Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2674
Title: | คำเรียกญาติของชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายต่างกันในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Kinship terms used by Thai Muslims of different ethnic origins in Bangkok |
Authors: | วราภรณ์ ติระ, 2521- |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Amara.Pr@Chula.ac.th |
Subjects: | ชาวไทยมุสลิม--ไทย--กรุงเทพฯ ชาวไทยมุสลิม--ความเป็นอยู่และประเพณี ชาวไทยมุสลิม--เครือญาติ คำเรียกญาติ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์คำเรียกญาติพื้นฐานและไม่พื้นฐานของชาวไทยมุสลิม ที่มีเชื้อสายต่างกันในกรุงเทพมหานครโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ และชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิม ที่สะท้อนจากความหมายของคำเรียกญาติดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวไทยมุสลิม 3 เชื้อสาย ได้แก่ มาเลย์ จาม-เขมร และเปอร์เซีย ผลการวิจัยพบว่า คำเรียกญาติที่ใช้โดยชาวไทยมุสลิมทั้ง 3 เชื้อสาย มีมิติแห่งความแตกต่างที่ใช้แยกคำเรียกญาติพื้นฐานแต่ละคำไม่เท่ากัน กล่าวคือ คำเรียกญาติพื้นฐานของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมาเลย์มีมิติแห่งความแตกต่างทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ และการให้เกียรติ คำเรียกญาติพื้นฐานของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจาม-เขมร มีมิติแห่งความแตกต่างทั้งหมด 6 ปรการ โดยมีมิติเรื่องฝ่ายพ่อ/แม่เพิ่มขึ้นมา และคำเรียกญาติพื้นฐานของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซีย มีมิติแห่งความแตกต่างทั้งหมด 5 ประการเหมือนคำเรียกญาติพื้นฐานของภาษาไทย ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ และฝ่ายพ่อ/แม่ สำหรับคำเรียกญาติไม่พื้นฐานของชาวไทยมุสลิมทั้ง 3 เชื้อสาย พบว่ามีมิติแห่งความแตกต่างทั้งหมด 8 ประการเหมือนคำเรียกญาติไม่พื้นฐานของภาษาไทย ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ ฝ่ายพ่อ/แม่ เพศของผู้พูด คำรื่นหู และการแต่งงานใหม่ ซึ่งสรุปได้ว่าชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ใช้คำเรียกญาติไม่พื้นฐานเหมือนคนไทยกรุงเทพฯ ทั่วไป จากการตีความระบบคำเรียกญาติของชาวไทยมุสลิม ในแง่ความสัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยพบว่า คำเรียกญาติของชาวไทยมุสลิมสะท้อนให้เห็นความสำคัญ ของระบบอาวุโสหรือความแตกต่างทางอายุ และการเน้นฝ่ายพ่อหรือการถือเพศชายเป็นสำคัญ สำหรับประการหลังนี้ ผู้วิจัยพบว่า ลักษณะดังกล่าวเริ่มส่อเค้าว่าจะลดความสำคัญลง และกำลังจะกลายเป็นไม่เน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของชาวไทยมุสลิมทั้ง 3 เชื้อสาย มีการเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับวัฒนธรรมไทย โดยมีความมากน้อยต่างกัน ซึ่งสรุปได้ว่าชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้มากที่สุด รองลงมาเป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจาม-เขมร และชาวไทยมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้น้อยที่สุด |
Other Abstract: | To carry out a componential analysis of the basic and non-basic kinship terms used by Thai muslims of different ethnic origins and to point out significant characteristics of Thai muslims' culture as reflected in the systems of the kinship terms. The data used in this study was elicited from informants of three ethnic origins in Bangkok : the Malay, the Cham-Khmer, and the Persian Thai muslims. The results of the study show that the basic kinship terms of all the three ethnic groups make use of different dimensions of contrast. The basic kinship terms of the Malay Thai muslims have five dimensions of contrast : generation, lineality, age, sex, and restpect. The basic kinship terms of the Cham-Khmer Thai muslims have six dimensions of contrast, five of which are the same as the Malay Thai muslim group with the dimension of parental link added. The basic kinship terms of the Persian Thai muslims have five dimensions of contrast, which are exactly the same as the Thai basic kinship terms : generation, lineality, age, sex, and parental link. As for non-basic kinship terms, all the three ethnic groups make use of the same eight dimensions of contrast as in the Thai non-basic kinship terms : generation, lineality, age, sex, parental link, sex of the speaker, euphemism, and new marriage. With regard to the reflection of culture in the kinship terms, the analysis shows that seniority and patriarchy are significant cultural characteristics. This agrees with the observations reported in sociological and anthropological research on Thai muslims. However, concerning patriarchy it is found that this cultural trait seems to be in the process of becoming less significant. Also, several other cultural characteristics of all the three ethnic groups have changed to become more Thai with different degree. It is concluded that among the three groups, the most conservative is the Malay Thai muslim group. The second most is the Cham-Khmer Thai muslim group. The least conservative is the Persian Thai muslims. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2674 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.371 |
ISBN: | 9741798881 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.371 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waraphorn.pdf | 43.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.