Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26693
Title: ความรับผิดเด็ดขาดในกฎหมายลักษณะละเมิด
Other Titles: Strict liability in the law of torts
Authors: สายสุดา นิงสานนท์
Advisors: จุฑา กุลบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ละเมิด
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในทางแพ่งแต่เดิมนั้น เมื่อมีการทำละเมิดจนเกิดความเสียหายขึ้น ก็ต้องหาตัวผู้รับผิดให้ได้ อันเป็นหลักในทฤษฎีรับภัย ต่อมาได้นำเอาองค์ประกอบภายในส่วนจิตใจเข้ามาเป็นหลักในการวินิจฉัยความรับผิดโดยถือว่าบุคคลควรรับผิดเฉพาะเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เมื่อโลกก้าวหน้าขึ้น ความเจริญทางเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ความคิดที่ว่าปล่อยให้ความเสียหายหยุดอยู่เพียงแค่นั้นถ้าหาผู้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ หรือที่เรียกว่า Let the accident losses lie where they fall เป็นเรื่องที่ไม่เพียงพอ หรือเห็นกันว่าไม่เป็นธรรมเสียแล้ว ในเมื่อพอจะหาตัวผู้ควรรับผดชอบเบื้องต้นได้ ทฤษฎีรับภัยจึงกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง ทฤษฎีรับภัยหลักว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลอาจต้องรับผิดแม้ไม่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ความรับผิดชนิดนี้เรียกว่าความรับผิดเด็ดขาด ( Strict Liability ) ที่ว่าเด็ดขาดก็คือ ไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบภายในส่วนจิตใจ แต่จะถือว่าเป็นความรับผิดเด็ดขาดโดยสิ้นเชิงเสียเลยทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจนำสืบแก้ตัวหักล้างข้อสันนิษฐานในกฎหมายได้ ความรับผิดเด็ดขาดเป็นทฤษฎีที่อาศัยเหตุผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบกัน หากเราจะว่ากันโดยอาศัยเหตุผลในทางนิติศาสตร์แท้ ๆ เราอาจโต้แย้งทฤษฎีนี้ได้หลายประการ เพราะเป็นการบังคับให้บุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการกระทำหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นโดยที่ผู้นั้นมิได้กระทำไปโดยจงใจหรือเกิดขึ้นโดยเป็นอุบัติเหตุ นับแต่คริสตศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา กฎหมายประเทศต่าง ๆ เริ่มรับรู้และรับรองหลักความผิดเด็ดขาดที่ดังเห็นได้จากที่มีกฎหมายเฉพาะเรื่องออกมากำหนดความรับผิดเด็ดขาดหลายเรื่อง นอกเหนือไปจากกฎหมายลักษณะละเมิดที่ใช้อยู่ เช่นเรื่องคนงานเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายจ้างตามกฎหมายแรงงานกฎหมาย เรื่องความเสียหายที่เกิดจากอากาศยาน ความเสียหายจากเสียงหรือของตกหล่น ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล และทรัพย์อันตราย ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของกฎหมายลักษณะละเมิดที่นับวันจะให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดเด็ดขาดมากขึ้นทุกที
Other Abstract: Originally, when there was any injury arising out of any wrongful act, one must be found to be liable. This was a principle of theory of civil responsibility. Later, mental elements were brought for a consideration of one’s Liability by deeming that on must be liable only when he committed any act intentionally or negligently. Not until the 19th and 20th centuries when the world was more progressive as a result of technological development and, especially, industrial revolution in Europe, the idea of “let the accident losses lie where they fall’ maxim was not suitable or was not deemed to be just anymore especially when it was possible to find one who should be responsible. Again, the theory of civil responsibility has returned. The theory of civil responsibility lays down its rule by presuming that one may be liable though he has not committed any act intentionally or negligently. Such a liability is called “strict liability”. It is strict in a sense that it requires no mental elements of a wrongdoer. However, it is not absolutely strict because a defendant may rebut this legal presumption. A theory of strict liability is based on both economic and social reasons. Yet if we judge this theory from a legal point of view, we can raise several arguments because according to this theory, one is compelled to pay compensation for any injury, though he does not commit any thing or acts without his intention or negligence. Since the 20th century, laws of various countries have begun to acknowledge and recognize a principle of strict liability as seen from the fact that several certain statutes have been enacted to impose strict liability in addition to already enacted traditional laws of torts, i.e. workmen’s compensation act, laws on injury caused by aircraft, noise, falling things, any conveyance propelled by mechanism, or dangerous things. Such laws are good examples indicating tendency in the area of law of torts which gradually tends to place much emphasis on strict liability.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26693
ISBN: 9745611484
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saisuda_Ni_front.pdf610.28 kBAdobe PDFView/Open
Saisuda_Ni_ch1.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Saisuda_Ni_ch2.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Saisuda_Ni_ch3.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Saisuda_Ni_ch4.pdf539.8 kBAdobe PDFView/Open
Saisuda_Ni_back.pdf323.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.