Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25941
Title: การศึกษาเรื่องขวัญและความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน : เปรียบเทียบระหว่างพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัดกับพนักงานธนาคารออมสิน
Other Titles: Morale and job satisfaction of bank employees : a comparative study of the Bangkok Bank Ltd. and the Government Savings Bank
Authors: วิโรจน์ กุลสรรค์ศุภกิจ
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ต้องการทราบถึงระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัด ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ในภาคธุรกิจเอกชน เปรียบเทียบกับพนักงานธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลในทางส่งเสริมหรือกระทบกระเทือนให้ขวัญและความพึงพอใจในงานของพนักงานทั้งสองธนาคารอยู่ในระดับที่สูง หรือต่ำ อย่างไร ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นกรอบแห่งความคิด (Conceptual Framework) รวมทั้งได้ทำการวิจัยในภาคสนาม (Field Research) โดยอาศัยวิธีการสุ่มศึกษาแบบ Stratified Random Sampling ทั้งนี้โดยส่งแบบสอบถามไปยังพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัดและพนักงานธนาคารออมสิน เป็นจำนวน 436 ฉบับ และได้รับคืนมาเป็นจำนวน 410 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.04 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และตารางต่าง ๆ ประกอบการอธิบายสำหรับผลการวิจัยปรากฏว่า :- 1. ระดับขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัดและพนักงานธนาคารออมสิน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้โดยที่ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานทั้งสองธนาคารอยู่ในระดับปานกลางด้วยกัน 2. สำหรับพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัด ปัจจัยที่มีผลในทางส่งเสริมให้ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงและปานกลางค่อนข้างสูงได้แก่ ลักษณะงาน, ปริมาณงานตามที่ได้รับมอบหมาย, ความมั่นคงในการทำงาน, ผู้บังคับบัญชา และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนให้ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำได้แก่ ลักษณะการบริหารงาน หรือนโยบายของฝ่ายจัดการ, โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน, เพื่อนร่วมงานและเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ 3. ส่วนพนักงานธนาคารออมสิน ปัจจัยที่มีผลในทางส่งเสริมให้ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงและปานกลางค่อนข้างสูง ได้แก่ ลักษณะงาน, ปริมาณงานตามที่ได้รับมอบหมาย, ความมั่นคงในการทำงาน, ผู้บังคับบัญชา และเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนให้ขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้าต่ำ ได้แก่ ลักษณะการบริหารงาน หรือนโยบายของฝ่ายจัดการ, โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน, เพื่อนร่วมงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Other Abstract: The main objectives of this study are to compare the degree of morale and fob satisfaction of the employees of The Bangkok Bank Ltd., the private commercial bank, and The Government Savings Bank, with a view to find out causes which affect the employee’s morale and job satisfaction. In this study, the writer employs theories and concepts of morale and job satisfaction used as a conceptual framework for analysis. In this respect, field research was conducted by means of stratified random sampling, whereby 436 sets of questionnaires were distributed to the employees of both banks, to which 410 sets of questionnaires or 94.04 percent were returned. The statistical analysis of data used in this research is Arithmetic Mean, as employed by likert. The findings of this study may be summed up as follows: - 1.The morale and job satisfaction of employee of both banks is similar to each other, that is, the degree of satisfaction is “moderate”. 2.That for the employees of the Bangkok Bank Ltd. The factors which account for “high” and “moderate” levels are due to the following factors : type of work, quantity of work, employment security, supervisor and working environment. The factors indicating “moderate” and “low” levels of morale and job satisfaction lead to the factors of administration and policy, opportunity for advancement, staffing, salaries and fringe benefits.3.As for the employees of The Government Savings Bank, the factors which account for “high” and “moderate” levels are that of type of work, quantity of work, employment security, supervisor, salaries and fringe benefits. The factors showing “moderate” and “low” levels are due to the factors of administration and policy, opportunity for advancement, staffing and working environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25941
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Virojn_Ku_front.pdf579.51 kBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_ch2.pdf824.48 kBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_ch3.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_ch4.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_ch5.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Virojn_Ku_back.pdf988.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.