Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26376
Title: | การจำลองสามมิติของอุทกพลศาสตร์ในท่อไรเซอร์ของเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน |
Other Titles: | Three-dimensional simulation of hydrodynamics in riser of circulating fluidized bed reactor |
Authors: | ยงยุทธ ประจงการ |
Advisors: | เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์ |
Advisor's Email: | benjapon.c@chula.ac.th pornpote@sc.chula.ac.th |
Subjects: | เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์ ชลศาสตร์ พลศาสตร์ของไหลเชิงการคำนวณ -- กาาคำนวณ ฟลูอิไดเซชัน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนได้นำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีข้อดีกว่าเครื่องปฏิกรณ์ชนิดอื่น ความซับซ้อนทางด้านอุทกพลศาสตร์ของเครื่องปฏิกรณ์ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจ จึงมีการใช้วิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเข้ามาช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องปฏิกรณ์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการเลือกการจำลองในระบบสามมิติเพื่อศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่ออุทกพลศาสตร์ที่เกิดขึ้น และเปรียบเทียบกับผลการจำลองของเครื่องปฏิกรณ์ในระบบสองมิติกับข้อมูลการทดลองจากงานวิจัยที่ผ่านมา ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการป้อนเข้าของทางเข้า ขนาดทางออกของท่อ ไรเซอร์ แบบจำลองแรงต้านการเคลื่อนที่ระหว่างวัฏภาค อุณหภูมิแกรนูลาร์ขาเข้า ความหนาแน่นของอนุภาคของแข็ง ความเร็วแก๊สขาเข้า และ ปริมาณฟลักซ์ของแข็ง เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อ อุทกพลศาสตร์ภายในระบบอย่างชัดเจน ส่วน ค่า Specularity coefficient ค่า Restitution coefficient แบบจำลองความหนืด และความหนืดเสียดทาน เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อระบบเพียงเล็กน้อย แต่มีความจำเป็นเพื่อปรับค่าให้ผลการจำลองมีความถูกต้อง ส่วน สัดส่วนปริมาตรของแข็งสูงสุดในระบบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคของแข็ง อุณหภูมิกระบวนการ และความดันบริเวณทางออกของท่อไรเซอร์ เป็นตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อระบบเท่าใดนัก โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการจำลองในระบบสามมิติและระบบสองมิติได้ข้อสรุปว่า ถ้าระบบเครื่องปฏิกรณ์มีการป้อนเข้าแบบสมมาตร ผลการจำลองในระบบสองมิติดีเพียงพอต่อการอธิบาย อุทกพลศาสตร์ภายในระบบ แต่ถ้าระบบเครื่องปฏิกรณ์มีการป้อนเข้าแบบไม่สมมาตร การจำลองในระบบสามมิติจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า |
Other Abstract: | Gas-solid circulating fluidized bed reactors are applied in many industrial operations due to the advantages over other reactors. However, the complexity of hydrodynamics is the major challenge to improve and understand these systems. Computational fluid dynamics has been conducted to explain the complex hydrodynamics for this system. This research was conducted in three-dimensional domain to investigate the effect of parameters on the hydrodynamics and was compared the results with experimental data and previous two-dimensional domain simulation results. The simulation results showed that the effects of different gas inlet condition, gas outlet configuration, drag model, inlet granular temperature, particle density, gas inlet velocity, and solid mass flux inlet had significantly affected on the hydrodynamics in this system. The effects of specularity coefficient, restitution coefficient, frictional viscosity and viscous model had some effect. However, these parameters were necessary for adjusting the correctness of simulation results. The packing limit value, particle diameter process temperature and pressure outlet had seemingly no affected on the hydrodynamics. In addition, when comparing between three-dimensional and two-dimensional domain, it can be concluded that if the reactor has symmetrical inlets, simulations with two-dimensional domain is adequate to explain the hydrodynamics. However, if the reactor has asymmetrical inlets, simulations with three-dimensional domain will be a better solution. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีเชื้อเพลิง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26376 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1897 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1897 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yongyoot_pr.pdf | 9.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.