Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26454
Title: ผลของการเรียนรู้เกี่ยวกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่มีต่อ การรับรู้โฆษณาทางโทรทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Effects of learning about television advertising on prathom suksa four students' perception of televison advertising
Authors: สุรีย์ ชมภูไพสร
Advisors: เพ็ญวิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้เกี่ยวกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีต่อการรับรู้โฆษณาทางโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาสกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คนเพศชาย 30 คนเพศหญิง 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วีดีโอเทปบันทึกโฆษณาแป้งโคโดโมชุดเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง สลับกับภาพยนตร์การ์ตูน และแบบสอบถามการรับรู้การโฆษณาทางโทรทัศน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยหาประสิทธิภาพของเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความแม่นตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยวัดความสอดคล้องภายในโดยวิธีคูเกอร์ 21 ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.76 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างละ 1 ห้อง การดำเนินการทดลอง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มจะตอบแบบสอบถามการรับรู้โฆษณาทางโทรทัศน์เกี่ยวกับแป้งเด็กโคโดโมโดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลจากผู้ช่วยวิจัยภายหลังการดูวีดีโอเทปบันทึกโฆษณาแป้งโคโดโมสลับกับภาพยนตร์การ์ตูน 1 สัปดาห์ต่อมาเป็นขั้นการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองจะได้รับการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์ และนักเรียนกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากผู้วิจัยเป็นเวลา 2 วันๆ ละ 40 นาที ภายหลังการสอนจะมีการทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน หากนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างคนใดมีคะแนนการทดสอบไม่ถึงเกณฑ์คือ ร้อยละ 70 ผู้วิจัยจะทำการคัดลอกและสุ่มนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบขึ้นมาแทนจนครบจำนวน 30 คนในแต่ละกลุ่มขั้นที่ 3 เป็นขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักการทดลอง 1 สัปดาห์ต่อมานักเรียนทั้ง 2กลุ่มจะตอบแบบสอบถามการรับรู้โฆษณาทางโทรทัศน์(ชุดเดิม) โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลจากผู้ช่วยวิจัยภายหลังจากการดูวีดีโอเทป บันทึกโฆษณาแป้งเด็กโคโดโมสลับกับภาพยนตร์การ์ตูน นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ด้วย T-Test, Chi-square Test, Arcsine Transformation Test, McNemar Test และ Binomial Test ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์จะมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 2.ภายหลังการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์ กลุ่มทดลองจะมีคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับการโฆษณาโทรทัศน์ถูกต้องมากกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 3. กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเรื่องการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์จะมีความเชื่อถือต่อข่าวสารในโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ในข้อกระทงที่ว่าเด็กในโฆษณาชอบใช้แป้งโคโดโม ห้องนอนนั้นเป็นห้องนอนส่วนตัวของเขาเองและเด็กในโฆษณามีความสบายใจเมื่อใช้แป้งโคโดโม 4. ภายหลังการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์ นักเรียนกลุ่มทดลองจะมีความเชื่อถือต่อข่าวสารในโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโมน้อยกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ในข้อกระทงที่ว่า เด็กในโฆษณาชอบใช้แป้งโคโดโม ห้องนอนนั้นเป็นห้องนอนส่วนตัวของเขาเอง แม่ของเด็กมีความภาคภูมิใจในตัวลูกของเขา เด็กในโฆษณามีความหล่อ หรือสวยเมื่อใช้แป้งโคโดโม และเด็กในโฆษณามีความสบายใจเมื่อใช้แป้งโคโดโม 5. กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์ จะมีเจตนาการซื้อแป้งเด็กโคโดโมไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 6. ภายหลังการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์นักเรียนกลุ่มทดลองจะมีเจตนาการซื้อแป้งเด็กโคโดโมลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงการรับรู้ใจความสำคัญของโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโมพบว่านักเรียนกลุ่มควบคุม ทั้งก่อนและหลังการสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รับรู้ใจความสำคัญของข่าวสารในโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับนักเรียนกลุ่มทดลอง ทั้งก่อนและหลังการสอนเรื่องการทำโฆษณาทางโทรทัศน์จะรับรู้ใจความสำคัญของข่าวสารในโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการระลึกเนื้อเรื่องของโฆษณาชุดแป้งเด็กโคโดโม ปรากฏว่าข้อความในโฆษณาแป้งโคโดโมชุดเด็กผู้ชายที่นักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งก่อนและหลังการสอนระลึกได้มากที่สุดคือ “วันนี้เพชรจะไปงานกันแม่ ต้องหล่อหน่อย” และข้อความในโฆษณาแป้งโคโดโมชุดเด็กผู้หญิงที่นักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งก่อนและหลังการสอนระลึกได้มากที่สุดคือ “ชอบกิ๊ปรูปหนูชอบกิ๊ปสีชมพู” มากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to study the effects of learning about television advertising on the perception of television advertising of Prathom Suksa Four students. The subjects were sixty students in Prathom Suksa Four from WatPrayonwongsawas School, Bangkok: thirty boys and thirty girls. The instruments consisted of Kodomo baby powder commercial videotape: the Boy series and the Girl Series, cartoon films, and the perception of television advertising questionnaire which was constructed by the researcher. The questionnaire’s content vadility was obtained from five specialists. The internal consistency of the questionnaire by the kuder 21 method was 0.76. The subjects were two classes of Prathom Suksa Four students. They were randomly assigned into the experimental group and the controlled group, There were three sessions in this research. Session one, collecting data before the experiment: the students in both groups answered the questionnaire individually about their perception of television advertising of Kodomo baby powder after viewing Kodomo baby powder commercial videotape and the cartoon film. Session two, the experiment: one week later the students in the experimental group were taught about the process of television advertising in their classroom. The students in the controlled group were taught about generosity. The teaching lasted two days: fourty minutes each day. After teaching , there was an achievement test. The students whose scores were under 70% were excluded and the researcher randomly selected the other students who could pass the test to replace them. The number of students in each group was thirty: fifteen boys and fifteen girls. Session three, collecting data after the experiment: one week later the student in both groups answered the questionnaire individually about their perception of television advertising of Kodomo baby powder after viewing Kodomo baby powder commercial videotape and the cartoon film. The data were analyzed through the T-Test, Chi-square Test, Arcsine Transformation, McNemar Test and Binomial Test. The results of this research are as follows. 1. The experimental group displayed more correct perception about the television advertising than controlled group at a significant level of 0.05. 2. After the teaching sessions, the students in the experimental group showed significantly more correct perception about the television advertising than before (P<.05). 3. After teaching sessions, the students in the experimental group showed significantly lesser (P<.05) belief in the following messages of the advertisement of Kodomo baby powder than the controlled group: the children in the commercial liked to use Kodomo baby powder, the bedrooms were their own private bedrooms, and the children in the commercial were happy as they used Kodomo baby powder. 4. After the teaching sessions, the students in the experimental group displayed a significantly lesser (P<.05) belief than before in the following messages about Kodomo baby powder commercial: the children in the advertising liked to use Kodomo baby powder, the bedrooms were their own private bedrooms, the children’s mothers were proud of their children, the children in the advertising were handsome or pretty when they used Kodomo baby powder. 5. After the teaching sessions, no differences were found between the experimental and controlled groups’ intention to buy Kodomo baby powder. 6. After the teaching sessions, the experimental group’s intention to buy Kodomo baby powder was significantly decreased than before at the .05 level. Moreover the study reveals that after the teaching, the students in both the controlled and the experimental groups did not perceive the main massage of Kodomo baby powder commercial significantly differently from before. Before and after the teaching sessions, the most well recalled statement in the Boy Series of the Kodomo baby powder commercial by all subjects was “Today, Petch will go to the party with Mother, must be handsome”. The most well recalled statement in the Girl Series of the Kodomo baby powder commercial by all subjects was “Like mouse shaped clippers, like the pink hair clippers”.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26454
ISBN: 9745677639
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree_Ch_front.pdf568.78 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_ch1.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_ch2.pdf565.26 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_ch3.pdf709.29 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_ch4.pdf778.74 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_ch5.pdf437.75 kBAdobe PDFView/Open
Suree_Ch_back.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.