Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26423
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between attitude towards science laboratory activities learning achievement of mathayom suksa three students in Bangkok metropolis
Authors: สุภาคย์ สุวรรณเวลา
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเจตคติต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 645 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดเจตคติต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง 0.868 และ 0.753 ตามลำดับ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยคำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ข้อค้นพบที่สำคัญโดยสรุปมีดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีเจตคติทางบวกต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2. เจตคติต่อกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.289
Other Abstract: The purposes of this research were to study attitude towards science laboratory activities and the relationship between attitude towards science laboratory activities and science learning achievement of mathayom suksa three students in Bangkok Metropolis. The samples consisted of 645 students who were stratified random sampled. The research instruments were Attitude Towards Science Laboratory Activity Test and Science Learning Achievement Test which were constructed by the researcher herself. The reliability of these instruments were 0.868 and 0.753 respectively. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. Findings 1. Mathayom suksa three students in Bangkok Metropolis had positive attitude towards science laboratory activities. 2.The correlation coefficient between attitude towards science laboratory activities and science learning achievement of mathayom suksa three students in Bangkok Metropolis was 0.289 which was found to be significant at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26423
ISBN: 9745664006
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supark_Su_front.pdf362.64 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_ch1.pdf333.75 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_ch2.pdf659.53 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_ch3.pdf414.42 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_ch4.pdf265.21 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_ch5.pdf357.94 kBAdobe PDFView/Open
Supark_Su_back.pdf926.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.