Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26119
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย |
Other Titles: | A study on factors affecting changes in commercial bank deposits in Thailand |
Authors: | สมทรง จิรพัฒนกุล |
Advisors: | กมเลศน์ สันติเวชชกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องอาศัยเงินทุน สถาบันการเงินเป็นตัวจักรสำคัญในการระดมเงินออมจากประชาชนและธุรกิจต่างๆ ทั่วประเทศ แล้วจัดสรรให้กู้ยืมไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคต่างๆ สถาบันการเงินที่มีบทบาทมากที่สุดในการระดมเงินออม คือ ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ คือ การรับฝากเงิน เนื่องจากเงินฝากเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์ และเปรียบเสมือนเงินทุนส่วนหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ และการพยากรณ์ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารประเทศ และผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือวางแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้กำหนดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขึ้นทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศทั้งสิ้น, ปริมาณเงินหมุนเวียน, อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก, จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และปริมาณเงินให้กู้ยืม โดยกำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระ และใช้เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแปรตาม โดยใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงระหว่าง พ.ศ.2507 ถึง พ.ศ.2526 เมื่อนำไปวิเคราะห์ตามทฤษฎีการถดถอยและสหสัมพันธ์อย่างง่ายผลปรากฏว่าตัวแปรอิสระทุกตัวต่างก็มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามแต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ตามทฤษฎีการถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อนมีตัวแปรอิสระที่ถูกเลือกเข้ามาในสมการถดถอยเพียงตัวเดียวคือ ปริมาณเงินให้กู้ยืม ซึ่งแสดงว่าปริมาณเงินให้กู้ยืมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าปริมาณเงินให้กู้ยืมเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาทปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 885,540.- บาท โดยมีระดับนัยสำคัญ 95% สำหรับการพยากรณ์ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ได้นำเทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติทั้งหมด 3 วิธีมาใช้ในการพยากรณ์ ผลเป็นดังนี้ 1. การพยากรณ์โดยใช้สมการถดถอยที่คำนวณได้ข้างต้นแทนค่าด้วยปริมาณเงินให้กู้ยืมที่เกิดขึ้นจริงของปี พ.ศ. 2527 ค่าที่ได้จากการพยากรณ์ผิดพลาดไปจากค่าที่เกิดขึ้นจริงประมาณ 7.83% 2. การพยากรณ์โดยวิธีบ๊อกซ์และเจนกินส์ จากข้อมูลของปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507-2526 เป็นรายไตรมาสซึ่งมีทั้งหมด 80 ค่าสังเกต ผลที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่เกิดขึ้นจริงของไตรมาสที่ 1 ถึง 4 ของปีพ.ศ. 2527 แตกต่างกันโดยเฉลี่ยประมาณ 1% 3. การพยากรณ์โดยวิธีอนุกรมเวลาแบบคลาสสิค จากข้อมูลรายไตรมาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 – 2526 ทั้งหมด 80 ค่าสังเกตุ ผลที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่เกิดขึ้นจริงของไตรมาสที่1 ถึง 4 ของปี พ.ศ. 2527 แตกต่างกันโดยเฉลี่ยประมาณ 41% จากผลของการใช้เทคนิคทางสถิติทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าวิธีการพยากรณ์แบบ Box & Jenkins เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะให้ผลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่ำสุดคือ ประมาณ 1% เท่านั้น ส่วนวิธีตามทฤษฎีการถดถอยและสหสัมพันธ์ให้ผลการพยากรณ์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงประมาณ 7.83% แต่ในวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น เราอาจนำทั้ง 2 วิธีมาใช้ร่วมกันโดยขั้นแรกจะศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อข้อมูลซึ่งเป็นตัวแปรตามจากวิธีการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ เมื่อได้สมการที่ต้องการแล้ว ถ้าจะนำสมการนั้นไปใช้ในการพยากรณ์ก็อาจหาค่าตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่มีอยู่ในสมการนั้นดดยใช้วิธี Box & Jenkins ในการพยากรณ์ค่าของตัวแปรอิสระแต่ละตัวเสียก่อน แล้วจึงนำค่าที่พยากรณ์ได้มาแทนค่าในสมาการถดถอย ก็จะทำให้ได้ค่าพยากรณ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้อย่างมีเหตุมีผลด้วย |
Other Abstract: | Capital funds are very important and essential to acountry’s economic development. Financial institutions act as mediators in mobilizing funds from individuals and various business organizations and are lenders to private sectors requiring funds for investment. In Thailand, commercial banks also play an important role in the mobilization of funds within the financial markets. The most significant role assumed by commercial banks is that of a depository. Deposits represent the most important sources of funds for commercial banks and are a part of the total capital funds required for the economic development of a country. At present, deposits of commercial banks in Thailand have been increasing at a rapid rate and appear to be on the rise. This thesis shall, therefore, focus on the study of factors that affect commercial bank deposits including the changes that occur as a result of these factors/variables. The analysis should be of much use to the Government or commercial banks in providing helpful data which could be used in formulating policies that are consistent with the setting up of efficient plans. There are five variables in the study of factors affecting levels of commercial bank deposits. These five factors include Gross Domestic Product, Money supply (Held by public), Interest rate, Number of branches of commercial banks in Thailand, and Loans or Advances; all of which are independent variables. The dependent variables in this study is deposits of commercial banks. Data that are used in this analysis have been collected during the period of 1964-1983. Using simple Regression and Correlation to analysis each independent variable. All variables are significantly related. When Stepwise Multiple Regression and Correlation are applied to the analysis of relationships among variables, the analysis reveals the fact that advances or loans represent the only factor that is significantly related. In conclusion, the variable which has been found to be a factor affecting commercial bank deposits is advances or loans. The relationship among the variables can be explained as follows : if there were a change of B 1,000,000.00 in advances, there would be a change of B 885,540.00 in deposits, with a confidence level of 95% In the forecast of commercial bank deposits, three forecasting methods are employed, the result of which are as follows : 1. Using regression equation in the forecast of commercial bank deposits yields an error 7.83% from 1984’s actual value. 2. Using Box & Jenkins method with eighty observations and data of commercial banks that have been collected during the period of 1964-1983 on a quarterly basis, yields a one-percent error, after a comparison of actual values for the fist through the fourth quarters of the year 1984. 3. Using Classical Time-Series method with data collected from the period of 1964-1983 and eighty observations, yields an error of 41% after comparing actual values for the first through the fourth quarters of the year 1984. The results of the three forcasting techniques reveal the fact that Bos & Jenkins is the best method, yielding a forecast error from the actual value of only 1%. Although the regression model yields a forecast error of 7.83%, the method is still helpful since it reveals casual relationships between commercial bank deposits and other factors. Thus, this study would be used to determine causal relationships between independent variables and dependent variables. The most significant independent variable would be included in the equation. Box & Jenkins would be used to forecast these independent variables. These forecasted variables would be substituted into the regression equation. Not only would a combination of these methods/steps produce a superior forecast but would also reveal causal relationships among variables. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26119 |
ISBN: | 9745663883 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsong_Ch_front.pdf | 581.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_ch1.pdf | 324.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_ch2.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_ch3.pdf | 952.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_ch4.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_ch5.pdf | 638.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsong_Ch_back.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.