Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26052
Title: | หน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตซึ่งมี "ที่" เป็นตัวนำส่วนเติมเต็มในภาษาไทย |
Other Titles: | Psych verb constructions with /THII/ as a complementizer in thai |
Authors: | อรวรรณ วังสมบัติ |
Advisors: | สุดา รังกุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตซึ่งมี “ที่” เป็น ตัวนำส่วนเติมเต็มในภาษาไทยใน 3 ประเด็น ได้แก่ คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้าง กริยาสภาวะจิต โครงสร้างเชื่อมต่อ และความสัมพันธ์ระหว่างมุขยประโยคและส่วนเติมเต็มที่เชื่อมด้วยตัวนำส่วนเติมเต็ม “ที่” ตามแนวการศึกษาของไวยากรณ์บทบาทอ้างอิง (Role and Reference Grammar) ผลการศึกษาพบว่า หน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตในภาษาไทยจะประกอบด้วย ประธานตามด้วยคำกริยาสภาวะจิต คำว่า “ที่” และส่วนเติมเต็ม เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติทางความหมาย เราสามารถแบ่งประเภทของคำกริยาสภาวะจิตซึ่งปรากฏในมุขยประโยคได้เป็น 2 ประเภท คือ คำกริยาแสดงความรู้แสดงความรู้สึกและคำกริยาแสดงการกระทำทางจิต คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ของส่วนเติมเต็มที่ปรากฏหลังคำกริยาแสดงความรู้สึกกับคำกริยาแสดง การกระทำทางจิตมีลักษณะต่างกัน กล่าวคือ ส่วนเติมเต็มที่ปรากฏหลังคำกริยาแสดงความรู้สึก จะประกอบด้วยส่วนของประโยคซึ่งมีหน่วยประธานและภาคแสดง โดยมีตัวนำส่วนเติมเต็ม “ที่” เป็นตัวเชื่อมระหว่างคำกริยาแสดงความรู้สึกกับส่วนเติมเต็ม สำหรับสำหรับส่วนเติมเต็มที่ปรากฏหลังคำกริยาแสดงการกระทำทางจิตนั้น จะประกอบด้วยส่วนของประโยคซึ่งมีช่องว่างและภาค แสดงและมีตัวนำส่วนเติมเต็ม “ที่” เป็นตัวเชื่อมระหว่างคำกริยาแสดงการกระทำทางจิตกับส่วน เติมเต็ม นอกจากนี้ยังพบว่า โครงสร้างเชื่อมต่อของหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตทั้ง 2 ประเภทเป็นการ เชื่อมต่อระดับอนุประโยค (clausal juncture) เหมือนกัน แต่ในหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตแสดง ความรู้สึกเป็นการเชื่อมอนุประโยคกับอนุประโยค (clause) ส่วนในหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตแสดงการกระทำทางจิตเป็นการเชื่อมอนุประโยคกับแกนร่วม (core) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมุขยประโยคกับส่วนเติมเต็มพบว่า เป็นความสัมพันธ์แบบเสริม (subordination) เหมือนกันในหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตทั้ง 2 ประเภท กล่าวสรุปได้ว่า ไวยากรณ์บทบาทอ้างอิงทำให้เห็นคุณสมบัติ ภายในของหน่วยสร้างกริยาสภาวะจิตในภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้น |
Other Abstract: | To study psych verb constructions with /thii/ as a complementizer in Thai in three respects, namely, the syntactic characteristics of psych verb constructions, their juncture type and their nexus type, based on Role and Reference Grammar. The study shows that psych verb constructions are composed of a subject followed by a psych verb, a complementizer /thii/ and a complement. In terms of semantic, we can divide psych verbs into emotive verbs and psych-action verbs, which are main verbs of the sentences. Syntactic characteristics of these two types of psych verb constructions are also different. Emotive verb constructions are composed of a subject followed by emotive verbs and a complement consisting of a subject and a predicate preceded by a complementizer /thii/ whereas constructions of psych-action verbs are composed of a subject followed by psych-action verbs and complement consisting of a gap and a predicate preceded by a complementizer /thii/. Moreover, it is found that both types of constructions are of the same juncture type, that is, clausal juncture. However, the construction of emotive verbs is made up of two clauses whereas the construction of psych-action verbs is made up of a clause and a core. Considering their nexus types, we have found that the relationship between main clause and its complement of both construction types is subordination. In conclusion, with the framework of Role and Reference Grammar, we can see the internal properties of psych verb constructions in Thai more clearly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26052 |
ISBN: | 9741745761 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Orawan_wa_front.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_ch1.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_ch2.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_ch3.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_ch4.pdf | 6.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_ch5.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Orawan_wa_back.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.