Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26219
Title: | บทบาทของกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรี |
Other Titles: | Ministry of Finance, the Budget Bureau and the National Economic and Social Development Board in the cabinet's program administration |
Authors: | สามารถ พ่วงเภตรา |
Advisors: | ชิดพงษ์ สยามเนตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การบริหารงานการเงินการคลัง การงบประมาณ และการวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปีพุทธศักราช 2502 เมื่อได้แยกงานงบประมาณออกมาจากประทรวงการคลัง แล้วยกฐานะขึ้นเป็นกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมกับได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นกัน โดยให้มีหน้าที่สำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงการจัดส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง จนในปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีฐานะเป็นกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง 18 หน่วยงาน หน่วยงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายช่วยอำนวยการ (Staff) ของคณะรัฐมนตรี และมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านคอยให้การปรึกษาหารือ การเสนอแนะ การเสนอข้อมูลข่าวสาร แก่ คณะรัฐมนตรีในเรื่องที่ตนรับผิดชอบ ในด้านการบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีนั้น นับตั้งแต่ได้จัดตั้งสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว งบประมาณแผ่นดินก็ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ “งบพัฒนา”และ”งบไม่พัฒนา” หรือ”งบบริหารทั่วไป” งบพัฒนาอันได้แก่ งบประมาณที่จัดทำเป็นโครงการและแผนงานต่าง ๆ ในขั้นการขออนุมัติในหลักการและงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีนั้น จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งร่วมมือประสานงานกันในรูปของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี และนโยบายเศรษฐกิจการคลัง หน่วยงานทั้งสามได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือคณะรัฐมนตรีบริหารงบพัฒนา (บริหารโครงการ) เรื่อยมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยได้ผ่านการพัฒนาตามแผนพัฒนา ฯ ถึง 3 แผน และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาตามแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520 – 2524) ผลการพัฒนาที่ผ่านาปรากฏว่า ในช่วงเวลาของแผนพัฒนา ฉบับที่ 1 และตอนต้นของแผนพัฒนาฉบับที่ 2 การพัฒนาปรากฏผลเป็นที่น่าพอใน และสำเร็จตามแผนฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่ในระยะตอนปลายของแผนพัฒนา ฉบับที่ 2 และในระยะแผนพัฒนา ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา การพัฒนามีแนวโน้มประสบผลสำเร็จน้อยลง ทั้งนี้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัญหาทั้งจากภายในประเทศ (อันได้แก่ ปัญหาเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ และความวุ่นวายภายในประเทศ) และภายนอกประเทศ (อันได้แก่ ภาวะชงักงันทางเศรษฐกิจทั่วโลก) ในการศึกษาบทบาทของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเพื่อให้ทราบว่า การบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีตามแผนพัฒนาฯ นั้น นอกจากจะมีปัญหาที่เป็นผลมาจากสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศดังกล่าวแล้ว การปฏิบัติงานของทั้ง 3 หน่วยงาน จะส่งผลกระทบต่อการบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีเพียงใด มีการประสานงานกันเพียงไร อะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้น การบริหารงานดังกล่าวมีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง และสมควรที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร จากการศึกษาวิจัยพบว่า หน่วยงานทั้งสามมีบทบาทอย่างมากในการบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นฝ่ายช่วยคณะรัฐมนตรีกลั่นกรองโครงการตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการมาเพื่อขออนุมัติหลักการ และงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี เรื่อยไปจนถึงการควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติโครงการต่าง ๆ การปฏิบัติงานของทั้งสามหน่วยงานมีการประสานสัมพันธ์กันในระดับที่ดีพอควร แต่ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่นปัญหาในด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีการปฏิบัติงาน การประสานงาน และปัญหาที่สำคัญก็คือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมให้เกิดปัญหาในด้านอื่น ๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับความสนใจและมีการปรับปรุงแก้ไขให้การบริหารโครงการของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลสามารถดำเนินไปโดยราบรื่นและพัฒนาขึ้นโดยลำดับ. |
Other Abstract: | The Thai financial, budgetary administration and the national economic and social development had been greatly reformed in 1959 since the separation of the budgetary sector from the Ministry of Finance and become to be the Budget Bureau in the office of the Prime Minister (at the same time of establishing the National Economic and Social Development Board in the Office of the Prime Minister). After that time, the office of the Prime Minister has been reorganized for several time, just now, there are about 18 department in the office of the Prime Minister. These departments’ duty concentrate mostly on the “Staff” of the Cabinet and they have significant role as the expert who give advice, information etc. for the cabinet. About the cabinet’s program administration, since the rise of the Budget Bureau and the National Economic And Social Development Board in the office of the Prime Minister, the budget of the government has been divided into 2 parts, first, “Development Budget,” and the other “Non-Development Budget”. The development budget, at the process of approving by the cabinet, must be first considered by the Ministry of Finance, the Budget Bureau and the National Economic And Social Development Board who coordinate together in the form of national economic and social planning, the budget allocation and the financial policy-making. These three departments have significant role in the cabinet program administration nearly 20 years, through the three National Economic And Social Development Plans, and now in the period of the fourth National Economic And Social Development Plan (1977-1981). The development in the first NEDP. And at the beginning of the second NEDP was mostly successful, but after the final period of the second NEDP, the trend of development always get down because of the problems in country (about the climate and political change) and from aboard (the world economic depression). This research, the role of the Ministry of Finance, the Budget Bureau and the National Economic And Social Development Board in the Cabinet’s program administration, has objective to study about the role of the three staffs in helping the cabinet to solve those problem, about the problem in program administration and about the way or method to solve those problem. From the research, it indicates that these three staffs have significant role in the cabinet program administration as being the conscious units which consider programs just from the beginning process, selection, negotiation and approval etc. to the program evaluation. From the past to present, these three staffs have well coordinated in this work, but there are still many problem such as the problem about the structure of organization, about the coordination and the serious problem; the political change which is the cause of the other problems. These problems must be solved quickly in order to improve the government’s administration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26219 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samart_Pu_ch1.pdf | 480.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_ch2.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_ch3.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_ch4.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_ch5.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_ch6.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_Pu_back.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.