Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26241
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรระหว่างกลุ่ม ที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยทบวงมหาวิทยาลัย และโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร |
Other Titles: | A comparision of learning achievement of Silpakorn University students selected by the Ministry of University Affairs and by Silpakorn University entrance examination |
Authors: | สาธิต จันทรวินิจ |
Advisors: | ประคอง กรรณสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษาด้วยวิธีต่างกัน คือ ประเภทที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกเอง (โควตาพิเศษ) จากนักเรียนในภูมิภาคตะวันตก และประเภทสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสอบจากนักเรียนทั้งประเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2522 ถึงปีการศึกษา 2526 รวม 5 คณะ คือ คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 874 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามประเภทที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษา คือ กลุ่มที่มหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการสอบคัดเลือกเอง และกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจากการสอบคัดเลือกร่วมโดยทบวงหมาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสอบ ได้นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มมีจำนวน 437 คนเท่ากัน และนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคัวแปรต่าง ๆ คล้ายคลึงกันมากที่สุดเป็นคู่ ๆ โดยการพิจารณาคัดเลือกตัวอย่างประชากรที่เป็นนักศึกษาประเภทสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัยให้มีลักษณะตัวแปรเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว และสถานภาพทางครอบครัว คือ เพศ อายุ สายวิชาที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษาที่เข้าศึกษา คณะวิชาที่เข้าศึกษา ภูมิลำเนา และอาชีพของบิดา(มารดา) คล้ายคลึงกับตัวอย่างประชากรประเภทที่หาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกเองมากที่สุด การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะตัวแปรต่าง ๆ ให้เข้าคู่กันดังกล่าว เป็นการควบคุมตัวแปรเกินที่อาจมีผลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไว้แล้ว แต่ยังคงความแตกต่างของวิธีการรับเข้าศึกษาของตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มไว้ ข้อมูลที่ใช้แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมในชั้นปีที่ 1 และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการทดสอบค่าที (t–test) แบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาประเภทที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกเอง (โควตาพิเศษ) คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2523 แบะปีการศึกษา 2524 คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 คณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2522 ถึงปีการศึกษา 2526 แต่ละคณะต่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาชั้นปีเดียวกัน ประเภทที่ผ่านการสอบคัดเลือกร่วมโดยทบวงมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาทั้งสองประเภท นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่ละคณะต่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the learning achievement of Silpakorn University students who have been selected by different methods. Those of the first group who were all from the western region which selected by Silpakorn University entrance examination (quota group) and the another group who were selected by the Ministry of University Affairs from students through out the kingdom. The samples were the freshmen students of Silpakorn University whose entering academic year 1979 – 1983 from 5 faculties; Archaeology Decorative Arts, Arts, Education and Science. Total samples were 874 students and there have 437 students for each groups who have been selected by different methods. The students who were admitted into Silpakorn University which selected by the Ministry or University Affairs had some identical characteristics, i.e. sex, age, finishing department of M.S.5, academic year of entering, faculty of the study, residence and parent’s occupation same as the students who were selected by Silpakorn University entrance examination. Samples therefore have been picked in pairs and have been made to minimize differences. But there were leaving the main difference namely their ways of entering the university to be more obvious for the purpose of this study. The learning achievement scores was the grade point average of the first year. The data were analyzed by t-test for independent groups. The findings of this research were that students which selected by Silpakorn University entrance examination (guota group) have learning achievement more than students who selected by the Ministry of University Affairs in the faculty of Education in academic year 1980 and 1981 faculty of education and faculty of Science in academic year 1983 and since 1979-1983 were significant differences. The others were not significant different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26241 |
ISBN: | 9745667471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathid_Ja_front.pdf | 440.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_ch1.pdf | 481.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_ch2.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_ch3.pdf | 353.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_ch4.pdf | 598.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_ch5.pdf | 515.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ja_back.pdf | 561.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.