Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26387
Title: อิทธิพลของคำถามที่มีผลสะท้อนและการลงชื่อ ที่มีต่ออัตราการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์
Authors: สุภาพร โกเฮงกุล
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อบ่งชี้ถึงอิทธิพลของคำถามที่มีผลสะท้อน และการลงชื่อที่มีต่ออัตราการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์ กลุ่มตัวอย่างคือ คณะครู และอาจารย์ในโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ในกรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2522 จำนวน 560 คน โดยจัดกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 140 คน ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม 2 ชุด คือ ชุด ก. เป็นแบบสอบถามที่มีผลสะท้อนต่อ ผู้ตอบโดยถามเกี่ยวกับ คุณลักษณะและพฤติกรรม ทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ชุด ข. เป็นแบบสอบถามที่ไม่มีผลสะท้อนต่อผู้ตอบ ซึ่งถามเกี่ยวกับบทบาทของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อการศึกษา และจัดส่งออกไปถึงกลุ่มตัวอย่างโดยทางไปรษณีย์ หลังจากทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบค่าซี (z-test) แล้ว ผลปรากฏว่า 1. อัตราการตอบแบบสอบถามที่ไม่มีผลสะท้อนต่อผู้ตอบสูงกว่า อัตราการตอบแบบสอบถามที่มีผลสะท้อนต่อผู้ตอบ 2. อัตราการตอบแบบสอบถามที่ผู้ตอบไม่ต้องระบุชื่อ สูงกว่า อัตราการตอบแบบสอบถามที่ผู้ตอบต้องระบุชื่อ 3. ไม่มีปฏิกริยาร่วมระหว่าง “ลักษณะของคำถาม” กับ “การให้ลงชื่อ” ต่ออัตราการตอบแบบสอบถาม
Other Abstract: The purpose of this research was to determine the effects of sensitive items and signing one’s name to a questionnaire upon the response rate of mailed questionnaires. A sample consisted of 560 teachers from Public Secondary Schools in Metropolitan Bangkok. The sample was divided into 4 groups ; one control group and three experimental ones. Two questionnaires were designed to collect the data. The first questionnaire consisted of sensitive items concerning the Characteristic and Administrative Behavior of the School Administrator. The second questionnaire consisted of non-sensitive items toward the Role of Newspaper upon Education. The Response Rate of mailed questionnaire was analyzed by Z-test. Major finding were as follows 1. The response rate of the non-sensitive questionnaire was higher than that of the sensitive questionnaire. 2. The response rate of the non-signing questionnaire was higher than that of the signing questionnaire. 3. There was no interaction between the “Type of items” and “Signing one’s Name” upon the response rate of mailed questionnaire.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26387
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Ko_front.pdf395.17 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_ch1.pdf718.43 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_ch2.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_ch3.pdf632.81 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_ch4.pdf473.04 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_ch5.pdf483.24 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ko_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.