Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25834
Title: การสื่อสารในสถานสงเคราะห์คนชราประเภทเสียค่าบริการของรัฐบาลและเอกชน
Other Titles: Communication of paid customers in public and private homes for the aged
Authors: อรวรรณ ขำสุวรรณ
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารในสถานสงเคราะห์คนชราประเภทเสียค่าบริการของรัฐบาลและเอกชน” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมองตนเอง (Self Perception) ของพี่เลี้ยงและผู้สูงอายุ ศึกษาความคาดหวังของผู้สูงอายุที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยง ศึกษาลักษณะการสื่อสาร ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในการสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับผู้สูงอายุ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้การสังเกตการณ์ประกอบในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นพี่เลี้ยง จำนวน 4 คนและผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐบาลจำนวนสองแห่ง กลุ่มที่สอง ได้แก่ พี่เลี้ยง จำนวน 8 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 13 คน ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราของเอกชนจำนวนสามแห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1. พี่เลี้ยงในสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐบาลและเอกชนมีการมองตนเองที่ไม่แตกต่างกัน โดยด้านนิสัยส่วนตัวที่เป็นบวก พี่เลี้ยงมองว่าตนเป็นคนในเย็น มีเมตตาชอบช่วยเหลือคนอื่น เข้ากับคนได้ง่าย และเข้าใจผู้อื่นได้ดี ส่วนนิสัยส่วนตัวที่เป็นลบ พี่เลี้ยงมองว่าตนเป็นคน ขี้หงุดหงิด และมีอารมณ์โกรธ ในด้านสถานภาพในความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ พี่เลี้ยงมองว่าตนเสมือนลูกหลายของผู้สูงอายุ ด้านสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันพบว่าพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ ในส่วนของการมองตนเองของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลและเอกชนมีการมองตนเองในด้านนิสัยที่ไม่แตกต่างกัน โดยนิสัยส่วนตัวที่เป็นบวกของผู้สูงอายุ ได้แก่ มีเมตตาชอบช่วยเหลือผู้อื่น และเป็นคนอารมณ์ดี นิสัยส่วนตัวที่เป็นลบ คือเป็นคนโกรธง่าย ใจร้อน และขี้หงุดหงิด แต่ในด้านสถานภาพในความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง และด้านสถานภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันพบว่ามีความแตกต่างกัน คือ ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของเอกชนมองสถานภาพในความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยงว่าตนเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ของพี่เลี้ยง ซึ่งต่างจากผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลที่มองว่าตนเป็นเพียงผู้มาพึ่งพิงอาศัย โดยมีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่คอยดูแล ส่วนการมองตนเองด้านสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลนั้นพบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันสูง แตกต่างจากผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ต้องยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ให้ได้ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้สมัครใจที่จะเข้ามาอยู่ แต่เป็นเพราะได้รับความเจ็บป่วยทางร่างกาย ทำให้ลูกหลานต้องพามารักษาตัว จึงเป็นสภาวะจำยอมของผู้สูงอายุ 2. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลและเอกชนไม่มีความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยง เนื่องจากเห็นว่าพี่เลี้ยงปฏิบัติหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว 3. ลักษณะการสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลและเอกชน มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน ดังนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ มีรูปแบบการสื่อสารที่ค่อนข้างตายตัว มีการสื่อสารที่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ใช้สรรพนามแบบนับญาติ ใช้วัจนภาษาที่มีความชัดเจน เข้าใจได้ง่ายและมีความสุภาพ โดยใช้อวัจนภาษาประกอบ และการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งผู้สื่อสารต่างก็ต้องตระหนักถึงคุณลักษณะของคู่น่วมสื่อสารด้วย 4. พี่เลี้ยงและผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลและเอกชน ไม่พบปัญหาในการสื่อสาร เนื่องจากทั้งพี่เลี้ยงและผู้สูงอายุมีการสนทนาในลักษณะที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาในการสื่อสาร
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25834
ISBN: 9741732376
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_kh_front.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_ch1.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_ch2.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_ch3.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_ch4.pdf20.9 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_ch5.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_kh_back.pdf9.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.