Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26359
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างลมมรสุมกับความผันแปรตามฤดูกาลของคลอโรฟิลล์-เอในมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ข้อมูลจากชีวินด์และชีวิฟ
Other Titles: Relationship between monsoon winds and seasonal variation of Chlorophyll-A in the Indian Ocean using Seawind and Seawifs data
Authors: ชัยชาญ สิทธิวรนันท์
Advisors: อัปสรสุดา ศิริพงศ์
ดุษฏี ศุขวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ กับระบบของลมมรสุมในมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมแสดงปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ของสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ Sea-viewing Wide Field-of-view Sensor (SeaWiFS) ที่ติดตั้งบนดาวเทียมร่วมกับข้อมูลลมเฉลี่ยรายเดือนจาก QuikSCAT/SeaWind เป็นกรณีศึกษา พบว่าระบบของลมมรสุมมีผลต่อปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ของสิ่งมีชีวิตในทะเลซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้ถึงศักยภาพของการเป็นผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิ (primary producer) ในห่วงโซ่อาหาร โดยพบว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม สัมพันธ์กับการเกิดคลอโรฟิลล์-เอ โดยในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ จะมีความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์-เอ ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้จะมีความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์-เอ สูงในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งได้ทำการศึกษารูปแบบของร่องความกดอากาศต่ำพบว่าในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แนวร่องความกดอากาศต่ำได้เลื่อนขึ้นไปอยู่บนแผ่นดินในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม แล้วจะเลื่อนกลับลงมาอีกครั้งในเดือนกันยายน
Other Abstract: Studying on the relationship between the variation of chlorophyll-a (Chl-a) contents and monsoon wind system in the Indian ocean using Chl-a concentration maps (of marine living organisms), detected by Sea-viewing Wide Field-of-view Sensor (SeaWiFS) instruments, and the average monsoon wind per month during year 2001 from QuikSCAT/SeaWind as a case study. It was found that monsoon wind system affecting on Chl-a contents of marine living organisms which can be used as a criteria index tool to exhibit the potentiality of these organisms as the primary producers in food chain. Wind in Northeast monsoon season during October-March, and Southwest monsoon season over May-September are related to Chl-a blooming that in the northern Indian ocean, Chl-a concentration in Southwest monsoon season was higher than those in Northeast monsoon season. Whereas in the southern Indian ocean, Chl –a concentration was high in Northeast monsoon season. In addition, the Inter Tropical Convergence Zone (ITCZ) pattern was studied. It was found that it shift up to the land during June-August in the southwest monsoon season, and then shift back to the ocean in September.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26359
ISBN: 9741755538
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaichan_si_front.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_ch1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_ch2.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_ch4.pdf14.64 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_ch5.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Chaichan_si_back.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.