Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26191
Title: สภาพการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Status of buddhism subject management in the upper secondary education level
Authors: ชุติมา อ่อนละม้าย
Advisors: กรรณณิการ์ สัจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อสำรวจสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. เพื่อศึกษาแนวคิดและข้อเสนอแนะของผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. การวิจัยเอกสาร ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเรื่องสภาพการการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยวิธีการค้นคว้าจากตำรา บทความจากวารสารต่างๆ จดหมายเหตุ หลักสูตร แบบเรียนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอผลงานวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ 2. การวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารจำนวน 96 คน ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 94 คน นักเรียนจำนวน 379 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multisatge Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย การจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่การจัดการศึกษาของไทยยังไม่เป็นระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในลักษณะเป็นปกติวิสัยโดยมี “วัด” เป็นสถานที่จัดการศึกษาอบรม และเมื่อการศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนพระสงฆ์ก็ยังคงมีบทบาทอยู่บ้างแต่น้อยลง การเรียกชื่อวิชาพระพุทธศาสนาก็เรียกแตกต่างกันไปคือ วิชาธรรมจารี จรรยา หน้าที่พลเมืองศีลธรรม แต่ในหลักสูตร พ.ศ. 2480 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิชาสังคมศึกษา เนื่องจากแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา และในปัจจุบันเป็นวิชาพระพุทธศาสนาในที่สุด ถึงแม้จะเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละยุคแต่ละสมัยแต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออบรมให้เป็นพลเมืองดี และเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่เน้นเรื่อง ศีล ธรรม และการประพฤติ ปฏิบัติ ส่วนด้านการเรียนการสอนเน้นการอธิบายจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ด้านการวัดผลก็เน้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 1. สภาพปัจจุบันชองการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา มีดังต่อไปนี้คือ 1.1 ด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร ผู้บริหารและผู้สอนมีความเห็นว่าจุดประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน 1.2 ด้านเนื้อหาวิชา นักเรียน ผู้บริหารและผู้สอนมีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาเป็นประโยชน์มีส่วนส่งเสริมทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะในด้านศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 1.3 ด้านการเรียนการสอน นักเรียนมีความเห็นว่าผู้สอนมีวิธีการสอนและบุคลิกภาพที่ดีคือมีการใช้อุปกรณ์การสอนพอสมควร นำเหตุการณ์ปัจจุบันมาเสริมในบทเรียน มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ผู้สอนมีความรู้ดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน ผู้บริหารและผู้สอนมุ่งให้นักเรียนสามารถนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มีการวางแผนการสอน ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้รับความร่วมมือพอสมควรจากนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และการสอนสอนได้ทันหลักสูตร 1.4 ด้านการวัดผลประเมินผล นักเรียนมีความเห็นว่าผู้สอนวัดผลทั้งด้านความรู้และความจำ ผู้สอนได้ชี้แจงเรื่องราวการวัดผลก่อนทำการสอน ลักษณะข้อสอบมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ส่วนจุดมั่งหมายในการวัดผลของผู้บริหาร และผู้สอนคือ เพื่อเก็บคะแนนตามระเบียบการวัดผลของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นในก้านความคิด เหตุผล และความเข้าใจ 2. ปัญหาการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา มีดังต่อไปนี้คือ 2.1 นักเรียน มีความเห็นว่าการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาด้านเนื้อหาวิชา ด้านการเรียนการสอน ด้านการวัดผล เป็นปัญหาน้อย 2.2 ผู้บริหารและผู้สอน มีความเห็นว่าการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร ด้านเนื้อหาวิชา ด้านการวัดผลประเมินผล เป็นปัญหาน้อย ส่วนในด้านการเรียนการสอนที่เป็นปัญหามากคือ ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนามีคุณวุฒิไม่ตรงกับวิชาที่สอน
Other Abstract: Purposes: The purposes of this study were: 1. To study the development of Buddhism courses offered at the upper secondary education level. 2. To study the status and to survey the problems arising from these courses offered in Bangkok. 3. To look into opinions, suggestions and comments of the teachers, school administrators and students involved with the courses. Procedures: Both documentary and survey research were employed in this study. 1. Documentary research: The development of Buddhism courses was studied via books, journals, archives, curriculums, textbooks, and other related research works. The findings were, these presented in narrative analysis. 2. Survey Research: To obtain data concerning the status, problems arising from the courses, and opinions, suggestions and comments from those subjects involved, a set of questionnaires were constructed. The subjects of this study were selected by a multistage sampling method. The samples were 96 school administrators, 94 teachers teaching the courses, and 379 students. The data was processed to determine besic statistics, such as the percentage, the mean, and the standard deviation. Conclusion: Education on Buddhism has been provided since the early time when school system had not existed. The study of Buddhism was informal and done in the Wat. When the formal school system has already existed, it is taught in schools. This courses the decrease in the monks’ role. Buddhism courses were named differently as Thamajaree, Ethics, Civics and Ethics. The Study of Buddhism, according to the 1937 Curriculum was named the Social Studies courses because of the changes in thought and the rights to believe in religion. At present, the course is called Buddhism course. Although the course is named differently in difference period, the main purposes remain the same - to teach students to become good citizens and to maintain the security of Buddhism. The content of the course mainly concerns maral and ethics and ways of behaving. The teaching is done by evaluation deals with both theory and practice. The results of this study were as follows: 1. The present status of the Buddhism courses. 1.1 The objectives of teaching: The administrators and the teachers agreed that the objectives of teaching are in accord with the present society. 1.2 The course content: Both the administrators and the teachers agreed that the courses are of benefit and will encourage good attitudes, values and religious practices. Also, they indicated that the courses can be practically applied to every day life. 1.3 Teaching and learning: Students agreed that the teachers teaching the courses are component and use good methods of teaching. That also bring into the classrooms some current events which are related to the lessons. In addition, various extra-curricular activities have been provided. Also, students indicated that relationships between teachers and students are positive. Moreover, both administrators and teachers aim at helping students to be able to apply Lord Buddha’s teaching in their lives. All activities concerning religious practice are moderately participated in by students and other teachers. And lastly, the teachers can complete the courses as scheduled. 1.4 Measurement and evaluation: Student admitted that they were tested both in terms of what is learned and whats is memorized. The teachers usually stated criteria for course evaluation before teaching, and that both objective and subjective tests were used. The main purposes of the measurement was to give grades as required by the Ministry of Education, especially these items concerning thinking, reasoning and application. 2. The problems arising from the courses 2.1 Students agreed that there were just a few problems concerning the course content, the teaching, and the evaluation. 2.2 The administrators, and the teachers agreed that there were only a few problems concerning the courses evaluation. However, they admitted that there were a lot of problems concerning the teaching because most teachers teaching the Buddhism courses were trained in the fields other than Buddhism. Moreover, the teachers admitted students pay less attention to the courses because the credits assigned for the courses were at the minimum level and because the entrance examination for higher institutions does not require the knowledge learned from these courses.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26191
ISBN: 9745661732
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima_On_front.pdf692.95 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_ch1.pdf652.36 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_ch3.pdf499.95 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_ch4.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_ch5.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_On_back.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.