Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภชัย ยาวะประภาษ-
dc.contributor.authorสุภชัย ปั้นศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-27T03:21:50Z-
dc.date.available2012-11-27T03:21:50Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745666886-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26319-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractกิจกรรมคิวซี (QC Activities) ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 โดยพัฒนามาจากแนวความคิดในการควบคุมคุณภาพของสหรัฐอเมริกา ในบริษัทญี่ปุ่นใช้กิจกรรมคิวซีเป็นเทคนิคหนึ่งในการบริหารงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การและได้ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาสนใจศึกษาการทำกิจกรรมคิวซี ในประเทศไทยมีบริษัทอุตสาหกรรมเอกชนหลายแห่งได้ทำกิจกรรมคิวซีมานานกว่า 10 ปีแล้ว จนปัจจุบันมีบริษัทหรือหน่วยงานทั้งของเอกชน รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจจำนวนมากได้ให้ความสนใจและนำกิจกรรมคิวซีไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม การนำกิจกรรมคิวซีมาปฏิบัติในประเทศไทย บริษัทบางแห่งก็ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย บางแห่งก็พยายามดำเนินกิจกรรมต่อไปแม้ว่าจะเกิดปัญหาหรืออุปสรรค และบางแห่งก็ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้อีก จึงน่าจะมีการศึกษาบทเรียนจากบริษัททั้งหลายเหล่านี้ เพื่อนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติว่าควรดำเนินกิจกรรมอย่างไรจึงประสบความสำเร็จและมีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรมคิวซี ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเรื่องนี้ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาไว้ 2 ประการคือ 1.ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้การใช้กิจกรรมคิวซีแล้วประสบความสำเร็จ 2.ศึกษาบทบาทและการบริหารกิจกรรมของผู้บริหารระดับสูงในองค์การที่นำเอากิจกรรมคิวซีไปใช้ ว่ามีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมคิวซีอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังตัวอย่างที่คัดเลือกจากบริษัท 35 แห่ง ที่ส่งกลุ่มคิวซีเข้าร่วมเสนอผลงานในงานมหกรรมคิวซี ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้ากลุ่มคิวซี และสมาชิกกลุ่มคิวซีของบริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมคิวซีจำนวน 4 แห่ง โดยมีสมมุติฐาน 14 ประการ ผลการวิจัยพบว่า 1.1 ความสำเร็จในการทำกิจกรรมคิวซีขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 11 ประการ คือ 1.1 การฝึกอบรม 1.2 บทบาทของผู้บริหารระดับสูง 1.3 บทบาทของผู้นำกลุ่มคิวซี 1.4 ผู้ประสานงาน 1.5 ผู้ชำนาญการ 1.6 ความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมและการจูงใจ 1.7 ความพอใจ รายได้และผลตอบแทน 1.8 วัฒนธรรมประเพณีขององค์การ 1.9 การส่งเสริมและผลักดันกิจกรรมคิวซี 1.10 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 1.11 สภาพแวดล้อมขององค์การ ในบรรดาปัจจัยทั้งหมด 11 ประการนี้ เมื่อนำมาพิจารณาพร้อมกัน โดยสร้างสมการการถดถอยพบว่า มีปัจจัยเพียง 3 ประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ปัจจัยทั้ง 3 ประการให้แก่ บทบาทของผู้บริหารระดับสูง การฝึกอบรม และผู้ชำนาญการ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ ณ ระดับนัยสำคัญที่ .05 1. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการทำกิจกรรมคิวซี ในบริษัทที่ประสบความสำเร็จพบว่า ผู้บริหารระดับสูงจะประกาศเป็นนโยบายว่าบริษัทสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมคิวซีและจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมคิวซี นอกจากนั้นยังต้องคอยกระตุ้นและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมคิวซีอย่างสม่ำเสมอ-
dc.description.abstractalternativeThe Modern Quality Control, practiced in the United States, was firstly introduced to Japan in 1949. After a few years of practices, Japanese had learnt to modify and adapt the imported concept so that it can suit to their culture and working life climate and called it QC Circle. The effects of QC Circle Activities are now recognized not only in Japan but also in more than 40 countries outside Japan. In Thailand, the QC Circle was imported from Japan about 10 years ago. Firstly, it was introduced to the industrial sector, but later spread throughout every sector as well as government. Presently, a number of organizations in both public and private sectors as well as in public enterprises has already established the QC Circle in their organizations. However, there were records of successes as well as failures. It is interesting to investigate why some One succeed and some fail. Unfortunately, no studies of this kind have been conducted before. This study attempts to do so by aiming at answering a question of how the successful enterprise managed QC Circle programme and what factors contributed to their successes or failures of implementing QC Circle in Thailand. In particular, major objectives of this study were: (i) to identify the factors which determine the success of the QC Circle in Thailand. (ii) to investigate the roles of top management and their views pertaining to the management of the QC Circle programme. To achieve the above objectives, the sample size of 40 circles from 35 companies were drawn from the entire group of companies participated in QC Circle activities. Companies chosen are those to participated in the third QC Circle Conference organized by the Technological Promotion Association (Thai-Japan). Questionnaires were developed, pretested and then sent to both leaders and members of QC Circles in the sample. In addition, the researcher had scheduled and interviewed top management, leaders and members of QC groups in the four most successful companies. The findings were: The success of QC Circle activities depends on the following factors: 1.1 Effective Training 1.2 Support and participation of Top Management 1.3 Support of Middle Management 1.4 Facilitator 1.5 Specialist 1.6 Voluntary participation through Effective Motivation 1.7 Reward System 1.8 Tradition 1.9 Promotion Policy 1.10 Effective Communication 1.11 Environment of the Enterprise 2. The regression equation model shows that factors which significantly contribute to the successes of the QC Circle activities at .05 level are as follows: 2.1 Effective Training 2.2 Specialist 2.3 Support and participation of Top Management 3. The Chief Executives and management of the four most successful companies assert that management at all levels must support the QC Circle activities by participating and monitoring the programs regularly and continuously. In their opinion, there must be necessity for concrete policy and concerted efforts by functional organization and middle management to implement QC Circle.-
dc.format.extent453258 bytes-
dc.format.extent497722 bytes-
dc.format.extent816741 bytes-
dc.format.extent431064 bytes-
dc.format.extent2334127 bytes-
dc.format.extent729250 bytes-
dc.format.extent629510 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleปัจจัยกำหนดความสำเร็จของกิจกรรมคิวซี (QC Circle) ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe determinants of success of the Q.C. Circle activities in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supachai_Pa_front.pdf442.63 kBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_ch1.pdf486.06 kBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_ch2.pdf797.6 kBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_ch3.pdf420.96 kBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_ch4.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_ch5.pdf712.16 kBAdobe PDFView/Open
Supachai_Pa_back.pdf614.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.