Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26467
Title: การผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์แบบต่อเนื่องด้วย Penicillium sp. H12 โดยใช้แอร์ลิฟท์รีแอคเตอร์
Other Titles: Continuous fructooligosaccharide production by Penicillium sp. H12 using airlift reactor
Authors: กิติภัทร ลิ้มประเสริฐ
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2548
Abstract: การผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์จาก Penicillium sp. H12 ในแอร์ลิฟท์รีแอคเตอร์ ในอาหารสำหรับผลิตปริมาตร 500 มิลลิลิตร เมื่อให้น้ำตาลเริ่มต้น 250 กรัมต่อลิตร ใช้หัวเชื้อเริ่มต้นที่เจริญอายุ 18 ชั่วโมงปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร โดยมีอัตราการให้อากาศ 1 vvm. และควบคุมค่าความเป็นกรด ด่าง เริ่มต้นเป็น 5.0 เมื่อทำการผลิตเป็นเวลา 60 ชั่วโมง พบว่า Penicillium sp. H12 สามารถผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ได้สูงสุด 194.04 กรัมต่อลิตรในชั่วโมงที่ 6 การเปลี่ยนปริมาณหัวเชื้อเริ่มต้นจาก 50 เปอร์เซ็นต์ เป็น 10 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และเปลี่ยนอัตราการให้อากาศจาก 1 vvm. เป็น 0.2 vvm. พบว่าปริมาณฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์สูงสุดที่ผลิตได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีนัยสำคัญและการใช้หัวเชื้อเริ่มต้น 40 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร สามารถผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ได้ในปริมาณใกล้เคียงกับการใช้หัวเชื้อเริ่มต้น 50 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร นอกจากนั้นการเพิ่มปริมาณน้ำตาลซูโครวเริ่มต้นจาก 250 กรัมต่อลิตร เป็น 300 กรัมต่อลิตร สามารถเพิ่มปริมาณฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์รวมสูงสุดที่ผลิตได้จาก 193.30 เป็น 244.24 กรัมต่อลิตร อีกด้วย เมื่อศึกษาการผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์โดยใช้วิธีผลิตแบบต่อเนื่องโดยใช้น้ำตาลซูโครสเริ่มต้นที่ 300 กรัมต่อลิตร ใช้หัวเชื้อเริ่มต้น 40 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร อัตราการให้อากาศ 0.2 vvm. และควบคุมความเป็นกรดด่างที่ 5.0 โดยทำการเติมน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 300 กรัมต่อลิตร ร่วมกับธาตุอาหารด้วยอัตราการเติม 50 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง อย่างต่อเนื่องพบว่าสามารถผลิตฟรักโตโอลิโกแซ็กคาไรด์รวมได้ด้วยอัตราการผลิตเฉลี่ย 154.09 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน
Other Abstract: Fructooligosaccharide (FOS) production from sucrose using Penicillium sp. H12 was carried out in 0.5 lit airlift reactor with 250 g/l initial sucrose. The conditions were controlled at pH 5, 30°C, 1 vvm. aeration, with 50 % ( v/v ) inoculum sized. Free cell Penicillium sp. H12 produced highest total FOS 194.04 g/l at 6th hour. Decreasing inoculum size from 50 to 10% (v/v) and aeration rate from 1 to 0.2 vvm. were not significant changing in the total FOS production. At 40 % (v/v) inoculum, FOS production was the same as 50 %. The highest FOS production of 244.24 g/l was obtained at initial sucrose of 300 g/l and 40 % (v/v) inoculum. Continuous FOS production was studied by using 300 g/l initial sucrose and 40 % (v/v) inoculum with 0.2 vvm. aeration rate. Continuous feeding with 30 % sucrose medium at the rate of 50 ml/h resulted in 154.09 g/I/h production rate for at least 7 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26467
ISBN: 9741418582
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitiphat_li_front.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_ch2.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_ch3.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_ch4.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_ch5.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Kitiphat_li_back.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.