Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26017
Title: การกำหนดต้นทุนการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงของการไฟฟ้านครหลวง
Other Titles: Determination of the production cost of pre-stressed concrete poles of The Metropolitan Electricity Authority
Authors: ดวงใจ พันธุ์เอี่ยม
Advisors: สนิท รัตนนาคินทร์
วีรวรรณ พูลพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งเป็นบริการสาธารณูปโภค ปัจจุบันถือได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของผลิตภัณฑ์เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงประเภทต่าง ๆ แต่มิได้ผลิตเพื่อขายเช่นเดียวกับผู้ผลิตเอกชน อย่างไรก็ตามในแง่ของผู้ผลิตแล้วย่อมจำเป็นที่การไฟฟ้านครหลวงจะต้องเลือกใช้วิธีการบัญชีต้นทุนที่เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะการผลิตและการประกอบการ อันจะทำให้สามารถทราบต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและเป็นธรรมะต่อผู้ใช้บริการไฟฟ้า และช่วยให้การประมวลข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตทำได้สะดวกรวดเร็วและเชื่อถือได้ เป้าหมายสำคัญของวิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะศึกษาเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าวิธีการบัญชีต้นทุนที่การไฟฟ้านครหลวงใช้กำหนดต้นทุนการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงตามที่ปฏิบัติอยู่สอดคล้องกับลักษณะการผลิตหรือไม่ สามารถให้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด จึงได้ศึกษารายละเอียดทั้งในด้านการผลิตและวิธีการบัญชีต้นทุนที่ใช้โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับการผลิตและการบัญชีต้นทุนจากการสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกตการณ์ปฏิบัติงานผลิต และข้อมูลทุติยภูมิจากคู่มือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และได้เสนอแนวทางการกำหนดต้นทุนการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงที่มีลักษณะการผลิตคล้ายคลึงกันของผู้ผลิตเอกชนบางรายเป็นการเพิ่มเติม เพื่อช่วยทำให้การวิเคราะห์กว้างขวางและให้ได้รับผลสรุปที่เป็นประโยชน์มากขึ้นต่อการไฟฟ้านครหลวงและผู้สนใจทั่วไป จากการศึกษาพบว่า การไฟฟ้านครหลวงได้คิดต้นทุนการผลิตโดยใช้วิธีการบัญชีต้นทุนโดยประมาณตามลักษณะการผลิตในระบบต้นทุนงาน ทั้งนี้เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดโดยพยายามแยกแสดงให้เห็นข้อดี ข้อบกพร่องของวิธีที่ปฏิบัติอยู่และความยุ่งยากที่อาจจะติดตามมา และได้แยกการวิเคราะห์เกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายโรงงานออกจากกันแล้ว ทำให้พบข้อบกพร่องทางบัญชีที่สำคัญบางประการในวิธีการบัญชีต้นทุนโดยประมาณของการไฟฟ้านครหลวง อาทิเกี่ยวกับการตีราคางานระหว่างทำคงเหลือเมื่อสิ้นงวดไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีต้นทุน และการไม่วิเคราะห์ผลต่างระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการผลิตกับต้นทุนที่ประมาณไว้ล่วงหน้า เมื่อได้ศึกษาถึงลักษณะการผลิตและกระบวนการผลิตแล้ว พบว่าการรวบรวมต้นทุนโดยใช้ระบบต้นทุนงานดังที่ปฏิบัติอยู่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการผลิต ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ จึงแสดงให้เห็นว่าสำหรับการไฟฟ้านครหลวงหากการประมวลต้นทุนการผลิตได้ใช้วิธีการบัญชีต้นทุนโดยประมาณตามหลักการที่ปฏิบัติอยู่เดิมโดยปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องที่ปรากฎและเลือกใช้ระบบต้นทุนตอนซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสมกับลักษณะการผลิตแล้ว จะช่วยทำให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลต้นทุนที่เหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่และจะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลสรุปจากวิทยานิพนธ์นี้จะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการกำหนดต้นทุนการผลิตตามวิธีการที่การไฟฟ้านครหลวงปฏิบัติอยู่ แต่ในแง่การศึกษาแล้วอาจเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างกันไปซึ่งหากเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกิจการแล้วจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลต้นทุนที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการควบคุมต้นทุนและต่อการตัดสินใจมากขึ้น
Other Abstract: The pre-stressed concrete poles are an important factor in the expansion of the electric power service, a public utility. The Metropolitan Electricity Authority (MEA) is at present a big producer of the products though not a business enterprise. However, as a manufacturer, it is necessary that an appropriate method of cost accounting should be used in order to determine a reasonable cost of production and to produce realiable information for management. In order to find out whether the MEA’s method of determination of production cost of pre-stressed concrete poles is suitable or not, which is the main purposes of this thesis, a study was made both in the production and in the cost accounting method aspects. Primary data concerned were gathered through inquiries, interviews and observations. Secondary data were obtained from the study of manuals and related documents. In addition to these, methods of determination of production cost of similar products by other business enterprise were also considered for comparisons. From the study, it reveals that the method of cost accounting used by MEA is the estimated job order cost accounting. However, after comparing the advantages and disadvantages between the job order and process cost accounting systems, the author is of an opinion that the latter would provide better information for management both in determining the cost of production and in cost control.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26017
ISBN: 9745627747
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangchai_Pa_front.pdf559.93 kBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch1.pdf437.62 kBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch2.pdf675.17 kBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch3.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch5.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_ch6.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Duangchai_Pa_back.pdf244.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.