Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26220
Title: ปัญหาการเขียนตัวสะกดการันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ในจังหวัดภาคใต้
Other Titles: Problems in writing Thai words of mathayom suksa three students in the southern provinces
Authors: สามารถ ศักดิ์เจริญ
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาการเขียน สะกดคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภาคใต้ ประการแรกเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำซึ่งมีความสับสนในเรื่องเสียงของคำภาษากลางกับภาษาถิ่นใต้ กล่าวคือ สำเนียงของคำบางคำในภาษากลางไปพ้องกับเสียงของคำอื่นในภาษาถิ่นภาคใต้ ประการที่สองเป็นการศึกษาความสามารถในการเขียนคำยากโดยทั่วไป พร้อมทั้งศึกษาหาเหตุผลต่าง ๆ ที่นักเรียนในระดับชั้นนี้ใช้ในการเลือกเขียนคำต่างๆ โดยใช้ตัวอย่างประชากร 400 คน จากโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฎร์ ชาย – หญิง รวม 10 โรงเรียน ใน 5 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี พัทลุง และชุมพร วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนเลือกคำซึ่งสำเนียงภาษากลางไปพ้องกับเสียงของคำอื่น ๆ ในภาษาถิ่นภาคใต้ได้ 20 คู่ นำไปใช้เป็นแบบทดสอบเขียนตามคำบอกสำหรับตัวอย่างประชากร ส่วนการศึกษาความสามารถในการเขียนสะกดคำนั้น ผู้เขียนได้รวบรวมคำที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มักสะกดผิด นำมาแบ่งเป็นหมู่ตามลักษณะของการสะกดผิดเลือกสุ่มเอา 240 คำ นำไปทดสอบทดลองเพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของคำ แล้วคัดเลือกคำที่เหมาะสมจำนวน 150 คำนำไปสร้างแบบทดสอบแบบเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก พร้อมด้วยข้อทดสอบภาคเหตุผล เพื่อศึกษาว่านักเรียนใช้เหตุผลใดในการเลือกเขียนคำมากน้อยเพียงไร ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดภาคใต้ ไม่มีปัญหาในการสะกดคำชนิดที่เสียงในภาษากลางไปพ้องกับเสียงของคำที่มีความหมายอื่นในภาษาถิ่นใต้แต่ประการใด นักเรียนสามารถแยกเสียงและความหมายของคำได้ดี เขียนสะกดคู่คำเหล่านั้นได้ถูกต้องคิดเฉลี่ยได้ถึงร้อยละ 99 ส่วนความสามารถในการเขียนสะกดคำโดยทั่ว ๆ ไป อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ คิดเฉลี่ยแล้วได้ร้อยละ 59 ของคะแนนเต็ม นักเรียนที่เรียนเก่งมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่างกับนักเรียนเรียนอ่อนมาก ลักษณะการเขียนของนักเรียนเรียงตามลำดับร้อยละของการเขียนผิดจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ผิดที่เสียงสระสั้นยาว ผิดการใช้วรรณยุกต์ ผิดการใช้ ร ล และคำควบกล้ำ ผิดการใช้ ร ร ผิดที่พยัญชนะต้น ผิดที่ตัวสะกด ผิดทั้งคำ ผิดการประวิสรรชนีย์ ผิดที่ตัดและเติมตัวอักษร ผิดตัวการันต์ และผิดการใช้ ไ- ใ- [อัย] ส่วนการเลือกใช้เหตุผล ในการเขียนคำที่นักเรียนคิดว่าถูกต้องนั้น นักเรียนเลือกเหตุผลต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้ - เขียนตามแบบที่เคยเห็น ร้อยละ 34.05 - เขียนตามหลักภาษาหรือพจนานุกรม ร้อยละ 19.36 - เขียนตามความหมายของคำ ร้อยละ 18.53 - เขียนเทียบกับคำที่คุ้นเคย ร้อยละ 15.10 - เขียนตามเสียงพูดหรือเสียงอ่าน ร้อยละ 9.19 - เขียนด้วยการเดา ร้อยละ 2.63
Other Abstract: The purpose of this research was to study the problems Mathayom Suksa three students in the southern provinces have in writing Thai words. The first problem concerned the spelling of sounds with similar pronunciations, but different meanings, in certain central Thai words and southern Thai words. The second problem was to study the students’ spelling ability, and to discover the reasons why the students decided to write in the types they chose. The sample consisted of 400 Mathayom Suksa three students from 5 government and 5 private schools in Nakornsrithammarat, Songkhla, Suratthani, Patthalung and Chumporn Provinces. Procedures: - Twenty pairs of central Thai words and Southern Thai words with similar pronunciations, but different meanings were selected as a sample for a test which was dictated. The test of spelling ability was constructed from a list of difficult words drawn from those in which the students always make mistakes in writhing. These words were classified into 11 groups of misspelled types. The 240 random words were selected to form a pretest. On the basis of pretest, the 150 words which had the most suitable difficulty and the best discriminatory were chosen to construct the multiple choice test. The students had to indicate the reason for the choice of their response in the multiple choice test by selecting from one of six reasons simultaneously. The finding showed that the student had no difficulty in writing the pairs of central Thai Worde and southern Thai words. Ninety-nine percent of the students made no errors. The average spelling ability was 59 percent. The types of spelling errors from high to low in percentage were: short-long vowel sounds; the uses of the Wannayuk (วรรณยุกต์): the uses of ร. ล And consonant clusters with ร .ล; the uses of ร ร; initial consonants: final consonants: complete words; the uses of the ะ vowel; addition or deletion of consonants; the uses of Tuakarun (ตัวการันต์); and the uses of ไ- ใ- [อัย] The percentage for the reasons they gave in choosing the words they thought were correct was - 34.05 % from their experiences. - 19.36% use of principles of spelling or recall form dictionary. - 18.53% use of the meaning of the words. - 15.10% with other familiar words. - 9.19% Listening to the sound. - 2.63% Guessing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26220
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samart_Sa_front.pdf434.7 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_ch1.pdf543.58 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_ch2.pdf548.8 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_ch3.pdf741.47 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_ch4.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_ch5.pdf661.21 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Sa_back.pdf689.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.