Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25891
Title: ปฏิสัมพันธ์ของความซับซ้อนของสีในภาพเขียนกับอัตราเวลาในการเสนอที่มีต่อการจำได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The interaction of complexity of color painting and rates of presentation in recognition of lower secondary school students
Authors: วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฎิสัมพันธ์ของความซับซ้อนของสีในภาพเขียนกับอัตราเวลาในการเสนอที่มีต่อการจำได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นนักเรียนจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2528 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 300 คน สุ่มจากนักเรียนจำนวน 855 คน และโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 200 คน สุ่มจากนักเรียนจำนวน 540 คน ทุกคนไม่เป็นคนตาบอดสี ด้วยการทดสอบตาบอดสีของ เอส อิซิฮารา จากนั้นจึงจัดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็น 20 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน เพื่อเข้ารับการทดลอง กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มจะได้รับการเสนอภาพที่มีความซับซ้อนของสีต่างกัน คือ ภาพเขียนสีเหมือนจริง ภาพเขียนสีเดียว ภาพเขียนลายเส้นสีเหมือนจริง และภาพเขียนลายเส้นสีเดียว ภาพเขียนแต่ละแบบประกอบด้วยชุดตัวเร้า 30 ภาพ และชุดตัวลวง 15 ภาพ ส่วนอัตราเวลาในการเสนอภาพแต่ละแบบแบ่งเป็น 5 อัตรา คือ 1 วินาที/ภาพ 3วินาที/ภาพ 5วินาที/ภาพ 7วินาที/ ภาพ และ 9 วินาที/ภาพ การเสนอภาพมี 2 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 เสนอภาพชุดตัวเร้า 30 ภาพ ตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิมจะได้รับการเสนอภาพ 45 ภาพ ซึ่งประกอบด้วยภาพชุดตัวลวง 15 ภาพ ที่ถูกสุ่มตำแหน่งปะปนกับภาพชุดตัวเร้าเดิม 30 ภาพ และอัตรา เวลาในการเสนอเท่ากับอัตราเวลาเดิม ในการเสนอตอนที่ 2 ให้กลุ่มตัวอย่างประชากรแต่ละคนตอบว่าภาพใดเป็นภาพที่เคยดูแล้ว และภาพใดเป็นภาพที่ยังไม่เคยดูมาก่อนลงในกระดาษคำตอบที่แจกให้ ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยใช้วิธีของตูกี ผลการวิจัยพบว่า 1. ความซับซ้อนของสีในภาพเขียนทั้ง 4 แบบ มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ภาพ เขียนสีเหมือนจริงมีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุด และภาพเขียนสีเดียวมีผลต่อการจำได้ของนักเรียนต่ำสุด 2.อัตราเวลาในการเสนอที่ต่างกันมีผลต่อการจำได้ของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อัตราเวลาในการเสนอที่มีผลต่อการจำได้ ของนักเรียนต่ำสุดคือ 1 วินาที/ภาพ และอัตราเวลาในการเสนอที่มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุด คือ 7 วินาที/ภาพ 3. ความซับซ้อนของสีในภาพเขียนกับอัตราเวลาในการเสนอที่มีต่อการจำได้ของนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ 3.1 ภาพเขียนสีเหมือนจริง มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุด เมื่อเสนอด้วยอัตราเวลา 9 วินาที/ภาพ 3.2 ภาพเขียนสีเดียว มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุด เมื่อเสนอด้วยอัตราเวลา 7 วินาที/ ภาพ 3.3 ภาพเขียนลายเส้นสีเหมือนจริง มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุดเมื่อเสนอด้วยอัตราเวลา 5 วินาที/ภาพ 3.4 ภาพเขียนลายเส้นสีเดียว มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนสูงสุดเมื่อเสนอด้วยอัตราเวลา 3 วินาที/ภาพ
Other Abstract: The objective of this research was to study the interaction of complexity of color painting and rates of presentation in recognition of secondary school students. The subjects were lower secondary school students in the academic year of 1985. Three hundred students were simple ramdom sampling from the total of eight – hundred and fifty five students from Benchamarachuthit School, Amphoe Muang, Ratchaburi, and two – hundred students were simple random sampling from the total of five – hundred and fourty students from Khururajrangsarit School, Amphoe Chombung, Ratchaburi. The color blindness of the subjects were diagnosed by S. Ishihara Color Blindness Test. All subjects were randomly assigned into twenty – five experimental groups. Each group was presented a particular set of slides varied among all experimental groups with the color complexity and rates of presentation. The complexity of pictures were labelling as realistic color paintings, monochrome color paintings, realistic color drawings, and monochrome color drawings. The rates of presentation were given at 5 rates as the following : 1 second/ picture, 3 second/ picture, 5 second/ picture, 7 second/ picture and 9 second/ picture. Each set of slides were composed of 30 stimulus pictures and 15 distractors. In the testing stage, each subject was allowed to respond whether the picture has been seen or has not been seen in the stimulus stage. The obtained data were analyzed by means of two – way analysis of variances, and Tukey’s method was used for pairwise analysis. The findings indicated that 1.There were significant differences among the four levels of complexity of color painting upon student’s recognition at the .05 level of confidence. The realistic color paintings yeilded the highest score on the students’ recognition, while the monochrome color paintings yielded the lowest score on the students’ pictorial recognition. 2.There were significant differences at the .05 level of confidence among the rates of presentation upon the students’ pictorial recognition. The rate of presentation that yielded the lowest level of recognition was 1 second/ picture, and the rate that yielded the highest level of recognition was 9 second/ picture. 3.The interaction between the complexity of color painting and the rates of presentation on student’s recognition was found at the .05 level of confidence.3.1 The realistic color paintings were most effective on the students’ recognition when they were presented at 9 second/ picture. 3.2 The monochrome color paintings were most effective on the students’ recognition when they were presented at 7 second/ picture. 3.3 The realistic color drawings were most effective on the students’ recognition when they were presented at 5 second/ picture. 3.4 The monochrome color drawings were most effective on the students’ recognition when they were presented at 3 second/ picture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25891
ISBN: 9745667218
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwat_Ch_front.pdf440.43 kBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_ch1.pdf418.85 kBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_ch3.pdf344.27 kBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_ch4.pdf681.54 kBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_ch5.pdf432.03 kBAdobe PDFView/Open
Wiwat_Ch_back.pdf617.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.