Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26081
Title: ผลกระทบของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ต่อการปกครองคณะสงฆ์ไทย
Other Titles: The impact of the Sangha Act of 1902 on the Thai sangha administration
Authors: นภนาท อนุพงศ์พัฒน์
Advisors: ฉลอง สุนทราวาณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อเกิดการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มุ่งพัฒนาประเทศแบบโลกตะวันตก มีการเปลี่ยนแปลงในระบบการบริหาราชการ อำนาจของส่วนกลางขยายไปสู่ภูมิภาค เพื่อผนวกพื้นที่ต่างๆ ที่เคยอยู่นอกอำนาจการปกครองของราชสำนักกรุงเทพฯ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มีการวางแผนจัดการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วพระราชอาณาจักร ตามประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง พ.ศ. ๒๔๔๑ โดยความรับผิดชอบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส การลงไปจัดการศึกษาในหัวเมือง ทำให้คณะสงฆ์ได้รับรู้แบบแผนธรรมเนียมของการศาสนาในท้องถิ่นที่แตกต่างจากธรรมเนียมแบบแผน และโลกทัศน์ทางศาสนาของราชสำนักและชนชั้นนำ นอกจากนี้การปกครองคณะสงฆ์ที่มีมาแต่อดีต ยังเป็นไปอย่างไม่เข้มงวด จึงมีการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบการปกครองแผ่นดินในระบบมณฑลเทศาภิบาล ด้วยการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ผลการศึกษาพบว่า โดยการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ทำให้คณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรอยู่ภายใต้แบบแผนการปกครองที่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ทำให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ รัฐบาลและคณะสงฆ์ส่วนกลางยังใช้อำนาจที่มีอยู่คอยจัดการให้แบบแผนธรรมเนียมในท้องถิ่น ถูกแทนที่ด้วยแบบแผนธรรมเนียมจากส่วนกลาง ทั้งด้วยการใช้กลไกในการปกครองและการศึกษา ทำให้พุทธศาสนาที่เคยหลากหลายในสังคมไทย เกิดความเป็นเอกภาพ ขณะเดียวกันก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์กับชาวบ้านแปรเปลี่ยนไปด้วย
Other Abstract: The Great Reform during the reign of Chulalongkorn, with the West as its model , was in effect the centralization of political and administrative power and all outlying areas, many for the first time, were put under the direct control of the court of Bangkok. In 1898, in order to strengthen its centralization effort, an edict was proclaimed to establish a centrally controlled education program in the provinces under the supervision of the Thai Sangha, then headed by Prince Vajirannavaroros.As a result of such provincial education supervision, it soon became obvious to the Prince and others at the court that local religious practices and customs differed in various ways from those of the court and the elite at the capital. A Sangha reform was called for, leading to the promulgation in 1902 of the first Sangha Act which created a Sangha administration closely following the Thesaphiban provincial administrative model. The research has found that not only was the Sangha and its administration throughout the realm unified after the promulgation of the Sangha Act of 1902, but the Sangha itself has indeed become part of the modern Thai state bureaucracy . Through the state administrative machines and centrally controlled education, local religious practices and customs were soon replaced by those favored by the court. More importantly, Buddhism, as a doctrine, which used to enjoy a greatdiversity was in effect unified, too, while the traditional relationship between the local Sangha and the villagers experienced a profound change.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26081
ISBN: 9741742762
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopphanat_an_front.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_ch1.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_ch2.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_ch3.pdf13.19 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_ch4.pdf33.37 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_ch5.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Nopphanat_an_back.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.