Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2655
Title: บทบาทและหน้าที่ของขุนนางกรมท่าขวา ในสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2153-2435)
Other Titles: The Krom Tha Khwa officials : their roles and functions during the Ayutthaya and Ratanakosin periods (1610-1892
Authors: จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
Advisors: ธีรวัต ณ ป้อมเพชร
ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Dhiravat.P@Chula.ac.th
Piyanart.B@Chula.ac.th
Subjects: กรมท่าขวา
ขุนนาง--ไทย
ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงศรีอยุธยา, 1893-2310
ไทย--การค้ากับต่างประเทศ
ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงธนบุรี, 2310-2325
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาบทบาทของขุนนางกรมท่าขวาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การบริหารงานกรมท่าขวาอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนนางมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่าน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่คนกลุ่มนี้เข้ามาดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านการค้าต่างประเทศ และการติดต่อกับชาวต่างชาติให้กับราชสำนักสยาม จนกระทั่งหน่วยงานกรมท่าขวาถูกยกเลิกไปในรัชกาลที่ 5 จากการศึกษาพบว่าบทบาทของขุนนางกรมท่าขวาเป็นกลุ่มบุคลากรที่มีหน้าที่ประกอบการค้าต่างประเทศ และการติดต่อกับกลุ่มชาวต่างชาติจากภูมิภาคฝั่งตะวันตกของสยาม โดยกลุ่มที่มีความสามารถในการบูรณาการและสร้างบทบาทอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในกรมท่าขวาคือ กลุ่มขุนนางมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่านสายตระกูล "เฉกอะหฺมัด" บทบาทของขุนนางกรมท่าขวาแต่ละช่วงสมัยนั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมการค้าต่างประเทศ และกิจกรรมในการควบคุมชาวต่างชาติ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปตามพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ในสมัยราชวงศ์ปราสาททองขุนนางกรมท่าขวามีบทบาทต่อการค้าของสยามอย่างกว้างขวาง ทั้งยังมีบทบาทในการควบคุมประชาคมมุสลิมและชาวต่างชาติบางกลุ่มจึงเป็นขุนนางที่มีบทบาทและอิทธิพลสูงในราชสำนัก แต่ในช่วงสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงจนถึงในรัชกาลที่ 1 ขุนนางกลุ่มนี้มีบทบาทน้อยลงเนื่องจากราชสำนักให้ความสำคัญกับการค้าที่ผ่านทางชาวจึน และการดำเนินนโยบายควบคุมประชาคมต่างศาสนา ขุนนางกลุ่มนี้กลับมามีบทบาทอีกครั้งเมื่อการค้าของสยามเจริญเฟื่องฟูขึ้นในรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 โดยได้กลายเป็นบุคลากรสำคัญในการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรขนอนที่มาพร้อมการค้าที่เจริญขึ้น อย่างไรก็ตามจากการขยายอิทธิพลของอังกฤษ และชาติตะวันตกทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ส่งผลให้ขุนนาง กรมท่าขวาต้องหมดบทบาทไปในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
Other Abstract: This thesis deals with the role and function of the Krom Tha Khwa officials (officials of the right wing in the old Siamese maritime affairs ministry) from the time of King Songtham, when the department was first controlled by Indo-Iranian officials, to the era of King Rama V, when the department was abolished. The Krom Tha Khwa officials had two main roles and functions. They managed the Siamese trade and communications with the foreigners from countries west of Siam. The group which was best able to integrate itself, and continue performing administrative duties in the Krom Tha Khwa, were the members of the Iranian Sheik Ahmad's family. The changes in these oficials' role and function through the ages were due to the changes in the conduct of Siamese foreign trade, and policies concerning the control of foreigners. The Krom Tha Khwa officials were most powerful under the Prasattong Dynasty, because they managed much of the foreign trade and controlled the Muslim and some other foreign communities. Their role was reduced during the Ban Phlu Luang Dynasty period and during King Rama I's reign, because Siamese maritime trade eastwards increased while trade to the west declined. Also, the foreign communities in Siam were now more strictly controlled by the state. From King Rama II's reign till King Rama III's reign the Krom Tha Khwa officials became more important in the collection of duties as international trade expanded. As British and other western nations' economic influence increased, the Krom Tha Khwa officials' role came to an end during the reigns of King Rama IV and King Rama V.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2655
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.335
ISBN: 9740301959
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.335
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Julispong.pdf13.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.