Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26729
Title: ปัญหาการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปที่เป็นวิชาบังคับ ในมหาวิทยาลัย
Other Titles: Problems of learning and teaching physical activities as requuired courses in universities
Authors: สิทธี วนิชาชีวะ
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการเรียนการสอนของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังอาจารย์ที่สอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ 54 คน และนิสิตนักศึกษาที่เรียนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ 800 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจากอาจารย์ร้อยละ 100 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 90.75 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แล้วจึงนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์พลศึกษา และนิสิตนักศึกษาเป็นว่า สิ่งที่เป็นปัญหาในระดับปานกลางต่อการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ ได้แก่ ปัญหาด้านต่อไปนี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร ปัญหาเกี่ยวกับตัวนิสิตนักศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน ยกเว้นปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลซึ่งอาจารย์พลศึกษาประสบปัญหาในระดับน้อย ส่วนนิสิตนักศึกษาประสบปัญหาในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพลศึกษากับนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน ปัญหาเกี่ยวกับตัวนิสิตนักศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ส่วนปัญหาเกี่ยวกับฝ่ายบริหารพบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความคิดเห็นของอาจารย์พลศึกษา 8 สถาบัน ในด้าน ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน ปัญหาเกี่ยวกับตัวนิสิตนักศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ยกเว้นปัญหาเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร ซึ่พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา 8 สถาบันในด้าน ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน ปัญหาเกี่ยวกับตัวนิสิตนักศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ปัญหาเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร พบว่า ต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the problems of Learning and teaching physical activities s required course. Two sets of questionnairs were sent to 54 physical education teachers and 800 students. One hundred percent and ninty percent of the questionnaires were returned from the teachers and the students, respectively. The obtained data were then analyzed in terms of percentage, means , standard deviations. A t-test and the analysis of variance method were also employed to determine the significant difference. It was found that:- Most of the physical education teachers and the students also agreed that the problems which using the physical activities as the selective courses were equipments and facilities, the administrators, the students, and the teachers. The problems of the measurement and the evaluation which concerned by the teachers and the students were at the low and the medium level respectively. There was a significant difference at the .01 level between the teachers and the students on the problems which concerned the instruction of the physical activities as the selective courses. Those problems were the teachers, the students, the equipments and the facilities and the measurement and evaluation. There was no significant difference of the .01 level on the problems which concerned the administrators. There was no significant difference at the .01 level among the eight institutions’ teacher concerning the problems of the teachers. The students, the equipments and the facilities, the measurement and the evaluation. There was a significant difference at the .01 level concerning the problem of the administrators. There was a significant difference at the .01 level among the eight institutions’ students concerning the problems of the teachers, the students, the equipments and the facilities, the measurement and evaluation and the administrators.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26729
ISBN: 9745621951
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittee_Va_front.pdf430.13 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_ch1.pdf421.8 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_ch2.pdf612.24 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_ch3.pdf285.43 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_ch4.pdf943.34 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_ch5.pdf592.38 kBAdobe PDFView/Open
Sittee_Va_back.pdf813.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.