Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2670
Title: | วิธีบัญญัติและลักษณะเฉพาะของศัพท์บัญญัติในวิชาปรัชญา |
Other Titles: | Word formation and characteristics of Thai coinage in philosophy |
Authors: | อุทิตย์ แก้วไชย, 2518- |
Advisors: | เทพี จรัสจรุงเกียรติ ปรีชา ช้างขวัญยืน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Subjects: | ปรัชญา--ศัพท์บัญญัติ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการในการบัญญัติศัพท์และลักษณะเฉพาะของศัพท์บัญญัติในวิชาปรัชญาของคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน จากการศึกษาพบว่าคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญามีหลักเกณฑ์และวิธีการในการบัญญัติศัพท์ในวิชาปรัชญาอยู่ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่หนึ่ง พิจารณาความหมายศัพท์ปรัชญาภาษาต่างประเทศ ขั้นที่สอง เทียบความหมายศัพท์ปรัชญาภาษาต่างประเทศกับคำเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในภาษาไทย ขั้นที่สาม คิดผูกคำขึ้นมาใหม่จากคำที่มีอยู่แล้วในภาษาไทย และ ขั้นที่สี่ ทับศัพท์ ขั้นที่หนึ่ง พิจารณาความหมายศัพท์ปรัชญาภาษาต่างประเทศ คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญาพิจารณาทั้งความหมายตามรูปศัพท์และความหมายนิยมใช้ ขั้นที่สอง เทียบคำเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วในภาษาไทย คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญาใช้เอกสารจาก 2 แหล่งในการเทียบคำ คือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพุทธศักราช 2493 และตำราวิชาการทางปรัชญาที่มีผู้เรียบเรียงและตีพิมพ์ขึ้นก่อนปีพุทธศักราช 2524 ขั้นที่สาม คิดผูกคำขึ้นมาใหม่จากคำที่มีอยู่แล้วในภาษาไทย คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญาใช้วิธีการในการผูกคำทั้งหมด 5 วิธี คือ การประกอบศัพท์ขึ้นเอง การประสม การผสาน การสมาส และการผูกเป็นกลุ่มคำ ขั้นที่สี่ ทับศัพท์ คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญาใช้วิธีการทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน ส่วนลักษณะเฉพาะของศัพท์บัญญัติในวิชาปรัชญา ผลการศึกษาพบว่ามีอยู่ 2 ประการที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือ หนึ่ง ศัพท์บัญญัติในวิชาปรัชญาส่วนมากบัญญัติขึ้นจากคำภาษาบาลีสันสกฤต และ สอง ศัพท์บัญญัติในวิชาปรัชญาส่วนมากมีรูปศัพท์และความหมายซับซ้อนเนื่องจากบัญญัติขึ้นเพื่อสื่อความหมายทางปรัชญาที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study word formation and characteristics of Thai coinage in philosophy of Philosophy Coinage Subcommittee, Law and Politics Divisio , Royal Institute. The study reveals that there are four steps in word formation : consideration of the philosophical meanings in the Western language, comparison of the used words in Thai , combination of the used word in Thai, and loan the Western words. First , Philosophy Coinage Subcommittee considers both formal meanings and meanings in usage. Second, Philosophy Coinage Subcommittee compares to the used words in Thai in two sources : 2493 B.E. Thai dictionary and philosophical documents written and printed before 2524 B.E. Third, Philosophy Coinage Subcommittee combines the used words in Thai in five ways : word formation, word compound in Thai, bound and/or free morpheme joining , word compound in Pali Sanskrit, and combination of phrase. Fourth, Philosophy Coinage Subcommittee loans the Western word in the way of Royal Institute. Thereare two concerned characteristics of Thai coinage in Philosophy : the most of Thai coinages in Philosophy were coined from the Pali Sanskrit languages and the most of Thai coinages in Philosophy have complex forms and meanings because they refer to the complicated and abstract meanings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2670 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.382 |
ISBN: | 9741718373 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.382 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.