Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26684
Title: ผลกระทบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มีต่อการเติบโตของ ชุมชนเมืองปัตตานี
Other Titles: The impacts of prince of Songkhla University, Pattani campus on the growth of Pattani urban area
Authors: สายชล สวามิภักดิ์
Advisors: ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งจากการรวมกลุ่มกันของบุคคลจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ด้านต่าง ๆ เมื่อมหาวิทยาลัยไปตั้งอยู่ ณ ที่ใด จึงย่อมจะทำให้เกิดผลกระทบต่อปรากฏการณ์บนพื้นที่นั้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และกายภาพ จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มีต่อการเติบโตของชุมชนเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นสังคมที่ประกอบด้วยประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 76 ของประชากรเมืองทั้งหมด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผลกระทบต่อชุมชนเมืองปัตตานี ดังนี้ 1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นแหล่งงานสำคัญแหล่งหนึ่งของเมืองในสาขาอาชีพบริการ ที่ก่อให้เกิดผลต่อการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องในรูปแบบของการค้าและบริการในปริมาณเกือบทวีคูณ คือ บุคลากรมหาวิทยาลัย 541 คน ก่อให้เกิดการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึง 660คน ซึ่งจะส่งผลไปถึงความต้องการที่อยู่อาศัย และการอุปโภคบริโภคในเมืองปัตตานี ลักษณะพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากร ส่งผลทำให้การค้าประเภทการค้าบริการ และการค้าปลีกมีความสำคัญมากที่สุด คือ ร้อยละ 41.42 และ 36.11 ของการค้าทุกประเภท 2. ผลกระทบทางด้านประชากร ตำบลรูสะมิแล ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งมหาวิทยาลัย มีการขยายตัวเนื่องจากการอพยพข้าวของประชากร คือ นักศึกษา และบุคลากร รวมทั้งผู้ประกอบอาชีพ ด้านการค้าบริการในบริเวณถนนเจริญประดิษฐ์ โดยมีร้อยละของการเปลี่ยนแปลงประชากรจากยอดรวมการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในช่วงปี พ.ศ. 2513 - 2525 เป็นร้อยละ 18.1 ในขณะที่ตำบลใกล้เคียง ซึ่งมิใช่ตำบลในเขตชุมชนเมือง มีการเปลี่ยนแปลงประชากรเพียงร้อยละ 6.3 เท่านั้น 3. ผลกระทบทางด้านสังคม มหาวิทยาลัยมิได้ส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการนับถือศาสนา แต่จะเป็นแกนกลางช่วยประสานสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมและชาวศาสนาอื่น ๆ ด้วยกิจกรรมการพัฒนาชุมชน และกิจกรรมการศึกษาวิจัยในวัฒนธรรมพื้นถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยเฉพาะความทันสมัยในรูปแบบของการแต่งกายอย่างสากล เป็นที่ยอมรับมากขึ้นของชาวมุสลิม 4. ด้านกายภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ ประชากร สังคม ซึ่งส่งผลของความเคลื่อนไหวเหล่านั้นลงบนพื้นที่ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านกายภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน ด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรูปแบบของหอพัก บริเวณถนนเจริญประดิษฐ์ ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 66.7 ของอาคารที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ทั้งหมด และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงสุดร้อยละ 42.71 ของบริเวณ built up area ทั้งหมด เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 ต่อปี การขยายตัวในการใช้ที่ดิน บริเวณนี้ได้ส่งผลทำให้เกิดราคาที่ดินสูงขึ้นป็น 820,000 บาท/ไร่ ในปี 2525 จากราคา 680,000 บาท/ไร่ ในปี 2521 ผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมด้านการขนส่งสาธารณะ คือการเดินทางติดต่อกับชุมชน โดยรถยนต์โดยสารเล็ก ประมาณ 884 – 1326 เที่ยว/สัปดาห์ ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานบริการและการหมุนเวียนของเงินตราแก่ชุมชนเมืองอีกทางหนึ่ง
Other Abstract: A university can be seen as a large scale community which consists of large quantity of lecturers, students and supporting staff. So the establishment of a university certainly has its impact on changing of circumstances of such a related area in terms of socio-economic activities population and physical environment. The main objective of this thesis aims at studying the impacts of Prince of Songkla University, Pattani Campus on the changes and growth of Pattani urban area where 76% of urban population are moslems. The findings are as follows : 1. Economic Impact Prince of Songkla University, Pattani Campus provides job opportunities for local people in service sector which generate more employment and income to urban population. From the calculation, 541 Jobs in the university generates related 660 jobs for urban labour force which need more houses, food, clothes and so on. This shopping pattern assists specialisafrom of trade in terms of commercial and service has taken place along Nong Jik – Charoenpradit road at the highest proportion of 41.42% 2. Population Impact Population growth or Tambol Rusamilae where the university is located is quite high comparing to other tambols outside municipal area. The absolute change of pupulation during 1970 – 1982 is 18.1% white that of the nearly tambol is only 6.3% because of in migration of lecturers, students and staff. 3. Social Impact The university does not change people’s beliefs, but acts as the bondage for integrating the separated societies through community development activities and cultural research activities which encourage better understanding and more acceptance among them. 4. Physical Impact Prince of Songkla University, Pattani Campus has also its impacts on physical environment of Pattani urban area in terms of changes of land use pattern which can be clearly seen that 86.7% of new building are houses and dormitories (annual growth rate = 3.05%) along Nongjik-Charoenpradit road. This couses land value increases from 600,000฿ 1 rai in 1978 to 820,000฿/rai in 1982. Minibus is one of modes of transportation connecting the campus and the urban area which generates more employment and income to local people.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26684
ISBN: 9745647136
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saichon_Sa_front.pdf490.99 kBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_ch1.pdf294.24 kBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_ch2.pdf495.12 kBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_ch3.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_ch5.pdf291.27 kBAdobe PDFView/Open
Saichon_Sa_back.pdf254.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.