Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26237
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ ระหว่างกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์ กับกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกหน่วยการเรียน
Other Titles: A comparison of chemistry learning achievement of mathayom suksa four students between the weekly test group and the unit test group
Authors: สันติ ศรีประเสริฐ
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ ระหว่างกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์กับกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกหน่วยการเรียน ผู้วิจัยได้ทดลองสอนนักเรียนจำนวน 2 ห้อง ๆ ละ 40 คน โดยให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจะได้รับการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์โดยทำการทดสอบทุกวันจันทร์หลังจากสิ้นสุดการเรียนในแต่ละสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ใน 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะรับการทดสอบย่อยเมื่อจบหน่วยการเรียนซึ่งมีจำนวน 2 ครั้ง ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ คะแนนทดสอบก่อนเรียน เนื้อหาวิชา ผู้เรียน วิธีสอน เวลาในการสอน ได้รับการควบคุมให้เท่าเทียมกันทั้งสองกลุ่ม เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้วให้นักเรียนทั้งสอบกลุ่มทำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ 0.75 แล้วนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบ วิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนและทดสอบค่าที พบว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตของกลุ่มทดลองไม่สูงกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิตของกลุ่มควบคุมที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purpose of the research was to compare the chemistry learning achievement of mathayom suksa four students between the weekly test group and the unit test group. Two classes of students, 40 students in each class were formed as the experimental group and the controlled group. At the end of each week, the experimental group was assigned to take the test while the controlled group had to take the test after each lesson. After accomplishing the entire lesson, the students had an achievement test which the reliability was 0.75. Then the scored of both groups were analyzed by using F-test and t-test. The result of this research was that the chemistry learning achievement of the experimental group was not higher than the controlled group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26237
ISBN: 9745625191
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_Sr_front.pdf426.23 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_ch1.pdf367.12 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_ch2.pdf579.78 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_ch3.pdf384.34 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_ch4.pdf275.11 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_ch5.pdf323.64 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Sr_back.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.