Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26243
Title: | การศึกษาเพื่อเสนอแนะระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ของเมืองหาดใหญ่และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง |
Other Titles: | A proposal study for the public transportation system in Hat Yai and the related areas |
Authors: | สาทิศ โพธิกนิษฐ |
Advisors: | ยอดพล ธนาบริบูรณ์ ขวัญสรวง อติโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวางแผนเกี่ยวกับระบบคมนาคมขนส่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางผังเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบในการวางแผน 3 ประการ ได้แก่ ประชาชน ระบบโครงข่ายคมนาคม และพาหนะ สำหรับประชาชน ถือได้ว่ามีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นผู้ใช้และเกี่ยวข้องกับระบบคมนาคมโดยตรง ส่วนอีกสององค์ประกอบ คือ ระบบโครงข่ายคมนาคม และพาหนะ เป็นสิ่งส่งเสริมและอำนวยให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางติดต่อของประชาชนระหว่างพื้นที่ การศึกษาระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะของเมืองหาดใหญ่และพื้นที่เกี่ยวเนื่องในที่นี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเดินทาง ทั้งสาม โดยมีขอบข่ายของเนื้อหา และ ผลสรุปการวิเคราะห์ คือ ก. การศึกษาเกี่ยวกับระบบโครงข่ายคมนาคม เป็นการศึกษาระบบถนนภายใน เขตเทศบาล เมืองหาดใหญ่ และระบบทางหลวงระหว่างเมือง 1. ระบบถนนภายใน เขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากการถือว่าค่าปริมาณการจราจรต่อความจุของถนนสายใดที่เกินกว่า 0.50 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าถนนสายนั้นมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ยวดยานต่ำ ในเมืองหาดใหญ่มีลักษณะถนนดังกล่าว 8 สาย ได้แก่ ถ.ศรีภูวนารถ ถ.นิพัทธ์อุทิศ1 ถ.รัถการ ถ.นิพัทธ์อุทิศ3 ถ.ธรรมนูญวิถี ถ.แสงศรี ถ.ประชาธิปัตย์ และ ถ.นิพัทธ์อุทิศ2 และแนวทางในการแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของถนน เหล่านี้ สามารถทำได้โดยการ “ห้ามจอดรถ” ทั้งสองข้างถนน ในเวลาเร่งด่วน เพื่อเพิ่มผิวการจราจรให้แก่ถนน นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การจัดสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น การสร้างสะพานลอยข้ามถนน เป็นต้น การใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุม เช่น การกำหนดเส้นทางเดินรถ เป็นต้น และประการสุดท้าย ได้แก่ การตัดหรือขยายถนนขึ้นใหม่ ในกรณีที่ขยายไหล่ทางได้ หรือเป็นบริเวณที่มีลักษณะการใช้ที่ดินเบาบาง 2. ระบบทางหลวงระหว่างเมือง จากการศึกษาข้อมูลปริมาณการจราจรบนทางหลวงที่เชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับพื้นที่รอบนอก ของปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2524 พบว่า ถ.กาญจนวนิช ช่วง หาดใหญ่-สงขลา และถนนเพชรเกษม ช่วง หาดใหญ่-สะเดา เป็นสองเส้นทางที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการจราจรในทางเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากอิทธิพลที่มีต่อการเดินทางของประชาชนระหว่างพื้นที่สำคัญ 4 แห่ง คือ เทศบาลเมืองสงขลา เทศบาลเมืองหาดใหญ่ สุขาภิบาลตำบลพังลา และเทศบาลตำบลสะเดา ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง คือ ถ.เพชรเกษม ช่วง หาดใหญ่-รัตภูมิ-ปากพยูน มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการจราจรในทางลดลง ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากสภาพทางเศรษฐกิจ และปัญหาโจรผู้ร้าย สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทางหลวงสายอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเมืองหาดใหญ่ ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 4086 ช่วง อ.จะนะ-อ.เทพา-บ.หนองจิก กับทางหลวงหมายเลข 42 ช่วง บ.คลองแงะ-อ.นาทวี-บ.นาเก็ต โดยมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ตรงกันข้ามกัน คือ เส้นทางแรก มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้น ในขณะที่เส้นทางหลัง มีปริมาณการจราจรลดลง เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้คาดว่าเป็นเพราะอิทธิพลของทางหลวงหมายเลข 43 ซึ่งตัดขึ้นใหม่ ไปเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 4086 เป็นการช่วยย่นระยะทางในการเดินทางไปทางด้านจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเดินทางของประชาชน จาการศึกษาด้าน O&D Survey ของประชาชนที่มีการเดินทางระหว่าง เมืองหาดใหญ่กับพื้นที่รอบนอก ข. การศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางของประชาชน 1. จุดต้นทางและจุดหมายการเดินทางของประชาชน (O&D Survey) 1.1 การเดินทางภายในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ได้ศึกษาและแบ่งพื้นที่ในเขตเทศบาลออกเป็น 12 เขต (Zones) ปรากฏว่าพื้นที่เขตที่ 1 ซึ่งเป็นบริเวณย่านการค้าและพาณิชยกรรมของเมือง มีความสำคัญต่อการเดินทางของประชาชนสูงสุด โดยมีพื้นที่ เขตที่ 5 เขตที่ 8 เขตที่ 10 และเขตที่ 11 เป็นเขตอิทธิพลในการเดินทางติดต่อกับเขตที่ 1 1.2 การเดินทางระหว่างเมืองหาดใหญ่กับพื้นที่รอบนอก ผลการศึกษาแสดงว่า มีชุมชนภายนอก 8 บริเวณที่มีความสำคัญต่อการเดินทางติดต่อกับเมืองหาดใหญ่ ได้แก่ เทศบาล เมืองสงขลา สุขาภิบาลตำบลพังลา ตำบลนาทวี ตำบลพะตง ตำบลสะเดา ตำบลกำแพงเพชร จังหวัดสตูล และ จังหวัดปัตตานี 2. พฤติกรรม (Behaviors) ในการเดินทางของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมในการเดินทางของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 2,317 คน ซึ่งแยกเป็นประชาชนทั่วไปในเมืองหาดใหญ่ 372 คน คนโดยสารรถ 2 แถว ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ 949 คน และคนโดยสารรถประจำทางระหว่างเมือง 996 คน ผลที่ได้แสดงว่า 2.1 วัตถุประสงค์ในการเดินทาง ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดแสดงว่า ส่วนใหญ่เดินทางเพื่อ ไปทำงาน และไปเรียนหนังสือ 2.2 ความถี่ในการเดินทาง ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดแสดงว่า ส่วนใหญ่เดินทางทุกวันที่เป็นวันราชการ 2.3 ทางเลือกในการเดินทาง ผู้ตอบแบบสบถามที่เป็นประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่เลือกวิธี “เดิน” ขณะที่ทางเลือกของคนโดยสารรถประจำทางระหว่างเมือง เลือกระบบรถแท็กซี่ และระบบรถ 2 แถว ระหว่างเมือง นอกเหนือจาการใช้รถโดยสารประจำทาง 2.4 เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นประชาชนทั่วไป (ซึ่งส่วนใหญ่เลือกการเดินทางด้วยวิธี “เดิน”) ใช้เวลาในการเดินทาง 1 – 15 นาที เป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถประจำทางระหว่างเมือง มีสองพวก พวกแรกที่เดินทางเข้าหรือออกจากเมืองหาดใหญ่ จะใช้เวลาในการเดินทางอยู่ในช่วง 16 – 60 นาที และพวกที่สองซึ่งเดินทางผ่านเมือง จะใช้เวลาในการเดินทางตั้งแต่ 60 นาที ขึ้นไป 2.5 ความจำเป็นที่จะต้องต่อพาหนะอื่นในการเดินทางถึงจุดหมาย ผู้ตอบแบบสอบถามที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางระหว่างเมืองเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จำเป็นต้องต่อพาหนะอื่น และระบบรถ 2 แถว เป็นทางเลือกส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ 2.6 อัตราค่าโดยสสาร ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถประจำทางส่วนใหญ่ เดินทางในช่วงอัตราค่าโดยสาร 1 – 10 บาท หรือ เทียบเป็นระยะทางประมาณ 0 – 46 กิโลเมตร 2.7 ความเห็นเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถ 2 แถว มีความเห็นว่า อัตราค่าโดยสารของรถ 2 แถว แพงเกินไป ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถประจำทางระหว่างเมือง มีความเห็นว่า อัตราค่าโดยสารของรถประจำทางระหว่างเมือง เป็นอัตราที่เหมาะสม 2.8 ความนิยมในการใช้บริการ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีความรู้สึกชอบ กับกลุ่มที่มีความรู้สึกไม่ชอบการให้บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถ 2 แถว กลุ่มที่มีความรู้สึกไม่ชอบมีจำนวนมากกว่า ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นคนโดยสารรถประจำทางระหว่างเมือง มีลักษณะตรงข้าม ค. การศึกษาเกี่ยวกับพาหนะ 1. ระบบรถ 2 แถว และระบบรถโดยสารประจำทางระหว่างเมือง จากการศึกษาพบว่า ระบบรถ 2 แถว มีความเหมาะสมกับการขนส่งสาธารณะในเมืองหาดใหญ่ และระบบรถดดยสารประจำระหว่างเมือง ซึ่งการขนส่งทั้งสองระบบนี้ สามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เพียงพอในปัจจุบัน ตลอดจนคาดว่า จะยังคงเป็นระบบการขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมและความสามารถในการให้บริการจนถึงอนาคต ตามเวลาที่กำหนดการคาดคะเนไว้ในปี พ.ศ. 2539 2. ระบบรถบรรทุก ถ.ศรีภูวนารถ ถ.เพชรเกษม และ ถ.นิพัทธ์อุทิศทั้งสามสาย เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อการสัญจรของรถบรรทุก ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ เนื่องจากมีลักษณะเป็นเส้นทางผ่านเข้าออกเมือง หรือมีที่ทำการของบริษัทรถบรรทุกตั้งอยู่ตามถนนเหล่านี้ ส่วนทางหลวงระหว่างเมืองที่มีความสำคัญต่อการสัญจรของรถบรรทุก และ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทางหลวง หมายเลข 407 ช่วง หาดใหญ่ – สงขลา ทางหลวงหมายเลข 4086 ช่วง อ. เทพา – จ.ปัตตานี และทางหลวงหมายเลข 4083 ช่วง อ. เมืองสงขลา – อ.ระโนด ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ทำให้ได้แนวทางเสนอแนะเกี่ยวกับระบบรถ 2 แถว ในเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ และระบบรถโดยสารประจำทางระหว่างเมือง ได้ว่า การขนส่งคนโดยสารทั้งสองวิธีนี้ เป็นระบบการให้บริการที่เหมาะสมกับเมืองหาดใหญ่ และระหว่างเมืองหาดใหญ่กับพื้นที่รอบนอก ทั้งด้านความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และประสิทธิภาพของการให้บริการในปัจจุบัน ตลอดจนถึงอนาคต ซึ่งคาดประมาณไว้ถึงปี พ.ศ. 2539 นอกจากนี้สามารถเสนอรูปแบบการให้บริการของรถ 2 แถว เป็นประเภท “มีเส้นทางเดินรถประจำ” เพิ่มได้อีกเส้นทางหนึ่ง คือ จากบริเวณย่านการค้าของเมืองกับบริเวณพื้นที่ทางด้านตะวันตก หรือ ระหว่างเขตพื้นที่ซึ่งแบ่งไว้เพื่อการศึกษา คือ ระหว่าง พื้นที่ เขตที่ 1 กับ พื้นที่ เขตที่10 เขตที่11 และเขตที่ 12 นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | To avoid traffic problems, town planning needs transportation planning. Three main factors taken into consideration are population, system of network communication and vehicles. Population is considerably the most important because they are known as users who invole directly with the system of communication. The two others can promote and facilitate public transportation and communication towards neighbouring areas. This is to study about the three factors as well as the system of public transportation in Hat Yai Municipality and the surroundings. ;- A. System of transportation network. The study puts an emphasis on systems of road network inside Hat Yai Municipality and inter-city highways. 1. System of road network in Hat Yai Municipality. The 8 roads; Sri Phuwanat, Rathakarn, Thammanoon Vithi, Saeng Sri, Pracha Thipat and Niphat Uthit 1, 2, 3 Roads which has the volume-capacity (V/C) ratio of over 0.5 are considerably at low efficiency. However, the service improvement can be performed by prohibiting “Parking” along both sides during ruch-hours so that the traffic surfaces can be increasingly expanded. Moreover, public utilities like flyovers for pedestrians, regulations, service limitation, new road construction and road expansion, can be taken into consideration for the improvement. 2. System of inter-city highways. Owing to the facts of the years 1977 and 1981 about traffic capacity on the highways linking between Hat Yai and the related areas, it is found that both Kanchana Vanit road, from Hat Yai to SongKhla, and Phet Kasem road, from Hat Yai to Sadao, have an increasing change in traffic capacity. This come from an influence of the citizens’ Transportation among the four major areas namely Songkhla Municipality, Hat Yai Municipality, Phang-la Sanitary district and Sadao Municipality. On the other hand, economic and problems of robberies made traffic capacity in Phet Kasem road from Hat Yai to Rataphum and Pakphayun decreasingly changed. On other lines, related to Hat Yai like the highway no.4086, from Amphoe Chana on destination to Amphoe Thepa and Nong Chik Village, the traffic capacity has been increased but the no.42, from Klong Ngae Village to Amphoe Na Thawi to Na Ket Village has been decreasingly changed. By studying O&D survey, it can be estimated that the influence comes from the newly constructed highway, the no.43 which shorthens the trip by the no.4086 on destination to Pattani Province. B. Study on population’s trips. 1. Origin and destination Survey (O&D Survey) a. Trips inside Hat Yai. Of all 12 municipality zones, zone No. 1 generated the most passenger trips and distributed to the various zones, such as zone Nos. 5, 8, 10, and 11. b. Trips between Hat Yai city and the related areas. The result of the study shows that the 8 external communities :- Songkhla Municipality, Pang-la Sanitary District, Tambon Na Thawi, Tambon Sadao, Tambon Kam Phaeng Phet, Satun Province and Pattani Province have a strong influence on the trips made to Hat Yai. 2. Behavior of trip-makers. According to the questionnaires answered by 2,317 trip makers, classified into 372 Hat Yai citizens, 949 minibus passengers in Hat Yai Municipality and 996 bus commuters, the result can be drawn out as follows:- 2.1 Trip purposes. Minibus passengers and bus commuters use both means of transportation in order to go to their offices and their schools. 2.2 Trip frequency. People make the trips mostly on weekdays. 2.3 Trip selection. Among ordinary people, walking is preferred while taxi and minibus are selected by bus commuters. 2.4 Trip duration. Most people take 1-15 minutes for “walking”. Commuters take 16-60 minutes while the pass-by travelers take more than 60 minute (one hour) for each trip. 2.5 Necessity for transits. Not a large number of people have to make transits and in case, the minibuses are in priority taken in selection. 2.6 Fare rates Most bus commuters pay 1-10 Bath for 0-46 kms. 2.7 Opinion towards current fare rates. Minibus commuters complained that the fare is too high. But, bus commuters said that the inter-city bus fare is reasonable. 2.8 Service popularlity. The majority of minibus passengers dislike the service but the majority of bus commuters satisfied with the service. B. Study on vehicles. 1. Systems of minibuses and inter-city buses. According to the study, the minibus system is obviously suitable for public transportation in Hat Yai Municipality while the bus system efficiently serve as inter-city public transportation. However, both systems can supply sufficiently the current need of the public and it is expected that they will be the appropriate systems in services for the future, especially in the year 1996. 2. System of trucks. The three roads:-Sri Phuvanat, Phet Kasem and Niphat Uthit are very important for trucks in Hat Yai Municipality for 2 reasons. Firstly, they are served as the entries and exists of the city. Secondly, they are major roads on which truck companies are located. Other three highways:- the no.407 from Hat Yai to Songkhla, the no.4086 from Amphoe Thepa to Pattani Province and the no.4083 from Amphoe Muang Songkhla to Amphoe Ranode will have been increasingly used. To summarize the research, both minibus and inter-city bus systems are respectively suitable for Hat Yai Munjcipality and for the related areas. The services have been supplied efficiently the public needs, in particular, until the estimated year 1996, Moreover, a regular service of minibus from commercial area to the western zones should be opened. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26243 |
ISBN: | 9745622273 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Satith_Po_front.pdf | 837.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_ch1.pdf | 340.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_ch2.pdf | 419.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_ch3.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_ch4.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_ch5.pdf | 670.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satith_Po_back.pdf | 638.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.