Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26246
Title: | อิทธิพลของความคล้ายของสิ่งเร้าและพื้นฐานทางศิลปศึกษา ที่มีต่อการจำแนกและการจำสี |
Other Titles: | Effects of stimulus similarity and backgroungd in art education on discrimination and memory of colours |
Authors: | สาทร เจริญภักดี |
Advisors: | ชัยพร วิชชาวุธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการจำแนกและการจำสี (ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในส่วนผสมของสี) ของผู้ที่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาและผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาว่าต่างกันหรือไม่เพียงไร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2521 จำนวน 120 คน มีช่วงอายุตั้งแต่ 17 ปี ถึง 25 ปี ทดสอบโดยเสนอให้ผู้รับการทดลองเรียนคู่สัมพันธ์สิ่งเร้าสีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นรายกลุ่มโดยวิธีการสุ่มจากนิสิตที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษา ข้อมูลที่ได้นำมาหาค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ตัวแปร ผลการวิจัยสรุปดังต่อไปนี้ 1. นิสิตที่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาสามารถจำแนกและจำสีจากคู่สัมพันธ์ได้ดีกว่านิสิตที่ไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษา โดยสามารถตอบคู่สัมพันธ์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนคู่ที่ตอบถูกมากว่าในทุกรอบที่เรียนคู่สัมพันธ์และอัตราการผสมสี และในการเรียนคู่สัมพันธ์สีที่มีอัตราส่วนการผสมน้อยจะใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนคู่ที่ตอบถูกน้อยกว่าการเรียนคู่สัมพันธ์สีที่มีอัตราส่วนการผสมมากกว่าทั้งนิสิตที่มีและไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษา ประเภทผู้รับการทดลองที่แบ่งเป็นผู้ที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (F(1,120 = 6.85) รอบที่เรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (F 2,200 = 4.71) อัตราส่วนการผสมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (F 2,200 = 4.71) 2. นิสิตที่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาจำแนกและจำสีได้เร็วกว่านิสิตที่ไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาโดยที่ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิตของจำนวนรอบถึงเกณฑ์ในการจำแนกและจำสีน้อยกว่าในทุก ๆ อัตราการผสม และทั้งนิสิตที่มีและไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาใช้ค่ามัชฌิมเลขาคณิตของจำนวนรอบถึงเกณฑ์ในสีที่มีอัตราการผสมน้อย ๆ มากวาสีที่มีอัตราการผสมมาก ๆ ประเภทของผู้รับการทดลองที่แบ่งเป็นนิสิตที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานทางศิลปศึกษาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (F 1,120 = 6.85) ส่วนอัตราร้อยละของการผสมสีมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (F 2,120 = 4.79) |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the students who had studied art education to the students who had not studied that subject before on their abilities of discrimination and memory of similar colours. Subjects were 120 undergraduate students, aged 17 to 25, from Chulalongkorn University, academic year 1978. The subjects who had and had not studied art education were randomly asked to study the paired – associate list, which were constructed by the researcher. The data were computed by means and Three – way Analysis of Variance. The summarized results were: 1. Students who had studied art education could discriminate and remember colours from the pained associate list better than the students who had not studied art education. The students who had studied art education before could match the pairs more correctly than the others on every learning rounds and on every shade of colours. In learning colour paired associate list, more percentage of both groups could discriminate the pairs painted in thick colours better than the pairs painted in thin colours. The students who had studied art education were significantly different from the others at the .01 level (F 1,120 = 6.85). The shaded rated of colours were significantly different at the .01 level (F 2,200 = 4.71). 2. Students who had studied Art Education before could discriminate and remember colors more quickly than students who didn’t have art background, justifying by mean of their less ability to discriminate and remember every shade of colours. Both students who had and did not have art background could than among thick shades of colours. The students who had and did not have art background were significantly different from each other at the .01 level (F 1,120 = 6.85). The percentages of the thin and thick shade rates were significantly different at the .01 level (F 2,120 = 4.79). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26246 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Satorn_Ch_front.pdf | 435.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_ch1.pdf | 776.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_ch2.pdf | 419.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_ch3.pdf | 381.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_ch4.pdf | 341.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_ch5.pdf | 349.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satorn_Ch_back.pdf | 389.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.