Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25981
Title: | แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสำหรับชุมชนปากคลองวัดประดู่ จังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | Conservation and development guidelines for wat pradu canal community, ratchaburi province |
Authors: | อริยะ ทรงประไพ |
Advisors: | ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Abstract: | การศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์เชิงพัฒนา กรณีศึกษาชุมชนปากคลองวัดประดู่จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ จะศึกษาถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์เชิงพัฒนา ตั้งแต่ในกระบวนการศึกษาลักษณะทางกายภาพโดยใช้ วิธีการสัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่ที่มีการใช้งานในอดีตและสภาพปัจจุบันตลอดจนการศึกษาสภาพปัญหาของพื้นที่ภายในชุมชน ซึ่งเป็นการกำหนดโดยคนภายในชุมชนเพื่อให้ได้แนวทางในการอนุรักษ์ในการศึกษาพื้นที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการสืบค้นคุณค่าของชุมชน พร้อมทั้งการสำรวจพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ และในกระบวนการกำหนดปัญหาด้วยคนในชุมชน ทำให้เจ้าใจถึงความต้องการและทัศนคติของคนในพื้นที่ ซึ่งจะมีส่วนในการวิเคราะห์ปัญหาที่จะส่งผลต่อพื้นที่ประวัติศาสตร์ และสรุปเป็นแนวทางการดำเนินการทั้งในส่วนพื้นที่สาธารณะสถาปัตยกรรมและการส่งเสริมคุณค่าด้านความหมายของชุมชนซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบแผนในการอนุรักษ์ การร่วมดำเนินการและการประเมินผล จะไม่ปรากฏในขั้นตอนของกระบวนการเพื่อประกอบการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนก็เป็นผลมาจากการเชื่อมโยง พื้นที่ด้วยโครงข่ายของการสัญจรทางน้ำ จะมีความสัมพันธ์กับที่ตั้งของชุมชนตลาดน้ำและชุมชนโบราณ แห่งอื่นเช่น ตลาดอัมพวา ตลาดบางนกแขวก ตลาดดำเนินสะดวก ในสวนของเรือนแถวไม้ริมน้ำซึ่งเป็นย่านการค้าในอดีต เป็นบริเวณที่มีชาวจีนแต้จิ๋ว ทำการค้าขายและอยู่อาศัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แสดงออกในด้านการวางแปลนของอาคารเรือนแถวไม้จะมีลักษณะร่วมกันของเรือนทุกหลัง คือ ห้องโถงหรือพื้นที่ ที่ตั้งแท่นบูชาบรรพบุรุษ(เกซิ่น) ที่หันหน้าออกสู่ด้านหน้าอาคาร และการใช้พื้นที่ร่วมกันของทางเดินส่วนกลางที่เป็นทั้งทางเดินสาธารณะและสถานที่พักผ่อนของคนในชุมชน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรือนแถวในพื้นที่ศึกษา โดยเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ด้วยการเชื่อมโยงพื้นที่ตลาดน้ำโบราณแห่งอื่นๆ ด้วยการท่องเที่ยวทางน้ำ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ลักษณะทางกายภาพของเรือนแถวริมน้ำ และการควบคุมการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา คือ การขาดองค์กรชุมชนสำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพทางวัฒนธรรมซึ่งควรประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาจากบุคคลหลากหลายอาชีพ ตัวแทนจากผู้มีความรู้และความเข้าใจวิถีชีวิตและกิจกรรมในอดีต ตัวแทนจากหน่วยงาท้องถิ่น ตัวแทนจากองค์กรชุมชนที่จัดตั้งโดยเทศบาลตำบลและตัวแทนจากสถานศึกษาในพื้นที่ โดยมีสถาปนิกหรือนักวิชาการที่มีความเข้าใจในการอนุรักษ์ด้านวัฒนธรรมของชุมชน เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการ |
Other Abstract: | This thesis aims at study the process of conservation and development with the participation of local people. The Pak Klong Wat Pradu community was chosen as case study initially interviews were conducted with site survey to outline the utilized area to compose past and present. Problem conductions were also studied within the chosen community. Results later led to setting guidelines for a conservation plan involving local people from the start. The acquisition of crucial information, i.e. Cutural heritage, Social values, and existing community problem were the result of interviews with local students and save insight into needs. The analysis of this needs directly affect the conservation plan which includes architectural history and promotion. The results show that the location of this community is a link of waterway transportation routes to other floating market communities, e.g. Ampawa Market, Bang Nok Kwag Market and Dum Nern Sa Duak Market. The old wooden shop house along the canal, a forms importance trading area are inhabited by Teochew merchants. These buildings share similar architectural features these include the location for ancestral shines (called Gaysin) which face the front of the building, the existence of common walkways that serve as the public zone for the community. The latter feature is unique to this community. This study suggest that there are several points to consider regarding the conservation plan of this area. Canal tour that includes this community with other floating market communities can be initiated to promote conservation of these old wooden house. Monitoring of changes in the composition of the community must also be carried out. The back of local participation to conserve and develop their community is from a lack of local cultural governance. This should encompass expertise from various sections, most importantly those with the insight into local lifestyle and wisdom. Community representatives municipal desman institutions in the area can all join architects and scholars to develop and initials a community conservation plan. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25981 |
ISBN: | 9745316199 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ariya_so_front.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_ch1.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_ch2.pdf | 12.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_ch3.pdf | 24.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_ch4.pdf | 6.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_ch5.pdf | 13.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ariya_so_back.pdf | 8.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.