Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26253
Title: ปัญหาปรัชญาในตรรกวิทยาโมดัล
Other Titles: Philosophical probleems in modal logic
Authors: สวัสดิ์ สุวรรณสังข์
Advisors: มารค ตามไท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาปรัชญาในตรรกวิทยาโมดัลเกิดจากการใช้ตัวเชื่อม(operator) ที่มีสังกัป(concept) ทางปรัชญาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ “ความจำเป็น” (necessity) และ”ความเป็นไปได้” (possibility) มีผู้ยอมรับความหมายต่างกัน จึงมีการยอมรับสัจพจน์ (axiom) ต่างกัน ทำให้เกิดระบบตรรกวิทยาโมดัลหลายระบบ จึงเกิดปัญหาขึ้นว่าระบบใดดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด วิธีดำเนินการค้นคว้า ศึกษาระบบตรรกวิทยาคลาสสิคและตรรกวิทยาโมดัลจากหนังสือตรรกวิทยา แล้วเสนอเป็นการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการเลือกระบบ ระหว่างตรรกวิทยา 2 ประเภทนี้ สำหรับปัญหาของความหมายของ “ความจำเป็น” กับ “ความเป็นไปได้” ในตรรกวิทยาโมดัลนั้น พิจารณาจากทัศนะและเหตุผลของนักตรรกวิทยาและนักปรัชญาแล้วใช้เหตุผลของทำวิทยานิพนธ์เองวิจารณ์ทัศนะเหล่านั้นในการพิจารณาเลือกระบบตรรกวิทยาโมดัล ตรรกวิทยาคลาสสิค และตรรกวิทยาโมดัล เป็นตรรกวิทยาสัญลักษณ์ประเภทระบบสัจพจน์(axiom system) สำหรับตรรกวิทยาคลาสสิคนั้นไม่มีปัญหาในการเลือกระบบ เพราะแม้ว่าแต่ละระบบจะใช้สัจพจน์ต่างกัน แต่ถ้าระบบนั้น ๆ สอดคล้องในระบบ (consistent) และสมบูรณ์ (complete) และใช้สัญลักษณ์พื้นฐาน (primitive symbol) เหมือนกันแล้ว ระบบเหล่านั้นจะสมภาค (equivalent) กันทั้งสิ้น จะใช้ระบบใดก็เหมือนกัน และอีกประการหนึ่งตรรกวิทยาคลาสสิคมีอรรถภาค (semantics) เดียว จึงนิยามความจริงสมบูรณ์ (validity) เหมือนกันหมด จึงไม่มีปัญหาในการยอมรับสัจพจน์ เพราะทุกคนเป็นความจริงสมบูรณ์เหมือนกัน สำหรับตรรกวิทยาโมดัลนั้น แม้มีพื้น,ฐานอยู่บนตรรกวิทยาคลาสสิค แต่มีตัวเชื่อมเพิ่มเข้ามา 2 อย่างคือ “ความจำเป็น” และ “ความเป็นไปได้” ซึ่งมีสังกัปทางปรัชญาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ปัญหาเกิดจาก 2 ทางด้วยกัน คือ (1) ปัญหาในการยอมรับสัจพจน์ของระบบ เนื่องจากสังกัปของ “ความจำเป็น” และ “ความเป็นไปได้” เองยังมีปัญหารวมทั้งมีผู้ใช้สังกัปของ “จำเป็นว่าจำเป็น” (necessarily necessary) “เป็นไปได้ว่าเป็นไปได้” (possibly possible) “จำเป็นว่าเป็นไปได้” (necessarily possible) ซึ่งเป็นสังกัปที่มีปัญหามาก ต้องใช้พลังสหัชญาณ (intuitive power) ของมนัสของเราในการเข้าใจสังกัปเหล่านี้ จึงทำให้มีผู้เห็นความจริงสมบูรณ์ของสัจพจน์ต่างกัน จึงยอมรับสัจพจน์ต่างกัน จึงมีปัญหาว่าสัจพจน์ของระบบใดดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด (2) ปัญหาจากการที่แต่ละระบบมีอรรถภาคต่างกัน จึงนิยามความจริงสมบูรณ์ต่างกัน แต่ละระบบสอดคล้องในระบบ สมบูรณ์ และจริงสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับอรรถภาคของระบบของมัน สังกัปของอรรถภาคของแต่ละระบบก็มีปัญหามากน้อยต่างกัน โดยเฉพาะสังกัปของ “โลกที่เป็นไปได้” หรือ “สถานภาพที่สามารถเข้าใจได้” รวมทั้งความหมายของ “เข้าใจ” (conceive) ในระบบธรรมดาและแบบเข้มข้น แต่ละสังกัปเหล่านี้ล้วนมีปัญหามากน้อยต่างกัน มีความชัดเจนและความคลุมเครือมากน้อยต่างกัน แม้ทุกระบบจะสมบูรณ์ แต่ก็ไม่สมภาคกันเลย จึงมีปัญหาว่าอรรถภาคของระบบใดดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด นั่นคือปัญหาของตรรกวิทยาโมดัลอยู่ที่การเลือกระบบว่าระบบใดดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินว่าระบบใดดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดนั้นใช้เกณฑ์ว่าระบบใดสอดคล้องสหัชญาณ (intuition) ของเรามากที่สุด ได้เสนอวิธีเลือกระบบตรรกวิทยาโมดัล 2 วิธีคือ (1) พิจารณาจากสังกัปของสัจพจน์ที่แตกต่างกันของระบบ (2) พิจารณาจากสังกัปของอรรถภาคของแต่ละระบบ การเลือกใน 2 วิธีนี้ พิจารณาร่วมกับความหมายของ “ความจำเป็น” และ “ความเป็นไปได้” ซึ่งใช้ความหมายว่า ”ความจำเป็นทางตรรก” (logical necessity) และ “ความเป็นไปได้ทางตรรกะ” (logical possibility) ตามลำดับเป็นหลักในการพิจารณา เมื่อใช้วิธีที่ 1 คือพิจารณาจากสัจพจน์ของแต่ละระบบได้ว่าระบบ T เหมาะสมที่สุด เพราะสังกัปชัดเจน และไม่ค่อยมีปัญหาในการยอมรับทางสหัชญาณ ส่วนสัจพจน์ของระบบ S4 และ S5 นั้นสังกัปของ “จำเป็นว่าจำเป็น” และ “จำเป็นว่าเป็นไปได้” ตามลำดับ ค่อนข้างคลุมเครือ เมื่อใช้วิธีที่ 2 คือพิจารณาจากอรรถภาคของแต่ละระบบ ได้ผลว่าระบบ S5 เหมาะสมที่สุด ส่วนระบบ T นั้นใช้อรรถภาคไม่ค่อยตรงกับความหมายของ “ความจำเป็น” และ “ความเป็นไปได้” เพราะมีสังกัปของ “เข้าใจ” มาเกี่ยวข้อง เนื่องจากความสามารถในการ “เข้าใจ” ของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงทำให้ความหมายของ “ความจำเป็น” และ “ความเป็นไปได้” ไม่เหมือนกันในแต่ละคน ส่วนระบบ S4 มีปัญหาในเรื่องความหมายของ “เข้าใจ” แบบเข้มข้นที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโลกที่เป็นไปได้ เป็นความสัมพันธ์ทรานซิทีฟ (transitive relation) ซึ่งมีปัญหาและคลุมเครือมาก และความหมายของ “จำเป็นว่าจำเป็น” กับ “เป็นไปได้ว่าเป็นไปได้” กับความสัมพันธ์ทรานซิทีฟ ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกัน จึงยากแก่การยอมรับ เมื่อใช้วิธีที่ 1 ได้ระบบ T เหมาะสมที่สุด แต่เมื่อใช้วิธีที่ 2 ได้ระบบ S5 เหมาะสมที่สุด จึงยังคงมีปัญหาต่อไปอีกว่า ในระหว่างระบบ T กับระบบ S5 นั้นระบบใดเหมาะสมกว่า เพราะไม่มีเกณฑ์กลางในการตัดสิน เพราะผลจากการใช้ 2 วิธีนั้นก็คือการพิจารณาในคนละแง่ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ระบบหนึ่งเหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาจากแง่หนึ่ง อีกระบบหนึ่งเหมาะสมที่สุดในอีกแง่หนึ่ง จึงไม่สามารถตัดสินได้ว่าระบบใดเหมาะสมที่สุด
Other Abstract: Because of using philosophical concepts of modal words such as “necessity” and “possibility”, some philosophical problems arise in modal logic. And because of accepting different meaning of modal words, logicians used different sets of axioms and so arise different systems of modal logic. And the question arises, “which system is the best one?” The method of researching is that by studying the systems of classical logic and modal logic and then present in comparision between these two kinds. And study logicians’ ideas and reason for the meaning of these modal words. In the end the writer makes a criticism of their ideas and reason and then gives the writer’s own reason for selecting the best system of modal logic. Classical logic and modal logic are symbolic logic of the kind called “axiom system”. There are no problems in selecting the best system of classical logic. For, although each set of axioms of any system are different, if these systems are consistent and complete and used the same primitive symbols then they are all equivalent to each other. No difference in using any one of them. And the other point is that there is one semantics in classical logic, so validity is defined in the same way. Everyone has the same insight for the validity of these systems, then no problems arise in accepting each set of axioms. As for modal logic, though it has classical logic as its base, It also has two more opertors which contain philosophical concepts. These opertors are “necessity” and “possibility”. The problems arise from (1) the accepting of axioms of the systems. Because the concepts of the operators themselves contain problems and also because of some logicians used these concepts: “necessarily necessary”, “possibly possible”, “necessarily possible” which also contain some problems. We must use intuive power of our minds to capture the meaning of these concepts, and so some logicians see different aspects of the validity of axioms and then accept different sets of axioms. The problem then is: which set of axioms is the best of them? And (2) because each system has different semantics so validity is defined in different ways. All systems are consistent, complete, and valid with respect to its own semantics. There are problems in these semantics also, especially the concept of “possible worlds” or “conceivable state of affairs” and also the meaning of “conceive” in ordinary sense and strong sense. Though all systems are complete, they are not equivalent to each other. So we ask for the best semantics of these systems. The problem of modal logic is about selecting the best system out of them. The criterion for selecting the best one is that which one satisfied our intuition most. The writer presents two ways: (1) considering the concepts of each system’s axioms. (2) considering the concepts of each system’s semantics. In these two ways, it is also considered in parralell with the meaning of the two operators. In modal logic we only use the meaning “logical necessity” and “logical possibility” respectively. The writer uses these meaning as a principle for selecting the best system. When the first way is used, the axiom of T is the best because their concepts are clear and no problems arise in intuitively accepting. As for S4 and S5, the concepts of “necessarily necessary” and “necessarily possible” respectively are ambiguous. When the second way is used, S5 is the best system. As for T, its semantics is not satisfactory with the meaning of “necessity” and “possibility” because of its concept of “conceive”. Each person’s ability to conceive varies from person to person, which constitute the different meaning of the two operators. And the strong sense of “conceive” in S4, which constitutes transitive relation between possible worlds, is problematic and ambiguous. And we cannot see clearly the “connexion” between “’necessarily necessary’ and ‘possibly possible’” and “transitive relation:. So S4 is unplausible to be accepted. The problem remains: which is the better system between T and S5? Because of no central criterion for deciding, and one method is the considering one aspect and the other method the other aspect of them. One system is better with respect to one aspect, the other is better with respect to another aspect. So it is not possible to decide which one is the best.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26253
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Swat_Su_front.pdf622.47 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch1.pdf286.06 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch2.pdf412.39 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch3.pdf583.24 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch4.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch5.pdf875.3 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_ch6.pdf280.43 kBAdobe PDFView/Open
Swat_Su_back.pdf414.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.