Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25886
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ในวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่หลักการ และการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา
Other Titles: A comparison of cognitive learning achievement in sciencs of mathayom suksa two students unsing programmed lessons with principle guided and problem solution guided
Authors: วิสิฏ พงษ์ประดิษฐ์
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ในวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่หลักการ และการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จำนวน 2 กลุ่ม ๆ ละ 45 คน กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่มนี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากผลการสอบภาคปลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มที่ 1 เข้ารับการทดลองที่ 1 ซึ่งศึกษาจากบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่หลักการ และกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ 2 เข้ารับการทดลองที่ 2 ซึ่งศึกษาจากบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา เครื่องมือการทดลองเป็นบทเรียนแบบโปรแกรม เรื่อง “การถ่ายเทพลังงานความร้อน” ซึ่งมีเนื้อหาของบทเรียนเป็น 3 บทเรียน เมื่อกลุ่มตัวอย่างเรียนจบบทเรียนแต่ละบท จะรับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย 3 ขั้น คือ ขั้นความรู้ความจำ ขั้นความเข้าใจ และขั้นการนำไปใช้หลังจากเรียนจบบทเรียน และทดสอบทั้ง 3 บทเรียนแล้ว คะแนนที่ได้ทั้งหมด นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าที (t – test) ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย (ขั้นความรู้ความจำ ขั้นความเข้าใจและขั้นการนำไปใช้) ของกลุ่มตัวอย่างประชากร ที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่หลักการและที่มีการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ขั้นความรู้ความจำของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรม ที่มีการชี้นำที่หลักการ และที่มีการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ขั้นความเข้าใจ ของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการชี้นำที่หลักการ และที่มีการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 4.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ขั้นการนำไปใช้ ของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรม ที่มีการชี้นำที่หลักการ และที่มีการชี้นำที่วิธีแก้ปัญหา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the cognitive learning in science learning of Mathayom Suksa two students using programmed lesson with principle guided and problem solution guided. The samples were two groups, 45 each, of Mathayom Saksa two students of Tapanhin school, Changwat Pichit. There was no significant difference between science subject learning achievement from their final term of Mathayom Suksa one of these two groups at the .05 level of significant. The experimental group one learnt from programmed lesson with principle guided, while the experimental group two learnt from programmed lesson with problem solution guided. The test materials were programmed lessons on “Heat transfer”, composed of three lessons and cognitive learning achievement test for each lesson. After learnt from each lesson, the subject were asked to do a cognitive learning achievement test at three levels : knowledge, comprehension and application. The data were analyzed by using t – test. Results 1. There was no significant difference between the cognitive learning achievement (knowledge, comprehension and application) of learning from programmed lesson with principle guided and protlem solution guided at the .05 level of significant. 2. There was no significant difference between the cognitive learning achievement at the knowledge level when learning from programmed lesson with principle guided and problem solution guided at the .05 level of significant. 3. There was no significant difference between the cognitive learning achievement at the comprehension level when learning from programmed lesson with principle guided and problem solution guided at the .05 level of significant. 4.There was no significant difference between the cognitive learning achievement at the application level when learning from programmed lesson with principle guided and problem solution guided at the .05 level of significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25886
ISBN: 9745662542
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisit_Ph_front.pdf405.96 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_ch1.pdf418.17 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_ch2.pdf984.9 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_ch3.pdf477.64 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_ch4.pdf295.66 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_ch5.pdf455.84 kBAdobe PDFView/Open
Wisit_Ph_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.