of the investigation :- 1. The viewpoints surveyed were discovered that cartoons were most suitable to signify humorous contents and more suitable in poetry for children and Mother Goose rhymes. Line drawing style was more suitable with historical fictions, biography, fables and also suitable to folk tales theme on an average level. Watercolor drawings were most suitable to use in fantasy and more suitable in realistic stories, animal stories but for informational books and adventure stories they are suitable at the average. 2. From the history and trends of the pictorial illustrations in Thai books for children it concluding appeared that:- The historic and developmental span could be classified into five periods. In the first period (B.E. 2364-2430) illustrations had not yet begun. The accordion-like folded manuscripts were hand written in ancient Thai letters with no decorations. The illustrations had just appeared during the second period (B.E. 2430-2471) after the Ministry of Education had been established in B.E. 2430. The illustrations were black and white woodcuts created by the illustrators employed by Ministry of Education. The main illustration themes signified animal stories, realistic stories, informational books, folk tales and adventure stories. The third period (B.E. 2471-2490) was the ending of woodcuts and emerging of black and white line drawings. Cartoons also came out in this period. The illustrators who produced the pictures were independent artists. Their works mosly served along the line of fables, realistic stories and folk tales. In the fourth period (B.E. 2490-2515) watercolor drawings were used in Thai pictorial illustrations. It was the period of applying new tools and machines for the reproduction on the printed pages. Particular themes illustrated were folk tales, fantasy, animal stories and adventure stories. The illustrators were private publisher’s artists and governmental publisher’s artists. During the fifth period (B.E. 2515-2522) illustrations were used with all types and themes of children’s book. They were created in modern styles of drawings using new ideas and technology for the best results in order to be competed in an annual award contest initiated at that time. A great number of illustrators were independent artists, private publishers’ and governmental publisher’s artists. 3. The study concerning lives and works of the illustrators resulted that :- About one-third of the illustrators (35.00 percent) were private publishers’ artists. Their ages averaged between 31-40 years (45.00 percent). Almost half (47.50 percent) graduated from the college of Fine Arts. The illustrators drew pictures through their own specifically skillful styles. Of the total forty illustrators studied their skills were almost equally divided: cartoon drawings, 30.00 percent, line drawings, 37.50 percent and watercolor drawings, 32.50 percent. Half of the illustrators (50.00 percent) had illustrated up to 6 books and one-third (30.00 percent) had already won awards in the annual children books contest. Recommendations: As for the recommendations for further research, it is suggested that:- 1. There should be a study concerning the suitability of various types of illustrations other than cartoons, line-drawings and water-coloring pictures which are art prints, collages, photographs and so forth, to be used with the same themes of children’s books represented in this research. 2. There should be a thorough examination and classification of the contents of recently published illustrated Thai books for children and the artists characteristics and styles of illustrations to match the contents. 3. Should there be a consideration to redo this work, it is suggested that a wider number of population should be collected for more solidly proportionate groupings of the samples. The research instrumentation and other statistical procedures should be tried so as variables are adequately controlled.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25666
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rewat_Ga_front.pdf619.46 kBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_ch1.pdf633.1 kBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_ch2.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_ch3.pdf378.92 kBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_ch4.pdf829.94 kBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_ch5.pdf630.56 kBAdobe PDFView/Open
Rewat_Ga_back.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.