Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26238
Title: การควบคุมคุณภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Other Titles: Quality control for reduction of production cost in ready-made garment industry
Authors: สันติ วิลาสศักดานนท์
Advisors: อรพินธุ์ ชาติอัปสร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศไทยได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานี้ โดยเฉพาะด้านการส่งออกอันเป็นผลให้ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศได้ ทั้งยังช่วยลดปัญหาคนว่างงานและช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานไทย และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วย ดังนั้นอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ทั้งในด้านการส่งเสริมการลงทุน การชดเชยภาษี การจัดสรรโควตาส่งออก เป็นต้น เมื่อนับจำนวนโรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามขนาดแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนโรงงานขนาดใหญ่จำนวนน้อย ในโรงงานขนาดใหญ่ การควบคุมคุณภาพการผลชิตมักจะกระทำเป็นระบบอยู่แล้ว ส่วนโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กกระบวนการควบคุมคุณภาพยังไม่เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเงินและการขาดพนักงานที่มีความสามารถสูง เพราะการจ้างพนักงานที่มีความสามารถสูงไม่ว่าในด้านการควบคุมคุณภาพหรือด้านอื่น ๆ ย่อมทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนสูงด้วย การเสนอระบบการควบคุมคุณภาพในวิทยานิพนธ์ได้ใช้โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปขนาดกลางมาเป็นตัวอย่าง และได้เสนอวิธีการควบคุมคุณภาพการผลิตโดยการใช้ “ระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control System)” พร้อมทั้งแนวทางการรายงานผลการควบคุม โดยการใช้รายงานชนิดต่าง ๆ สำหรับกรรมวิธีการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามที่ได้แสดงไว้ในบทที่ 3 ซึ่งเป็นการแสดงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนการควบคุมคุณภาพการผลิตในบทที่ 4 จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการควบคุมคุณภาพซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การควบคุมคุณภาพก่อนการผลิต การควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิต และการควบคุมคุณภาพหลังการผลิต ซึ่งในแต่ละส่วนต่างก็มีรายละเอียดแสดงอยู่ในส่วนนั้น ๆ แล้ว สำหรับปัญหาหลักที่ประสบในการนำระบบการควบคุมคุณภาพไปใช้คือ การขาดความร่วมมือ การไม่ยอมรับและการไม่ปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ระหว่างฝ่ายผู้ปฏิบัติงานและฝ่ายควบคุมคุณภาพ ซึ่งฝ่ายผู้ปฏิบัติงานประจำมักจะคิดเสมอว่าฝ่ายควบคุมคุณภาพมาจับผิดการปฏิบัติงานของตนเอง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ฝ่ายบริหารของโรงงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันโดยการอบรมทำความเข้าใจกับฝ่ายต่าง ๆ ก่อนนำเอาระบบการควบคุมคุณภาพไปใช้ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีปัญหาคุณภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ มาตรฐานของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปบางครั้งทำให้ข้อกำหนดมาตรฐานไม่ชัดเจนพอ ซึ่งทำให้ยากแก่การตัดสินใจของหน่วยงานควบคุมคุณภาพ ตลอดจนปัญหาการขาดการรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่ตรวจพบในการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวแหล่านี้จำเป็นที่ฝ่ายบริหารจะต้องหาทางปรับปรุงแก้ไขโดยการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนกับโรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบ จัดทำคู่มือมาตรฐานการผลิตและคู่มือปฏิบัติงานแก่หัวหน้างานที่รับผิดชอบและมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ไว้ ตลอดจนเก็บตัวอย่างของข้อบกพร่องไว้ด้วย ระบบการความคุมคุณภาพการผลิตที่เสนอนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับโรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าชนิดเดียวกันหรือนำไปประยุกต์ใช้กับโรงงานที่ระบบการผลิตคล้ายคลึงกัน ซึ่งทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่ได้วางไว้และสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศอันจะทำให้ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศในที่สุด
Other Abstract: Ready-made garment industry in Thailand has been growing so rapidly in this recent period especially on the export volume which helps reducing trade balance deficit, unemployment problem for the country, developing workmanship for Thai workers and creating continuous industry. It is, therefore, one of several industries that Thai government gives promotion privileges on investment promotion, tax refund credit, quotas allocation, etc. Considering the size of ready-made garment factories. One finds that most of the factories are medium and small size and only a few are in large size. In the large factory. The quality control system has already been used but in the medium and small size factory the quality control system is not widely used. This is due to financial restriction and lack of capable employees since the employment of a capable worker for quality control section or others will cost high expense for the company. The presentation of the quality control system in this thesis is based on a medium size ready-made garment factory. Chapter 3 of the thesis relates the various processes of production while the quality control system is presented in Chapter 4, divided into 3 main parts of pre-production quality control, in-process quality control and finished goods quality control. Main problems encountered in quality control is the lack of cooperation between workers and quality control section. Workers always think that quality control section try to find fault on the work. It is therefore a management’s task to solve this problem by trying to get a better understanding among workers on quality control issue which could be done by giving a seminar for all sections before bringing quality control system to use. Besides, there is also problem on quality of raw materials, standardization of the product which keeps changing and causes uncertain standard for the product and difficulty for the quality control section in considering whether the quality of the product is up to standard or not. A record of data concerning errors in production should also be kept for future reference. These are problems that management hat to solve by making a clear contract with suppliers of raw materials issuing a handbook on the standard of production and a handbook on routine work for chief of each section as well as keeping a record of errors in production and their solutions for future reference. The Quality Control System as presented in this thesis can be used in other ready-made garment factory or can be applied to other factory with similar production system. The system offered will help controlling the quality and cost of production to be standardized which can compete well in foreign market and help reduce the trade balance deficit for the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26238
ISBN: 9745665991
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_Vi_front.pdf485.88 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_ch1.pdf309.7 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_ch2.pdf838.97 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_ch4.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_ch5.pdf465.76 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Vi_back.pdf593.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.