Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26178
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอบย่อยระหว่างภาคทันที กับกลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอบหลังการสอบย่อยระยะหนึ่ง
Other Titles: A comparison of chemistry learning achievement of mathayom suksa four students between the groups receiving immediate feedback and delayed feedback after formative tests
Authors: ชื่นจิตร สังข์คงเมือง
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอบย่อยระหว่างภาคทันที กับกลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอบย่อยหลังจากสอบ 1 สัปดาห์ ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรมวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีนักเรียนจำนวน 43 คน เป็นกลุ่มทดลอง มีการเฉลยข้อสอบย่อยทันที อีกกลุ่มหนึ่งมีนักเรียนจำนวน 45 คน เป็นกลุ่มควบคุมมีการเฉลยข้อสอบย่อยหลังจากสอบ 1 สัปดาห์ ตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีประจำภาคต้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบย่อยจำนวน 7 ฉบับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.71-0.76 ความยากง่าย 0.2-0.8 และค่าอำนาจจำแนก 0.2-0.85 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 1 ฉบับซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.74 ความยากง่าย 0.2-0.8 และค่าอำนาจจำแนก 0.2-0.83 หลังจากนั้นได้ดำเนินการทดลองสอน ทดสอบย่อย และเฉลยข้อสอบกับตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา แล้วทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตด้วยค่าที (t-test) ข้อค้นพบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอบย่อยระหว่างภาคทันที ไม่สูงกว่ากลุ่มที่มีการเฉลยข้อสอยย่อยหลังจากสอบ 1 สัปดาห์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: The purpose of this experimaental research was to compare the chemistry learning achievement of mathayom suksa four students between the groups receiving immediate feedback and one week delayed feedback after formative tests. The subjects were two groups of mathayom suksa four science program students of Suankulab Wittayalai School. One group which contained 43 students was chosen as the experimental group received immediate feedback after formative tests and the other group which contained 45 students was chosen as the control group received delayed feedback after formative tests one week. The arithmetic mean of the first semester chemistry scores of both groups were not different at the .05 level of significance. The instruments used for collecting data were seven formative tests and achievement tast. The reliability of seven formative test were 0.71-0.76, it’s difficulty level were 0.2-0.8 and it’s discriminative level were 0.2-0.85. The reliability of the achievement test was 0.74, it’s difficulty level were 0.2-0.8 and it’s discriminative level were 0.2-0.83. After the two sampling groups were taught and given feedback after test was administered to the sample. The arithmetic man of the achievement scores of the two groups were compared by computing t-test. The Finding: The chemistry learning achievement of mathayom suksa four students of the receiving immediate feedback was not higher than the group receiving one week delayed feedback after formative tasts at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26178
ISBN: 9745676802
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuenchit_Su_front.pdf463.31 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_ch1.pdf376.96 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_ch2.pdf908.46 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_ch3.pdf476.11 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_ch4.pdf226.02 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_ch5.pdf360.21 kBAdobe PDFView/Open
Chuenchit_Su_back.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.